แต่งสวนบ้านสไตล์ไทยและจีน

แต่งสวนบ้านสไตล์ไทยและจีน
แต่งสวนบ้านสไตล์ไทยและจีน

แต่งสวนบ้านสไตล์ไทยและจีน

แต่งสวนบ้านสไตล์ไทยและจีน การจัดสวน หมายถึง การจัดสภาพ หรือตกแต่งสถานที่ ให้เหมาะสมสวยงาม ทำให้สภาพแวดล้อม บรรยากาศน่าอยู่ และเอื้อประโยชน์ต่อกิจกรรมต่าง ๆ คือการจะทำให้สวนมีความสวยงาม จะต้องมีความรู้พื้นฐาน ค่อนข้างจะสูงมาก ในเรื่องของการออกแบบ นอกจากนี้ สวนสวยไม่ใช่ว่าสวนจะอยู่ได้นานจะต้องดูว่าสวนสวยจะต้องมีการดูแลรักษาที่ดี เพื่อให้เขามีชีวิตที่อยู่ได้ยาวนานด้วย

หลักการออกแบบจึงมีความจำเป็นต่อการจัดสวนมากเพราะถือว่าการออกแบบ การเขียนแบบ เป็นจุดเริ่มต้น ของงานการออกแบบที่ดี วันนี้น้องตี้จึงอยากจะมานำเสนอการแต่งสวน บ้าน สไตล์ไทยและจีน ให้ทุกท่านที่เข้ามาอ่านได้ชมกัน ถ้าพร้อมแล้วมาดูกันเลยครับว่าการ แต่งสวนบ้านสไตล์ไทยและจีน เป็นยังไงบ้าง

สวนแบบไทย

สวนแบบไทย สวนที่ใช้เป็นองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมถาวร มักจะเป็นสวนไม้ดัด และไม้กระถางเป็นส่วนใหญ่ อยู่ในพระราชวัง พระอารามใหญ่ๆ สวนภู เขาจำลองที่เรียกว่า เขามอ มีอยู่แต่ในพระราชวัง วัง และพระอาราม ต่างๆเช่นกัน เพราะถือว่าจะไทำสวนชนิดจี้ใน บ้าน สามัญชน เว้นแต่ผู้ที่มี บุญบารมี นอกจากนี้ยังมีเขาก่อซึ่งเป็นสวนภูเขาจำลองอีกชนิดหนึ่ง เพื่อ ใช้ในพระราชพิธีซึ่งจัดในพระราชฐานเท่านั้น

  • สมัยกรุงสุโขทัย พ.ศ. 1820-1860 ปรากฎความ ตามศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่า “ในเมืองสุโขทัยนี้ จึงชมสร้างป่าหมาก ป่าพลู ทั่วเมืองทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลาง (ลาน) ก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขาม ก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างไว้ได้แก่มันกลางเมืองสุโขทัย” ความนี้เป็น หลักฐานที่ทำให้พออนุมาน ได้ถึงสภาพ ภูมิทัศน์ของเมืองสุโขทัยเดิม ว่าเต็มไปด้วยสวนพันธุ์ไม้ต่างๆ ที่คงได้รับ การดูแลจากผู้ปกครองแผ่นดินในสมัยนั้นๆ เป็นอย่างดี
  • สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยอยุธยาตอนต้น สวนที่สร้างขึ้นใน พระบรมราชวัง คงเป็นทั้งสวนที่มีทั้ง พันธุ์ไม้ดอก และ ไม้ผลปลูกประดับ เช่นเดียวกับสวน ครั้งกรุงสุโขทัย สวนขนาดใหญ่ของ พระเจ้าแผ่นดิน มักจะอยู่นอก กำแพง พระราชวัง หรือนอกกำแพงพระนคร อาทิ สวนหลวงสบสวรรค์ ที่อยู่นอก กำแพง พระราชวัง ไปทางตะวันตก มีพระราชอุทยานอีกประเภทคือพระอุทยานในบริเวณ พระตำหนัก ที่ใช้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาส การแต่งพระอุทยาน มักขึ้นอยู่กับ ภูมิประเทศอันเป็น ที่ตั้งของ พระตำหนัก เป็นสำคัญ ทั้งนี้พระ อุทยานของ พระเจ้าแผ่นดิน ถูกกำหนดเป็นเขตหวงห้ามไม่ให้ประชาชนทั่วไปเข้าไปได้ ไม่ปรากฎ สวนสาธารณะ ที่สร้างสำหรับ ประชาชนทั่วไปใน สมัยอยุธยาตอนต้น แต่ก็มีที่ว่างสาธารณะ ที่ประชาชน จะใช้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจได้ในพระนคร คือ บริเวณบึงพระราม (บึงชีขัน) ซึ่งนับว่า เป็นแหล่งน้ำที่ใหญ่ที่สุดภายในกำแพง เมืองกรุงศรีอยุธยา หากจะมี การละเล่นหรือ การพักผ่อน ที่ต้องการ พื้นที่กว้างขวางขึ้น ราษฎรก็จะออกไปสู่ทุ่งนอกกำแพง
  • สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 1 ทรงโปรดฯ ให้สร้างสวนในพระบรมมหาราชวัง ตามลักษณะของ สวนในพระราชวังหลวง ที่กรุงศรีอยุธยา โดยโปรดฯให้สร้างพระราชอุทยานขนาบพระมหามณเฑียร และทรงขนานนามว่า “สวนขวา” และ “สวนซ้าย” โดยลำดับ

    ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรงโปรดฯให้มีการปรับปรุงสวนขวา ในปีพ.ศ.2361 โดยให้พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่น เจษฎาบดินทร์ฯ เป็นแม่กองจัดสร้าง โดยมีผังเป็นสระน้ำขนาดใหญ่ มีภูเขาจำลอง เป็นเกาะน้อยใหญ่เรียงรายโดยมีสะพานเชื่อมถึงกัน และมีเก๋งที่พัก สำหรับเป็นที่สำราญพระราชหฤทัย กอปรกับเป็นการบำรุงรักษาฝีมือช่างไทย และเป็นเครื่องแสดง ความรุ่งเรืองของพระราชอาณาจักร สวนหน้าบ้าน

    ในรัชกาลที่ 3 มีพระราชนิยมในการบูรณะพระอารามต่างๆ และมีการใช้ตุ๊กตา ศิลาจำหลัก ซึ่งมีทั้งตุ๊กตา จีน ไทย ฝรั่ง และรูปสัตว์ต่างๆ ตั้งประดับไว้ในวัด

    ในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดให้ บูรณะปฏิสังขรณ์ พระที่นั่งและโรงมหาสภา ในบริเวณใกล้สวนขวา ซึ่งทรุดโทรมลง และยกเป็นพุทธเจดีย์สถานอาราม ภายในพระราชวังโดยมี การบำรุงสวน และ ปลูกพันธุ์ไม้ดอก ที่มาจากต่างประเทศ

    ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการปรับปรุง บ้าน เมืองให้สวยงาม (City Beautification) นอกจากเรื่องการจัดวางผังเมืองกรุงเทพฯ ให้มีความสวยงามร่มรื่น และเป็นระเบียบ เรียบร้อยขึ้นแล้ว ทรงโปรดฯ ให้สร้างสวนไว้ตาม พระบรมมหาราชวัง มหามณเฑียร พระราชวัง และตำหนักต่างๆ อาทิ สวนลายประดิษฐ์ (Formal Style) ณ หมู่พระตำหนักเกาะสีชัง ชลบุรี สวนลานหน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สวนภูเขาบริเวณหลังพระที่นั่งจักรี ทรงโปรดฯให้สร้างสวน “เขาไกรลาส” ขึ้น และสร้างเขาไกรลาสเล็กข้างพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เป็นลักษณะเขามอยอดเจดีย์ สำหรับประกอบพิธีโสกันต์

สวนแบบไทย ๆ เป็นสวนที่มีความหลากหลาย ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนเจ้าของ บ้าน สามารถปรับเปลี่ยนหรือโยกย้ายวัสดุแต่งสวน เพื่อเปลี่ยนมุมมองได้ตลอดเวลา แต่ยังคง Concept หลักแบบไทย ๆ ไว้เช่นเดิม พันธุ์ไม้ใช้พันธุ์ไม้ไทยที่เป็นไม้มงคล เช่น คูณ ขนุน วาสนา ว่านมหามงคลต่าง ๆ นอกจากนั้นไม้ไทยส่วนมากเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม เช่น โมก จำปา จำปี พุดต่าง ๆ วัสดุตกแต่งแบบไทย ๆ เช่น โอ่ง ไห ตุ๊กตาไทย

สวนแบบจีน

การจัดสวนไม้ประดับแบบจีน ซึ่งได้รับความคิดมาจากธรรมชาติ พยายามดึงธรรมชาติให้เข้ามาอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด มีเอกลักษณ์ การจัดเป็นของตนเองโดยมีความคิดในการจัดคือ

  • การจัดรูปแบบเป็นเนินดินสูง – ต่ำ (Slope) และปลูกหญ้า
  • การจัดแบบพื้นราบ มีสระน้ำ บ่อน้ำ ธารน้ำและก้อนหิน
  • จัดปลูกต้นไม้แบบยืนต้น เช่น ต้นสน หลิว ไผ่ ต้นหลิวจะปลูกไว้ตามขอบสระน้ำ กิ่งใบจะย้อยลงสู่พื้นน้ำอย่างสวยงาม ส่วนต้นสนก็จะตัดแต่งกิ่งก้านและลำต้นให้คดโค้งไปมา
  • จัดประดับสวนด้วยสถาปัตยกรรมแบบจีน เช่น เก๋งจีน หรือเจดีย์แบบหกเหลี่ยมซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น
  • จัดสวนด้วยสะพานทอดโค้งข้ามลำธาร ข้ามเกาะ พื้นสนามที่ปลูกหญ้า จะมีทางเดินคดโค้งไปม าด้วยเส้นที่อ่อนหวานกลมกลืนกับธรรมชาติ

