บ้านใต้ถุนสูง

บ้านใต้ถุนสูง

บ้านใต้ถุนสูง

บ้านใต้ถุนสูง การเลือกแบบบ้านให้เหมาะกับสภาพอากาศร้อนแบบประเทศไทยนั้น จะต้องคำนึงถึงความโปร่งโล่ง ทิศทางลม และการถ่ายเทอากาศอย่างพิถีพิถัน และบ้านที่มีใต้ถุนยกขึ้นสูง ก็เป็นหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจ เพราะเป็นการออกแบบบ้านที่เน้นความโปร่งสบาย และทำให้ลมโกรกได้ทั่วทั้งตัวบ้าน ช่วยให้บ้านปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกตลอดวัน โครงการภูวิลล่า ภูเก็ต

ในสภาพภูมิอากาศแบบร้อนชื้นใน บ้านหรู เรา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าแบบบ้านที่ตอบสนองสภาพภูมิประเทศแและภูมิอากาศได้ดี ทั้งร้อนจัดและฝนตกจนน้ำหลาก คือบ้านยกเสาสูงที่มีให้เห็นทั่วไปในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ด้วยความที่มีพื้นที่โล่งใต้ถุนบ้านจะเปิดให้ลมพัดเย็นสบาย ลดความชื้นใต้อาคาร ลดความเสียหายของตัวบ้านจากน้ำ

แต่ถ้าให้ลองนึกถึงบ้านมีใต้ถุนหลายคนอาจยังนึกถึงบ้านไม้แถบชนบทที่ดูล้าสมัยไปแล้วในยุคนี้ ถ้าเราประยุกต์แบบบ้านเข้ากับวัสดุและการดีไซน์ใหม่ ๆ เพื่อให้การใช้งานควบคู่กันไปกับความสวยในแบบที่ชอบ ก็จะได้บ้านที่สวยตรงใจและใช้งานได้ดี น้องตี้ นำแบบบ้านใต้ถุนสูงที่ดูเรียบ เท่ สไตล์โมเดิร์นมาแบ่งปัน เผื่อเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างบ้านกันครับ

บ้านใต้ถุนสูงสไตล์โมเดิร์น

บ้านโมเดิร์น ใต้ถุนสูง ที่การออกแบบอิงแนวคิดแบบบ้านไทยโบราณ นอกจากข้อดีจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยแล้ว ความโปร่งโล่งรับลมได้รอบทิศทาง ทำให้อากาศไหลเวียนดี พอหน้าร้อนก็อยู่สบาย และเมื่อหน้าฝนก็ยังหมดกังวลเรื่องปัญหาน้ำท่วมได้ ใครที่กำลังมองหาไอเดียการสร้างบ้านใต้ถุนสูงให้ดูโมเดิร์น น้องตี้ ภูเก็ต วิลล่า รวบรวมมาฝากตามมาชมเลยครับ

บ้านใต้ถุนสูง

บ้านกล่องปูนเปลือยสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัลใต้ถุนสูง
บ้านกล่องปูนเปลือยสไตล์โมเดิร์นทรอปิคัลใต้ถุนสูงที่ชื่อน่ารักน่าหยิกอย่าง “บ้านไข่แดง” หลังนี้อยู่ที่เชียงใหม่ มีคอนเซ็ปต์ในการออกแบบเป็น Passive House หรือ บ้านหรู ประหยัดพลังงานพึ่งพาธรรมชาติมาเป็นตัวตั้ง โดยมีรูปแบบการใช้ชีวิตเหมือนอยู่ในบ้านเรือนไทย แต่นำเสนอออกมาในสไตล์โมเดิร์น ตัวอาคารได้รับการออกแบบให้ห้อมล้อมไปด้วย “พื้นที่กันชน” ซึ่งช่วยกรองความร้อนจากภายนอกรอบทิศทาง

เห็นได้จากบริเวณด้านหน้าและด้านหลังที่มีระเบียงเป็นเหมือนเส้นทางการสัญจรหลักนำไปสู่ห้องต่างๆ ส่วนด้านทิศตะวันออกและตะวันตกก่อผนัง 2 ชั้น บ้านสองชั้น โดยเว้นช่องอากาศไว้ตรงกลางเพื่อช่วยกันความร้อน เช่นเดียวกับการออกแบบหลังคา 2 ชั้นที่มีช่องว่างระหว่างกันสำหรับให้อากาศไหลเวียนและถ่ายเทความร้อนได้ดี ส่วนชั้นล่างของบ้านเปิดโล่งยกสูงเหมือนใต้ถุนเรือนไทย ทั้งหมดจึงทำหน้าที่คล้ายไข่ขาวโอบล้อมไข่แดง (ตัวบ้าน) ไว้ไม่ให้ถูกแสงแดดหรือน้ำฝนโดยตรง แบบบ้านใต้ถุนสูงทรงไทย

