สีทาบ้านภายนอก
สีทาบ้านภายนอก เป็นสีจริงที่ใช้ทาทับส่วนผนังที่อยู่ภายนอกบ้านหลังทาสีรองพื้นแล้ว เพื่อให้เกิดสีตามโทนสีที่ต้องการเมื่อต้องใช้ทาภายนอก สีจึงถูกออกแบบมาให้มีความทนทานกว่าสีทาภายใน เพราะต้องเจอกับแดดและฝน จึงต้องเพิ่มสารพิเศษต่าง ๆ เข้าไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ใช้งานได้ดีและยาวนานนั่นเองครับ ปัจจุบันสีทาบ้านภายนอกก็ยังสามารถใช้ทาภายในได้ด้วยเช่นกัน
สีทาบ้านเป็นสิ่งที่ช่วยเติมเต็มสีสัน สร้างบรรยากาศให้กับบ้านของเรา แต่น้อยคนที่จะรู้ว่า สีทาบ้านที่เราใช้กันอยู่นั้น มีกี่ชนิด และมีองค์ประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญอะไรบ้าง บทความนี้เราเลยขอพาทุกคนไปทำความรู้จักองค์ประกอบของสีทาบ้าน เพื่อนำไปใช้ในการเลือกซื้อสีทาบ้าน ให้สีติดทนนาน บ้านสวย และก็ปลอดภัยกับสุขภาพคนใน บ้าน จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันครับ
สีทาบ้าน
- ส่วนผสมของสีทาบ้าน ประกอบด้วย ผงสีที่ให้ความสวยงาม , สารยึดเกาะที่ทำให้สีติดทน , ตัวทำละลายที่ทำให้สีไม่จับเป็นก้อน และสารเติมแต่งอื่นๆที่เพิ่มคุณภาพของสี
- ชนิดของสีทาบ้านทั่วไปที่ใช้กัน
- สีทาภายนอก ต้องเลือกสีที่ทนต่อสภาพอากาศได้เป็นอย่างดี และสะท้อนความร้อนได้
- สีทารองพื้น ควรเลือกให้ถูกประเภทว่าเป็นปูนใหม่หรือเก่า เพื่อให้สีทาทับหน้ายึดเกาะได้ดี
ส่วนผสมของสีทาบ้าน
- ผงสี สีสันจากเฉดสีที่เป็นตัวเลือกให้เรามากมาย เกิดจาก “ผงสี” ที่เป็นส่วนผสมที่ทำให้เกิดสีมาปิดบังสีพื้นผิวเดิม ทำให้เราเห็นว่าสีนี้คือสีอะไร และทำให้เกิดความสวยงามกับผนังบ้าน มักใช้ผงสีที่เป็นสารอินทรีย์ เช่น โมโนอะโซ พิกเม้นท์ (monoazo pigment) และส่วนผสมที่เป็นอนินทรีย์ เช่น ไททาเนียมไดออกไซด์ แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้นhome
- สารยึดเกาะ หรืออะครีลิค เป็นส่วนสำคัญของสีทาบ้าน เพราะสารนี้จะคอยทำหน้าที่ยึดประสานผงสีหรือสารให้สีเข้ากับสารยึด เพื่อยึดเกาะให้ติดกับพื้นผิว และทำหน้าที่เคลือบพื้นผิวที่มีลักษณะเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ ให้สีมีความเงางาม สารยึดที่เป็นองค์ประกอบหลักจะกระจายในรูปของอิมัลชันมีลักษณะสีขาวขุ่นคล้ายกาวหากยังไม่ได้ผสมกับผงสี เมื่อผสมกับผงสีจะให้เนื้อสีตามผงสี ลักษณะที่ดีของสารยึดเกาะ คือ
- สามารถแห้งตัวได้เร็ว
- มีความยืดหยุ่น เหนียว ไม่เปราะง่ายเมื่อแห้งตัว
- ทนต่อสภาพความเป็นกรด แสงแดด ความชื้น และสภาพแวดล้อมด้านอื่นๆ
- ตัวทำละลาย สารที่ทำหน้าที่ไม่ให้สีจับเป็นก้อนและช่วยให้สารยึดเกาะกับผงสีเป็นเนื้อเดียวกัน ถือเป็นส่วนประกอบที่มากที่สุด เพื่อให้มีความหนืดที่เหมาะสมต่อการใช้งาน เช่น น้ำ