องค์ประกอบของสวนจีน

  • ทางเดินมีหลังคา (covered walkway) ระเบียงทางเดิน (corridor) ป้องกันแดดฝนเวลาเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคาร หรือชม สวน เป็นการบังคับมุมมองอยู่ในแนวระดับชายคา
  • รั้ว กำแพง สวนมักปิดล้อมด้วยกำแพง ทาสีขาวมีหลังคาด้านบน และยัง มีกำแพงภายในอีกชั้นเพื่อแบ่งสวนออกเป็ส่วนต่างๆ มีการเจาะช่องบน กำแพงเป็นประตู หน้าต่าง เช่น รูปผลไม้ น้ำเต้า ดอกไม้ พระจันทร์ (moon gate) และมีการเจาะช่องหน้าต่างที่กำแพงใส่ลวดลาย (tracery window) เรขาคณิตคล้ายลายพื้น เพื่อระบายอากาศ แล้วยังเป็นกรอบของภาพเวลามองจากภายในออกไปยังภายนอก home
  • ลวดลายพื้น (pavement) กระเบื้อง อิฐ กรวด หิน เป็นลวดลาย ละเอียด รูปร่างเรขาคณิต สีค่อนข้างเรียบ
  • ศาลา (pavilion) เป็นจุดชมวิว นั่งเล่น พักผ่อน มีการจัดวาง ตำแหน่งในบรรยากาศที่เปลี่ยนไป มีการตั้งชื่อของศาลาให้ทราบถึง ความพิเศษ เช่น ศาลาชมจันทร์ ศาลาบนเกาะกลางน้ำ ศาลาในสายฝน ศาลามักจะโปร่งโล่ง มีขนาดรูปร่าง และผังที่หลากหลาย เช่น กลม หลายเหลี่ยม บางครั้งเป็นอาคารมากกว่าหนึ่งชั้น มีโต๊ะ เก้าอี้ที่เคลื่อนที่ ได้ ในสวนหนึ่งมักมีศาลามากกว่าหนึ่งหลัง โดยไม่รบกวนสายตากัน เป็นทั้งจุดเด่นและหยุดสายตาในสวน
  • บ่อน้ำ และสระน้ำ เลียนแบบธรรมชาติ สะท้อนเงาสาลา เงาต้นไม้ลงใน น้ำ ปลูกไม้น้ำ เลี้ยงปลา
  • หิน สัญลักษณ์ของภูเขาตัวแทนธรรมชาติที่ขาดไม่ได้ในสวนจีน
  • เนินดิน (landform) การเปลี่ยนระดับ การพยายามสร้างภูมิ ประเทศที่เป็นภูเขา เป็นธรรมชาติ ประกอบกับการขุดบ่อน้ำทำให้มีดิน มาปรับพื้นที่
  • สะพาน มักอยู่ส่วนที่แคบ วางตำแหน่งโดยคำนึงถึงการมองเห็นเมื่อเดิน ข้าม มีวัสดุทั้งไม้ หิน อาจเดินเป็นเส้นตรงหรือเดินซิกแซก เพื่อให้เดิน ช้าๆสามารถชมสวนไปด้วย ทิศทางการเดินที่เปลี่ยนไปจะนำสายตาไป ยังจุดที่เปลี่ยนไปด้วย

วิธีจัดองค์ประกอบ

  • ลำดับการเดิน และการมองเห็นในสวน (Sequence) คำนึงถึงมุมมองจาก จุดที่หยุดนิ่ง เช่น ศาลา และจากจุดต่างๆ ที่เคลื่อนไหว ในสวน มีจุดสนใจข้างหน้า ในระยะใกล้ (Foreground) จุดสนใจในช่วงกลาง (Middle Ground) และ ฉากหลัง(Background)
  • เป็นแบบสวนที่เรียกว่า Picturesque มุมหรือจุดต่างๆ ในสวน จะหมืนกับภาพเขียน หรืิอ ภาพวาด
  • การสร้างกรอบ (Framing) การมองผ่านกรอบประตู หน้าต่าง
  • การสร้างมุมมอง ภายในพื้นที่ที่มีจุดเด่น (Focal Point) เช่น ศาลา สะพาน บ่อน้ำ หรือ เป็นการนำจุดเด่นภายนอก (Borrowed Scenery) มาเป็นมุมมองภายในสวน บ้าน