แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทย

แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทย
แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทย

แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทย

แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทย สภาพทางภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศของภาคกลางนั้น  พื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม  มีฝนตกชุก  ผู้คนส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักเช่นเดียวกับภาคอื่น ๆ  การคมนาคมนั้นใช้เส้นทางน้ำเป็นหลักในการติดต่อไปมาหาสู่กัน  ดังนั้นลักษณะของการปลูกเรือนไทยในภาคกลางจึงได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมเป็นตัวกำหนด  ทำให้เกิดเอกลักษณ์ที่โดดเด่นขึ้นมาได้  HOME IN PHUKET

ลักษณะบ้านใต้ถุนสูงทรงไทย

ลักษณะของเรือนไทยที่เด่นชัดและแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์นั้นมีอยู่หลายลักษณะ  ดังต่อไปนี้

1.  ใต้ถุนสูง  ความหมายของคำว่าใต้ถุนสูง  คือ  ที่ว่างส่วนใต้พื้นของตัวเรือน  โดยไม่มีการกั้น ฝา  ใต้ถุนสูงเกิดจากการที่ยกพื้นเรือน  พื้นระเบียง  และชานพื้นให้สูงจากพื้นดิน  ความสูงของใต้ถุนนี้จะมากบ้างน้อยบ้างสุดแล้วแต่สัดส่วนของตัวเรือน HOME IN PHUKET ประโยชน์ของใต้ถุนสูง  คือ

  • ทำให้ลมพัดผ่าน  มีอากาศถ่ายเท  ไม่อับชื้น
  • การลดพื้น  ทำให้พื้นเป็นที่นั่งห้อยเท้า  การก่อสร้างตรงที่ลดพื้นทำให้ลมพัดผ่านจากบนเรือนไปยังใต้ถุน  และจากใต้ถุนขึ้นไปยังบนเรือนได้
  • ความปลอดภัย  ความสูงจากพื้นเรือนทำให้ปลอดภัยจากคนร้ายและสัตว์
  • ป้องกันน้ำท่วม  บางท้องถิ่นในภาคกลางจะมีน้ำท่วมเป็นประจำหรือบางแห่งจะมีน้ำท่วมเป็นช่วงระยะ  ยกพื้นสูงปัญหาน้ำท่วมเรือนก็หมดไป
  • เกิดที่ว่างใต้ถุนเพื่อใช้ประโยชน์เป็นที่เก็บสัมภาระในการประกอบอาชีพ  ประกอบหัตถกรรมในครัวเรือน  หรือเป็นที่พักผ่อนต้อนรับแขกในบางโอกาส

2.  หลังคาจั่วทรงสูง  หลังคาเรือนไทยแต่ดั้งเดิมเป็นทรงสูงเนื่องจากเครื่องวัสดุมุงจะเป็นแฝก จาก  กระเบื้องดินเผา  หรือมีบางแห่งใช้กระเบื้องไม้  มีโครงหลังคาเป็นไม้  วัสดุมุงเหล่านี้  ต้องการความสูงชันของหลังคาเพื่อให้น้ำฝนไหลได้เร็ว  การทำหลังคาทรงสูงนี้มีผลช่วยบรรเทาความร้อนที่จะถ่ายเทลงมายังส่วนล่าง  (แต่เดิมไม่นิยมมีเพดาน)  ทำให้ที่พักอาศัยหลับนอนเย็นสบาย

3.  โครงสร้างไม้  ใช้การยึดด้วยสลักไม้เป็นส่วนใหญ่  ใช้สลักเหล็กและตะปูเป็นส่วนน้อย ลักษณะคล้ายเรือนสำเร็จรูป  ที่ปรุงไว้แล้วเป็นส่วนๆ  แล้วนำขึ้นประกอบกันเป็นตัวเรือน