เจ้าของ : คุณธนพันธ์ – คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศร
ออกแบบ : คุณธนพงศ์ วงศ์ชินศร

บ้านใต้ถุนสูง

บ้านเล็กในป่าใหญ่
บ้านหลังเล็กท่ามกลางธรรมชาติที่มีคอนเซ็ปต์ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” ในการออกแบบบ้านให้มีใต้ถุนสูง 3 เมตร โดยทำโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กในชั้นแรก ส่วนชั้นสองเป็นโครงสร้างเหล็ก อิงรูปแบบมาจากบ้าน บ้านสองชั้น เรือนไทยสมัยก่อนที่นิยมมีใต้ถุนบ้านไว้ใช้ประโยชน์และใช้ทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผลพลอยได้จากการยกใต้ถุนสูงนี้ทำให้ได้พื้นที่จอดรถเพิ่มขึ้น หรือในอนาคตหากต้องการกั้นห้องเพื่อใช้สอยก็สามารถทำได้เลย นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์เรื่องวิว เพราะบนระเบียงชั้นสองที่มีระดับค่อนข้างสูง สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ในมุมมองที่ต่างออกไป ความโปร่งโล่งที่เกิดขึ้นกับสเปซยังทำให้ลมสามารถพัดผ่านตัวบ้านได้สะดวก อีกทั้งมุมมองจากภายนอกยังทำให้บ้านดูสูงโปร่ง ไม่ทึบตัน

เจ้าของ : ครอบครัวรัตนปรีดากุล
ออกแบบ : คุณกรรณิการ์ รัตนปรีดากุล บริษัทสถาปนิก สเปซไทม์ จำกัด

บ้านใต้ถุนสูง

บ้านยกสูงสีขาว
เนื่องจากบ้านหลังเก่าเคยถูกน้ำท่วมมาก่อน จึงถมที่ขึ้นมาสูงกว่าระดับที่น้ำท่วม ตัว บ้าน ออกแบบเป็นสองหลังล้อมคอร์ตกลางที่มีต้นไม้ใหญ่ ทำให้คอร์ตกลางเป็นเหมือนกับอาณาจักรส่วนตัวบ้านที่เป็นทางเดินเปิดโล่ง ใต้ถุนสูง มีพื้นที่อเนกประสงค์สำหรับนั่งเล่น รับประทานอาหาร ทำงาน และพบปะสังสรรค์ บ้านหรู หลังนี้มีความน่าสนใจที่ใช้โครงสร้างเหล็กที่มีความยืดหยุ่นของการออกแบบ รวมทั้งความเร็วในการสร้าง แถมยังเลือกใช้ผนังก่ออิฐช่องลมช่วยบังแสงแดด แต่ไม่บังลม รวมถึงการยกใต้ถุนก็เป็นตัวช่วยให้บ้านระบายความร้อนออกไปได้เร็วที่สุด ลดการมีพื้นคอนกรีตแข็งกระด้างขนาดใหญ่ เพราะเป็นตัวสะสมความร้อน ส่วนที่ปิดทึบด้วยประตูหรือหน้าต่างกระจกมีเพียงห้องนอนและห้องทำงานชั้นบนเท่านั้น บ้านสองชั้น ส่วนทางเดินหรือระเบียงปราศจากผนังทึบเพื่อการระบายอากาศที่ดีนั่นเอง