- สารเติมแต่ง เป็นสารปรุงแต่งต่างๆที่ใช้ผสมในสีทาบ้าน โดยใช้เติมเพียงเล็กน้อย เพื่อให้สีทาบ้านมีคุณสมบัติในด้านต่างๆเพิ่มขึ้น เช่น ป้องกันการเกิดฟองของสี ป้องกันการบูดเน่าของสี เพิ่มการกระจายตัวของสี เพิ่มแรงยึดเกาะพื้นผิวให้ทนนาน เพิ่มความเรียบเนียน เพิ่มความมันเงา ช่วยป้องกันแสงแดด ป้องกันความชื้น ป้องกันเชื้อรา เป็นต้น แบบสีบ้าน
สารที่ใช้เติมบางชนิดมักมีโลหะหนักเป็นส่วนผสม ซึ่งปัจจุบันอาจเลิกใช้หรือบางชนิดยังมีอยู่ในองค์ประกอบอยู่ เช่น ปรอท และตะกั่ว โดย มอก. ประกาศกำหนดให้มีปริมาณปรอทเป็นส่วนประกอบไม่เกินร้อยละ 0.05 ตะกั่วไม่เกินร้อยละ 0.06 นั่นเองครับ ฉะนั้นก่อนซื้อ เลือกสีที่มีสารปรอท ตะกั่ว ให้น้อยหรือไม่มีเลยจะดีที่สุดนะครับ
ชนิดของผลิตภัณฑ์สีทาบ้าน
สีทาบ้านจะที่เราใช้กันอยู่ทั่วไปหลักๆ จะมีอยู่ 3 ชนิด ซึ่งแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทางที่ดีเราจึงควรเช็คให้ดีว่าสีที่เราต้องการนั้น มีคุณสมบัติเหล่านี้อยู่หรือเปล่า ?
1.สีทาบ้านภายนอก เป็นสีจริงที่ใช้ทาทับส่วนผนังที่อยู่ภายนอกบ้านหลังทาสีรองพื้นแล้ว เพื่อให้เกิดสีตามโทนสีที่ต้องการเมื่อต้องใช้ทาภายนอก สีจึงถูกออกแบบมาให้มีความทนทานกว่าสีทาภายใน เพราะต้องเจอกับแดดและฝน จึงต้องเพิ่มสารพิเศษต่าง ๆ เข้าไปเพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ใช้งานได้ดีและยาวนานนั่นเองครับ ปัจจุบันสีทาบ้านภายนอกก็ยังสามารถใช้ทาภายในได้ด้วยเช่นกัน
เคล็ดลับการเลือกสีทาภายนอก
- ด้วยสภาพภูมิอากาศของไทยมีหลากหลายฤดู เราจึงต้องเลือกสีทาภายนอกต้องทนทานต่อสภาพอากาศ ทั้งความร้อน แสงแดด แรงลม ความชื้น ได้ดี
- สามารถปกปิดรอยแตกร้าว รอยแตกลายงาของผนังได้ ด้วยโมเลกุลของสีที่มีความยืดหยุ่น จะสามารถหดกลับตามสภาพโครงสร้าง และจากความร้อนได้ดี
- ป้องกันน้ำซึมผ่าน ป้องกันพื้นผิวซีเมนต์ เหล็กจากน้ำฝน และความชื้นได้ดี เนื้อสีลื่น เป็นเงา ไม่จับฝุ่นง่าย
- สามารถขัดหรือทำความสะอาดรอยเลอะ คราบสกปรกบริเวณผนังออกได้ง่าย โดยไม่ทำลายเนื้อสีให้เสียหาย
- ป้องกันเชื้อรา ตะไคร่น้ำได้ดี จากสารเติมแต่งที่อยู่ในส่วนผสมของสี
- ทนต่อสภาพความร้อน รังสี เนื้อสีไม่ลุดลอกหรือซีดจางง่าย และสามารถสะท้อนความร้อนได้ ไม่ทำให้บรรยากาศในบ้านร้อน
2.สีทาภายใน เป็นสีที่ใช้ทาทาทับส่วนผนังที่อยู่ภายในบ้าน เป็นสีที่ไม่ต้องเจอสภาพอากาศแดด ฝน เท่าไหร่นัก แต่การเลือกสีทาภายในก็มีความสำคัญเช่นกัน ควรเลือกสีที่มีคุณสมบัติเช็ดล้างง่าย ป้องกันเชื้อราได้ดี และไม่มีกลิ่นฉุน
เคล็ดลับการเลือกสีทาภายใน
- เนื้อสีต้องมีความละเอียดเป็นเงา เพื่อให้ผนังภายในบ้านสวยงาม
- สามารถเช็ดทำความสะอาดสิ่งปนเปื้อน รอยด่างดำได้ง่าย และทนต่อแรงถูขัด เนื้อสีไม่หลุดลอก
- สามารถป้องกันเชื้อรา แบคทีเรีย และคราบหมองคล้ำที่เกิดจากเชื้อรา
- Low VOC ปราศจากกลิ่นฉุน กลิ่นสารระเหยที่เป็นอันตรายต่อผู้อาศัย บ้าน