4.  ไม่ทำฝ้าเพดาน 

5.  ชานเรือนกว้าง  ชานเรือนเป็นแปลนของเรือนไทย  จะเห็นพื้นที่ของชานกว้างมาก  มีปริมาณถึง  40  เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด  (ห้อง  ระเบียง  ชาน)  ถ้ารวมพื้นที่ของระเบียงเข้าไปด้วย  จะมีปริมาณถึง  60  เปอร์เซ็นต์  พื้นที่ชานนี้เป็นส่วนอาศัยภายนอก  (out  door  living)  ส่วนที่พักอาศัยหลับนอนมีฝากั้นเป็นห้องพื้นที่เพียง  40  เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด  

สาเหตุนี้ชานเรือนของเรือนไทยภาคกลางต้องกว้างมากก็เพราะสภาพดินฟ้าอากาศที่ร้อนอบอ้าวนั่นเอง  HOME IN PHUKET ชานเรือนจึงเป็นส่วนสำคัญมากเท่ากับเรือนนอนและเรือนครัว  การพักผ่อนในยามค่ำอาศัยเรือนนอน  แต่การพักผ่อนภายนอกอาศัยชานระเบียง  ชานเป็นพื้นที่เปิดโล่ง  (open  space)  รับแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์  ลมพัดผ่านได้สะดวก  เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนนั่งเล่นในเวลาเย็นและค่ำ

ในด้านการใช้ประโยชน์จาก บ้าน เรือนนั้น  ยังสามารถใช้ได้อย่างอเนกประสงค์  เช่น  ไว้พักผ่อน  นั่งเล่น  จัดงานประเพณีต่าง ๆ  ตามวาระของคตินิยมทางศาสนาและความเชื่อ  เช่น  โกนจุก  ทำบุญเลี้ยงพระ  แต่งงาน  เป็นต้น  นอกจากนี้ชานเรือนยังทำหน้าที่เป็นส่วนเชื่อมโยงเรือนนอน  เรือนครัว  หอนั่ง  เข้าด้วยกัน  ทำให้เกิดความเว้นว่างในเรือนอย่างต่อเนื่อง  จึงเป็นลักษณะพิเศษของเรือนไทยที่เหมาะสมกับสภาพของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง

6.  บันไดเรือนอยู่ภายนอกเรือน  ขึ้นสู่ชาน ไม่ทำหลังคาคลุมบันได  บางหลังมีซุ้มประตูแต่จะไม่คลุมตัวบันได

7.  ผังสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ขนาด  3  ห้องหรือ  5  ห้อง  ไม่นิยม  7  หรือ  9  ห้อง

  • เรือน  2  ห้องใช้ครัวไฟ  หอนก  หอนั่ง  ศาลาโถง
  • เรือน  3  ห้องและเรือน  3  ห้องมีพะไลหัวท้าย  ใช้ทำห้องนอน  เรือนโถงใหญ่  กุฏิ
  • เรือน  4  ห้องไม่นิยม  พบน้อยมาก
  • เรือน  5  ห้องและเรือน  5  ห้องมีพะไลหัวท้าย  ใช้เป็นกุฏิ  ตำหนัก  เรือนสามัญชนไม่ค่อยทำ

8.  การวางทิศทางของเรือนไม่ได้คำนึงทิศทางแดด  ลม  ฝนหรือด้านหน้าเรือนมากนัก  พบการวางเรือนหันหน้าไปทุกทิศทาง  ส่วนใหญ่จะคำนึงถึงเส้นทางสัญจรเป็นหลัก  ซึ่งอาจเป็นเพราะตัวเรือนสามารถรับลมได้ดีในทุกทิศทาง  และนิยมปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงารอบบ้าน  หลักในการพิจารณาวางผังเรือน  คือ  หันหน้าเรือนสู่เส้นทางสัญจร  ถ้าอยู่ริมน้ำก็หันสู่แม่น้ำลำคลอง  หรือถ้าเป็นบ้านดอนก็หันหน้าเรือนสู่ทางเดินหรือทางเกวียน  และส่วนใหญ่ในกลุ่ม บ้าน เดียวกันก็มักจะวางเรือนตามทิศทางเดียวกันตามหลังที่สร้างก่อน  ถือกันว่าถ้าวางขวางแล้วเจ้าของเรือนจะขัดแย้งทะเลาะวิวาทกับเพื่อนบ้าน