เจ้าของและออกแบบ : ดร.ต้นข้าว ปาณินท์

บ้านใต้ถุนสูง

บ้านใต้ถุนสูงจากตู้คอนเทนเนอร์
จากตู้คอนเทนเนอร์ธรรมดาสามารถนํามาทําเป็นบ้าน บ้านสองชั้น ที่สนุกได้มากกว่าที่คิด คงแปลกดีถ้าได้อยู่ในตู้คอนเทนเนอร์ที่รอบๆมีต้นไม้เยอะๆ แถมยังมีสีสันสนุกๆอย่างสีเหลืองมัสตาร์ดซึ่งเป็นสีโปรดของเจ้าของบ้าน และเป็นสีที่ตัดกับสีเขียวของต้นไม้ใหญ่ในบ้าน ส่วนหน้าบ้านเป็นตู้คอนเทนเนอร์กล่องสีเทาที่ยังคงรูปลักษณ์เท่ๆแบบเดิมเอาไว้ เพียงเจาะช่องหน้าต่างเพิ่มเข้าไปเพื่อให้เหมาะกับการอยู่อาศัย ด้านการวางแปลนเลือกยกใต้ถุนด้านล่างเล็กน้อยก่อนขึ้นพื้นบ้านชั้นแรก ด้านหนึ่งเป็นห้องสําหรับพี่สาวกับลูกชายที่มาพักสัปดาห์ละครั้ง ส่วนอีกด้านเป็นใต้ถุนเปิดโล่ง ใช้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ จัดวางโต๊ะกลางและแขวนชิงช้าสําหรับพักผ่อน และมีบ่อเลี้ยงปลาคาร์ปเล็กๆ ล้อมรอบด้วยแมกไม้สีเขียว

เจ้าของและออกแบบ : คุณนัก – วัลลภ ประสพผล

บ้านใต้ถุน

บ้าน Rumah Melayu
บ้านหลังนี้นำแนวคิดของบ้านพื้นถิ่นมาเลเซียที่เรียกว่า “Rumah Melayu” ซึ่งมีลักษณะคล้ายเรือนไทยยกใต้ถุนสูงมาประยุกต์เข้ากับวัสดุและวิธีการก่อสร้างสมัยใหม่ ผลลัพธ์ที่ได้คือบ้าน บ้านเดี่ยว ที่ให้ความเป็นส่วนตัว มีการไหลเวียนอากาศที่ดี รวมถึงช่วยสร้างสภาวะน่าสบายให้ทั้งกายและใจของผู้อยู่อาศัย พื้นที่บริเวณชั้นล่างส่วนใหญ่เป็นสวนไม้ผล ที่ว่าง และที่จอดรถ ส่วนที่เป็นตัวบ้านมีเพียงห้องเก็บของและฟิตเนส นอกนั้นเป็นการยกพื้นสูงขึ้นไปเป็นชั้นสอง ซึ่งเป็นพื้นที่ของโถงรับแขกที่โล่งกว้างต่อเนื่องไปถึงครัว อีกทั้งยังมีประตูบานเลื่อนขนาดใหญ่เปิดออกไปสู่ชานบ้าน ซึ่งจะมองเห็นทิวไม้สูงที่ปลูกในบริเวณบ้าน ช่วยสร้างบรรยากาศร่มรื่นและให้ความเป็นส่วนตัวไปพร้อมกัน

เจ้าของ : Mr.Chan Mun Inn
ออกแบบ : Design Collective Architects (DCA) by Mr.Chan Mun Inn

บ้านใต้ถุน

บ้านใต้ถุนสมัยใหม่
บ้านใต้ถุนสูงภายใต้รูปลักษณ์สถาปัตยกรรมสมัยใหม่ ใช้หลังคาสองชั้น การวางผังแบบกระจายตัวเชื่อมต่อกันด้วยระเบียงภายใต้หลังคาขนาดใหญ่ ทำให้บ้านมีลมพัดผ่าน อากาศจึงเย็นสบายตลอดทั้งปีโดยแทบไม่ต้องใช้เครื่องปรับอากาศเลย ส่วนที่ว่างและพื้นที่ใช้สอยของบ้านหลังนี้มีความโปร่งโล่ง การระบายอาการทั้งจากช่องว่างใต้หลังคาและใต้ถุนยกสูง การมีพื้นที่ชานบ้านเชื่อมต่อห้องต่างๆ การเล่นระดับเพื่อการถ่ายเทอากาศ และมีแนวคิดแบบดั้งเดิมอีกอย่างหนึ่งคือ การใช้ประโยชน์จากลมฟ้าอากาศ โดยการออกแบบพื้นที่ใช้สอยที่เน้นการใช้ชีวิตภายนอกบ้าน บ้านเดี่ยว ในช่วงกลางวัน บริเวณระเบียงขนาดใหญ่และสระว่ายน้ำมีหลังคาขนาดใหญ่คลุม และเป็นบริเวณที่เจ้าของบ้านใช้งานมากที่สุด เมื่อถึงเวลาค่ำก็ค่อยเข้าไปภายในบ้าน