3.สีทารองพื้น ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทารองพื้นในงานปูนที่ฉาบเสร็จ ก่อนจะใช้สีจริงทาทับด้วยสีทาภายในหรือภายนอก เพื่อให้เกิดโทนสีตามที่ต้องการ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการยึดเกาะของสีทับหน้าหรือวัสดุฉาบตกแต่งกับผนังฉาบปูนให้ดียิ่งขึ้น ผลิตภัณฑ์นี้เหมือนกับสีทาภายนอก และสีทาภายใน แต่ต่างที่ชนิดของกาว และส่วนผสมที่มากกว่า ซึ่งจะมีลักษณะทนต่อสภาพความเป็นด่างได้ดี เนื่องจากเป็นส่วนที่สัมผัสกับปูน นั่นเองครับ รองพื้นปูนจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ สีรองพื้นปูนใหม่ และสีรองพื้นปูนเก่า จะนำไปใช้ต่างกัน
- สีรองพื้นปูนใหม่ : มีเนื้อสีขาว สูตรน้ำ ไม่มีกลิ่นฉุน ทาง่าย และมีราคาถูก ใช้สำหรับทาผนังฉาบปูนใหม่เท่านั้น เพื่อป้องกันรอยด่างที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจากการทาสีทับหน้าตามขั้นตอน เนื่องจากในช่วงแรกหลังจากการฉาบผนัง ปูนฉาบจะมีการคายความชื้นออกมา ส่วนผสมของสีรองพื้นปูนใหม่จะมีคุณสมบัติในการป้องกันการเกิดรอยด่าง และช่วยเรื่องการยึดเกาะที่ดีสำหรับผนังฉาบปูนและสีทับหน้า
- สีรองพื้นปูนเก่า : แบ่งเป็น 2 สูตร คือ สูตรน้ำที่มีลักษณะเป็นสีขาว และสูตรน้ำมันที่มีลักษณะเป็นสีใส และมีกลิ่นฉุนกว่าสูตรน้ำ แต่มีประสิทธิภาพในการยึดเกาะระหว่างพื้นผิวและวัสดุดีกว่า สีรองพื้นปูนเก่าเหมาะสำหรับใช้ทารองพื้นผนังฉาบปูนที่ผ่านการทาสี หรือผ่านการใช้งานมานานแล้ว ซึ่งอาจมีการลอกร่อนของสีทับหน้าเดิม มีเชื้อรา หรือตะไคร่น้ำจับ โดยต้องทำการขูดสีทับหน้าเดิม และล้างทำความสะอาดสิ่งสกปรกอื่นๆ ออกก่อน รอให้แห้งสนิท แล้วจึงทาสีรองพื้นปูนเก่าก่อนทำการทาสีทับหน้าตามขั้นตอน
เคล็ดลับการเลือกสีทารองพื้น
- เนื้อสีต้องมีความยืดหยุ่นสูง เพื่อช่วยประสานรอยแตกร้าว รอยแตกงาได้ดี
- ป้องกันด่างและคราบเกลือ ป้องกันน้ำซึมเข้าผนังได้ดี และลดปัญหาสีลอกล่อน
- ฟิล์มสีต้องทนต่อสภาพอากาศได้ดี เพื่อให้สีทาทับหน้าคงทนสวยงาม ไม่ซีดจาง สีไม่พอง และไม่ลอกล่อน
- ปราศจากสารปลอด ตะกั่ว โลหะหนัก ที่เป็นอันตราย มีกลิ่นอ่อน ไม่ฉุน Low VOC home
“สีทาบ้าน” ถือเป็นตัวช่วยสำคัญที่เข้ามาเติมสีสันและเสริมบรรยากาศให้บ้านของเราดูสวยงามน่าอยู่ยิ่งขึ้น ซึ่งสีแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและมีการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป เราจึงควรเลือกโดยพิจารณาลักษณะการใช้งานเป็นหลักการเลือกชนิดของสีให้เหมาะกับการใช้งาน มีข้อควรพิจารณาอยู่ 3 เรื่อง ได้แก่
- พื้นผิวที่ต้องการทา : ต้องรู้ก่อนว่าพื้นผิวที่ต้องการทาเป็นวัสดุชนิดใด เพราะสีแต่ละชนิดจะสามารถยึดเกาะได้ดีบนวัสดุที่แตกต่างกัน เมื่อเลือกชนิดของสีได้ตรงกับชนิดของพื้นผิว สีก็จะยึดเกาะได้ทนทานยิ่งขึ้น