9.  ไม่มีห้องน้ำห้องสวม  เรือนไทยแบบประเพณีไม่มีการทำห้องน้ำหรือห้องส้วมไว้บนเรือน ใช้ชานหลังเป็นที่ตั้งโอ่งน้ำสำหรับตักอาบ  หรืออาบที่ท่าน้ำ  ส่วนการขับถ่ายใช้การไปถ่ายในทุ่ง  ต่อมามีการสร้างส้วมไว้ในสวนหลังบ้านและเรียกการไปส้วมว่า  ไปเว็จ

10.  การล้มเสา  เอกลักษณ์ของเรือนไทยภาคกลางอีกประการหนึ่ง  ก็คือ  การตั้งเสาที่ล้มหรือเอียงสอบเข้าหากันเป็นที่พิงของแผ่นฝาหนัง  ซึ่งจะต้องเอียงสอบตามรูปเสาเช่นกัน  เหตุผลของการเอียงสอบเสาเข้าด้วยกันนี้ก็เพื่อต้านกับแรงกระแสลมหรือกระแสน้ำ  มิให้เซตามและพังได้ง่าย  อีกประการหนึ่ง  ก็คือ HOME IN PHUKET เป็นการแสดง ให้เห็นถึง การใช้เทคโนโลยี ในการก่อสร้าง

เป็นอย่างมาก  นั้นคือการบังคับโครงสร้างให้มีคุณสมบัติคล้ายโครงสร้างของรูปสามเหลี่ยมซึ่งมีความมั่นคงไม่เคลื่อนตัวเหมือนเหลี่ยมอื่น ๆ  นอกจากนี้ฝาเรือนที่ประกอบสำเร็จรูปมาแล้วก็สามารถจะนำมาวางพิงเข้ากับเสาได้โดยไม่ล้มออกจากตัวอาคาร  ทั้ง ๆ  ที่ไม่มีเดือยยึดก็ตาม  จากข้อดีนี้ได้พบว่าเรือนที่มีอายุเก่าแก่เพียงใดก็ตาม  แม้ไม้เดือยยึดฝาจะเปื่อยหรือขาดไปแล้วก็ยังทรงรูปอยู่ได้  และด้วยการสอบล้มเสารอบด้านนี้  โครงสร้างของเรือนไทยจะบีบกระชับเข้าหากันอัตโนมัติตลอดเวลา โครงการภูวิลล่า ภูเก็ต

ลักษณะการสร้างพื้นที่ระเบียงไว้ใช้งาน

พื้นที่บนเรือน  ที่ต่อยื่นออกมาจากตัวเรือน  แคบยาวตามตัวเรือน  เป็นพื้นที่อเนกประสงค์  เปรียบเสมือน  Living  room  ในเรือนสมัยใหม่  ใช้พักผ่อน  นั่งเล่น  และกิจกรรมอื่น ๆ  บนเรือน  แต่ถูกบังคับด้วยความลาดเอียงของหลังคาปีกนกที่ต่อยื่นออกมาจากตัวเรือน  ทำให้ไม่สามารถสร้างพื้นที่กว้างได้  จึงมีเทคนิควิธีที่จะออกแบบสร้างหลังคาและพื้นบริเวณนี้  เพื่อขยายพื้นที่ในหลายลักษณะ  ดังนี้

แบบที่  1  แบบใช้หลังคาปีกนกคลุม  ซึ่งระเบียงจะกว้างมากไม่ได้  เพราะความลาดหลังคาจะต่ำจนชนหัว  การลดระดับพื้นระเบียงลงจากห้องนอน  เป็นเทคนิคที่ช่วยให้หลังคาไม่ต่ำเกินไป  และยังทำให้มีช่องให้ลมพัดผ่านด้วย

แบบที่  2  แบบใช้การลดระดับระเบียงลงอีกระดับหนึ่งเพื่อแก้ปัญหาหลังคาลาดต่ำจนชนหัว  โดยทำหลังคาปีกนกคลุมอีกชั้นหนึ่งระเบียงก็ได้พื้นที่กว้างขึ้นกว่าแบบแรกแต่พื้นต่างระดับ