เจ้าของและออกแบบ : คุณอภินันท์ – คุณมุกดา มากช่วย

บ้านใต้ถุน

บ้านใต้ถุนสูงหมาแหน
บ้านรูปทรงแปลกตามีใต้ถุนสูง ขนาด 350 ตารางเมตร ตั้งตระหง่านอยู่บนเนินดินสูงท่ามกลางแปลงผัก ไร่ข้าวโพด และสวนดอกไม้บนพื้นที่กว่า 60 ไร่ การวางแปลนของ บ้านหรู หลังนี้อิงแนวคิดบ้านไทยโบราณซึ่งมีใต้ถุนสูงไว้สำหรับนั่งเล่นนอนเล่น พร้อมกับพื้นที่ไว้เก็บของ และแบ่งส่วนหนึ่งเป็นที่จอดรถ พื้นที่นอกชานกว้างขวาง เปิดรับวิวและลมได้รอบทิศทาง เหมาะสำหรับรับรองแขกและประกอบกิจกรรมร่วมกับครอบครัว หากแต่เลือกใช้พื้นผิวปูนขัดมันฉาบรอบตัวบ้านแทนแผ่นไม้กับหลังคาหน้าจั่ว ซึ่งก็ทำให้บ้านดูทันสมัยขึ้นและดูแลรักษาง่าย เหมาะกับการใช้ชีวิตในไร่

เจ้าของ : คุณทวีศักดิ์ ปกรณ์ผดุงสิทธิ์
ออกแบบและตกแต่งภายใน : Titan Studio

ยกพื้นบ้านสูง

ปัจจุบันบ้านหรืออาคาร เราจะเห็นได้ว่ามีความนิยมในการยกพื้นสูง เพราะการยกพื้นสูง ไม่ได้มีเพียงให้ความสวยงามเท่านั้น ยังแฝงประโยชน์อีกมากมาย ทำให้การยกพื้นบ้าน หรืออาคารเป็นที่นิยม บ้านสองชั้น การยกพื้นมีทั้งการยกพื้นแบบไม่สูงมาก และการยกพื้นแบบมีใต้ถุน ซึ่งการยกพื้นจะมาพร้อมกับการมีบันไดทางขึ้น ทำให้บ้านดูน่าสนใจ หรูหรา และยังเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน คือน้ำท่วมขัง ซึ่งการยกพื้นก็ช่วยได้อีกทาง การยกพื้นบ้าน จะยกกี่เมตรก็ได้ ขึ้นอยู่กับความต้องการของเจ้าของ บ้าน ซึ่งก็จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามความสูงบ้าน แต่ถ้าสูงถึง 2.40 ขึ้นไปต้องถือว่าเป็นอาคารสูง 2 ชั้น การที่ยกพื้นอาคาร มีข้อดีข้อเสีย ดังต่อไปนี้

ข้อดีของการยกพื้นบ้าน

  • ทำให้บ้านดูสูงโปร่ง
  • การพัดของลมที่จะนำฝุ่นเข้าบ้าน บ้านเดี่ยว น้อยลง
  • สามารถซ่อนท่อระบบต่างๆ ไม่ให้เห็นด้วยตา
  • สามารถวางท่อกำจัดปลวกได้
  • ลดความชื้นจากดินได้
  • ช่วยไม่ให้บ้านโดนน้ำท่วมถึงได้
  • ช่วยป้องกันสัตว์เข้า บ้านหรู ได้
  • ช่วยให้รับลมธรรมชาติได้ดีขึ้น

ข้อเสียของการยกพื้น

  • มีค่าใช้จ่ายสูง
  • ไม่เหมาะกับคนสูงอายุ และผู้พิการ เพราะจะทำให้การขึ้น-ลง ไม่สะดวก

ดังนั้น เมื่อนำมาเทียบกับทั้งข้อดี และข้อเสียแล้ว การยกพื้นสูงคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะให้ทั้งความสวยงาม และมีประโยชน์อย่างมากเพิ่มความแข็งแรงให้บ้านได้ด้วย สำหรับใครที่กลัวจะใช้งานไม่สะดวก ก็มีวิธีแก้โดยการทำทางลาดขึ้นไป เพื่อใช้ในการเข็นรถเข็นเข้า บ้าน จึงไม่แปลกใจ ที่สถาปนิกจะเลือกออกแบบให้มีการยกพื้นบ้านสูงขึ้นมา

อ่านเพิ่มเติม ก้านไม้หอมปรับอากาศ