- พื้นที่ที่ต้องการทา : ดูว่าจะใช้ทาภายนอกหรือภายในอาคาร ซึ่งโดยทั่วไปพื้นที่ภายนอกต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่รุนแรงกว่าภายใน หากเราจะทาสีภายนอกอาคารก็ควรเลือกชนิดที่มีความทนทานเป็นพิเศษ หรือหากจะใช้ทาภายในก็ควรเลือกสีที่ปลอดภัยต่อสุขภาพของคนในบ้าน
- รูปลักษณ์ที่ชื่นชอบ : สีแต่ละชนิด เมื่อทาออกมาแล้วจะให้รูปลักษณ์ที่แตกต่างกัน ทั้งในเรื่องความทึบของสี ความสดของสี และความเงางาม นอกจากนี้ปัจจุบันยังมีนวัตกรรมสีชนิดใหม่ที่สามารถสร้างผิวสัมผัสให้เป็นลวดลายต่าง ๆ ได้อย่างอิสระตามใจเจ้าของบ้าน
เมื่อเข้าใจลักษณะการใช้งานที่ต้องการแล้ว เราก็มาทำความรู้จักกับคุณสมบัติของสีชนิดต่าง ๆ ไปพร้อม ๆ กันเลย
1. สีอะคริลิกหรือสีพลาสติก : เป็นชนิดที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุด ใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย เหมาะสำหรับใช้ทาบนพื้นผิวที่เป็นซีเมนต์ คอนกรีต รวมถึงกระเบื้อง เพื่อให้ได้สีสันที่สวยงาม โดยสีอะคริลิกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ สีทาภายนอกและสีทาภายใน
- สีทาภายนอก ถูกออกแบบมาให้พร้อมเผชิญกับสภาวะแดดและฝนโดยตรง จึงต้องเพิ่มสารพิเศษต่าง ๆ (Additive) เพื่อเพิ่มคุณสมบัติให้ใช้งานได้ดีและยาวนาน จึงมีความทนทานกว่าและมีราคาที่สูงกว่าสีทาภายใน โดยสีทาภายนอกสามารถใช้ทาได้ทั้งภายนอกและภายในบ้าน
- สีทาภายใน ถูกออกแบบมาให้ใช้ทาภายในอาคารเท่านั้นเพราะไม่จำเป็นต้องทนแดดทนฝน หากนำไปใช้ทาภายนอกก็จะทำให้สีหลุดล่อนและซีดจางได้ง่าย ๆ แต่สีทาภายในก็มีข้อดีที่มีกลิ่นและสารเคมีเบาบางกว่าสีทาภายนอก
2. สีน้ำมัน : เป็นสีที่ใช้น้ำมันหรือทินเนอร์เป็นตัวทำละลาย (Solvent) มีจุดเด่นที่มีความเงางาม แต่มีข้อจำกัดที่ราคาค่อนข้างสูงและแห้งช้า สีน้ำมันค่อนข้างเหมาะกับการใช้ทาบนผิวโลหะหรือไม้ ไม่นิยมใช้ทาบนซีเมนต์หรือคอนกรีตเท่าไรนัก
3. คัลเลอร์ซีเมนต์ : เป็นนวัตกรรมการผสมสีลงในเนื้อซีเมนต์ มีจุดเด่นที่ความคงทน เพราะคัลเลอร์ซีเมนต์มีคุณสมบัติที่สามารถยึดเกาะบนพื้นผิวซีเมนต์ได้ดีเยี่ยมเสมือนเป็นเนื้อเดียวกัน จึงมีความทนทานมากเป็นพิเศษ ช่วยให้สีติดทนคู่ผนังบ้านได้ยาวนาน และเพราะเป็นสีที่ให้อารมณ์ประหนึ่งเป็นธรรมชาติ ไม่ทิ้งปัญหาผนังหลุดล่อนลอกพองเหมือนสีชนิดอื่น ๆ
เมื่อถูกฝนหรือความชื้น อีกทั้งยังช่วยปิดรอยแตกลายงาขนาดเล็กได้ทันที ใช้ได้ทั้งงานภายในและภายนอก ไม่มีกลิ่น ปลอดภัยต่อสุขภาพ และที่สำคัญยังสามารถใช้ได้หลากหลายวิธี ทั้งการทา ฉาบ พ่น และสร้างลวดลายต่าง ๆ จึงสร้างสรรค์ความงามได้หลากหลายรูปแบบ โดยไม่จำเป็นต้องทาสีรองพื้นก่อน เรียกได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติของสีระดับ premium หลายรุ่นมารวมกันในกระป๋องเดียว ลงทุนครั้งเดียว สวยคุ้มยาวนาน บ้าน