แบบที่  3  แบบเรือนแฝดชนิดใช้ขื่อคัดแทนเสา  เรือนหลังใหญ่เป็นห้องนอนเรือนหลังเล็กเป็นโถงพักผ่อนแทนระเบียงคล้ายเรือนแฝดของอีสาน  ได้พื้นที่กว้างขึ้นกว่าแบบแรก

แบบที่  4  แบบเรือนแฝดชนิดเป็นเรือน  2  หลังปลูกชิดกัน  ได้พื้นที่ห้องโถงขนาดใหญ่เท่าเรือนนอน HOME IN PHUKET  และหากต่อปีกนกเรือนโถงออกไปอีก  ก็จะได้พื้นที่โถงขนาดใหญ่     

แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทย

บ้านแบบใต้ถุนสูงอย่างทรงไทย แท้จริงแล้วก็คือบ้านสองชั้น ประเภทหนึ่ง ซึ่งพื้นที่ชั้นล่างมีลักษณะปล่อยโล่ง ไม่มีการก่อผนังห้อง (ในทางกฏหมายการก่อสร้างอาคารนั้น บ้านใต้ถุนสูง ถูกกำหนดเป็นบ้านสองชั้น ) สำหรับแบบบ้านใต้ถุนสูงของบ้านป่าตาลนั้นเป็นบ้านลักษณะรูปทรงไทยประยุกต์ซึ่งนอกจากจะมีรูปทรงที่มีเอกลักษณ์และสวยงามแล้ว ยังเป็นบ้านที่มีฟังก์ชั่นการใช้งานที่มากด้วยประโยชน์ใช้สอย และสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมของผู้อยู่อาศัย

แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทย

แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทยประยุกต์ขนาดใหญ่ 
แบบบ้านทรงไทยประยุกต์ใต้ถุนสูงหลังนี้เป็นแบบบ้านที่ออกแบบสำหรับครอบครัวขนาดกลางถึงใหญ่ จำนวน 4ห้องนอน 4 ห้องน้ำ และผู้ที่ชื่นชอบรูปทรงของบ้านทรงไทยใต้ถุนสูงซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่อยู่อาศัยของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยประยุกต์การออกแบบให้มีความเหมาะสมกับยุคสมัยทั้งการออกแบบและการเลือกใช้วัสดุที่ใช้ในสมัยปัจจุบัน แต่ยังคงเอกลักษณ์ความโดดเด่น ความงดงามและวิถีความเป็นไทยไว้ได้เป็นอย่างดี

แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทย

แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทยประยุกต์ 
ออกแบบขึ้นมาเพื่อตอบสนองท่านที่ต้องการ รองรับครอบครัวขนาดกลางซึ่งมี สมาชิก 4-5 คนได้ด้วยขนาดห้อง 4ห้องนอน 3ห้องน้ำและ เพียบพร้อมด้วยส่วนใช้สอย มาตราฐานเช่น ห้องครัว ห้องกินข้าว ห้องพระ ห้องละหมาดส่วนระเบียงรอบตัวบ้านโดย ใช้งบ ก่อสร้างเริ่มต้นประมาณ 1.5 ล้านออกแบบเป็น บ้าน ทรงไทย ประยุกต์ยกใต้ถุนสูง HOME IN PHUKET

เหมาะกับวิถีชีวิตแบบไทย ๆ แบบบ้านออกแบบให้มี ส่วนใต้ถุนบ้านไว้ใช้ จอดรถหรือนั่งเล่น รับแขกใต้ถุนบ้านและที่สำคัญเหมาะสำหรับท่านที่อยู่ใกล้พื้นที่เสียงภัย น้ำท่วมเนื่องจากมี การยกสูงถึง 3 เมตร จึงป้องกันปัญหาน้ำท่วมถึงได้เป็นอย่างดี รวมถึงออกแบบให้มีส่วนของห้องครัวแยกจากชั้นบนตัวบ้านมาอยู่ในชั้นล่างใต้ถุน เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวนภายในบ้านรวทั้งมีบันไดขึ้นลงภายในตัวบ้านอีกด้วย