บ้านหน้าแคบลึก ลุคเรียบหรูดูแพง ภายในเล่นระดับ
บ้านหน้าแคบลึก หน้าแคบ คือ หนึ่งในปัญหาที่ท้าทายสำหรับสถาปนิก ซึ่งจะต้องคิดหาหนทางการแก้ปัญหาให้เจ้าของบ้านได้มีพื้นที่ใช้สอยอย่างพอเพียง ควบคู่ไปกับการออกแบบที่สวยงาม วิถีการสร้างบ้านในเขตชุมชนเมือง นิยมบ้านลักษณะหน้าแคบ แต่ลึก เนื่องด้วยราคาที่ดินในเมืองมีราคาสูงมาก การแบ่งซอยพื้นที่เล็ก ๆ
จึงสามารถขายได้ง่ายกว่าที่ดินผืนใหญ่ ปัจจุบันเราจึงเห็นบ้านลักษณะทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าส์ หรือบ้านเดี่ยวที่สร้างบนที่ดินแคบ ๆ จำนวนมาก ซึ่งหากย้อนดูสถาปัตยกรรมยุคเก่าจะเห็นได้ว่า บ้านลักษณะหน้าแคบแต่ลึกจะเป็นบ้านที่ถูกปิดทึบด้วยผนังทั้ง 2 ด้าน ส่งผลให้การใช้ชีวิตภายในบ้านรู้สึกอึดอัด คับแคบ จำเป็นต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน และยากยิ่งที่จะได้สัมผัสกับธรรมชาติphuket property
ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปมาก ความต้องการดื่มด่ำกับธรรมชาติ สายลม แสงแดด มีมากขึ้น ประจวบกับเทคโนโลยี นวัตกรรมวัสดุ และงานสถาปัตยกรรมได้มีการพัฒนามากขึ้น รูปแบบบ้านหน้าแคบจึงได้มีการพัฒนาฟังก์ชันใหม่ ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับบ้านหน้าแคบได้อย่างสมบูรณ์ จะมีแนวทางใดให้ประยุกต์ใช้กันบ้าง อ่านรายละเอียดกันได้เลย
จุดสำคัญของความรู้สึกอึดอัดที่เกิดขึ้นในบ้านหน้าแคบ คือการถูกปิดทึบด้วยผนังทั้ง 2 ด้าน วิธีแก้ไขปัญหาดังกล่าวที่ดีที่สุด คือการออกแบบบ้านให้สามารถรับแสงสว่างจากธรรมชาติได้ พร้อมกับออกแบบให้มีผนังเปิดโปร่ง แต่การเปิดโปร่งแบบทั่วไปนั้นทำได้ยาก
เนื่องด้วย พรบ.ควบคุมอาคารได้กำหนดระยะร่นอาคาร ซึ่งหากออกแบบให้เปิดโปร่ง จะต้องเว้นระยะร่นด้านดังกล่าว 2 เมตรขึ้นไป ซึ่งส่งผลให้พื้นที่ ที่แคบอยู่แล้ว ยิ่งเหลือน้อยลงยิ่งกว่าเดิม ทั้ง 5 แนวทางนี้จึงเป็นการแก้ปัญหาไปพร้อม ๆ กับการทำตามกฎหมายควบคุมอาคาร
ไอเดียบ้านเมทัลชีทสีเขียว หน้าแคบ
บ้านหน้าแคบลึกเล่นระดับให้ดูกว้าง หากพูดถึงบ้านเมทัลชีท หลายคนอาจจะนึกภาพบ้านผนังโลหะที่เหมือนการใช้งานไม่ยืนยาว แถมยังติดกับความรู้สึกว่าต้องร้อนแน่ๆ แต่ปัจจุบันนี้บ้านเมทัลชีทถือเป็นวัสดุก่อสร้างที่เป็นตัวเลือกหนึ่งที่ใช้งานได้ดี เพราะมีหลายรุ่นใหม่ๆ ให้เลือก ตอบโจทย์บ้านยุคใหม่ทั้งคุณสมบัติ สี และการดีไซน์ หากใครกำลังคิดจะใช้วัสดุเมทัลชืท เรามีหนึ่งตัวอย่างบ้านเมทัลชีทที่สะดุดตามาให้ชม กับ Verde House ตั้งอยู่ในย่าน Bintaro South Tangerang ประเทศอินโดนีเซีย ตัวบ้านโดดเด่นด้วยโทนสีเขียวที่สะดุดตา ภายในได้รับการออกแบบมาอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความรู้สึกสบายที่สุดในการใช้ชีวิตสำหรับทั้งครอบครัว
โปรเจ็คนี้เป็นงานรื้อสร้างใหม่ในไซต์เก่าพื้นที่ 6×15 ม. ถือว่าขนาดไม่ใหญ่นัก และตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่น ดังนั้น พื้นที่ภายในจึงต้องออกแบบให้ดีเพื่อให้บ้านดูกว้างและะมีแสงสว่างเพียงพอ วิธีการออกแบบหลักสำหรับ Verde House คือการแบ่งความสูงของพื้นที่เพื่อปรับการใช้งานให้เหมาะสม และนำวัสดุที่เหลือจากอาคารเก่ากลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดปริมาณขยะจากการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนภายนอกจะเป็นส่วนผสมระหว่างเมทัลชีทสีเขียวใบไม้ เหล็กฉีกสีดำ บล็อกช่องลม และคอนกรีตเทาๆ ออกแบบส่วนหน้าให้เหมือนโรงนาสูง ๆ จากภายนอกจะเห็นเพียง 2 ชั้น แต่ภายในแบ่งออกเป็นชั้นย่อย ๆ ถึง 4 ชั้น phuket property
พื้นที่ในบ้าน Verde House แบ่งออกเป็น 3 ส่วนตามแนวนอน คือ พื้นที่ส่วนกลางอยู่หน้าบ้านมีพื้นที่เปิดโล่งโถงสูงตรงกลางที่แบ่งพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลัง พื้นที่ส่วนตัวจะอยู่ด้านหลัง และชั้น 2 ที่เป็นการเล่นระดับขึ้นไปเป็นห้องนอน ชั้นล่างสุดจะเป็นที่จอดรถ เข้ามามีห้องเก็บของ แล้วตามบันไดขึ้นมาสู่ชั้นแรกประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น มุมทานข้าว และครัวอยู่บริเวณเดียวกัน จากนั้นจะเป็นบันไดไปสู่ห้องนอนและชั้นบน สำหรับส่วนที่กรุวัสดุเมทัลชีทด้านหน้าเพิ่มฉนวนกันความร้อนทั้งผนังและหลังคา บ้านจึงคงความเย็นสบายไม่ร้อน ส่วนหน้าจะไม่ใช่โซนใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ค่อยมีคนใช้งานช่วงกลางวัน จึงไม่มีปัญหาในการใช้งาน
ตกแต่งมุมนั่งเล่นและครัวด้วยโทนสีเทา เขียวกำมะหยี่ ทำให้บ้านดูแข็งแกร่งด้วยโครงสร้างคอนกรีตเปลือย แต่คลาสสิคหรูหรากับงานผ้าและสีดำ พร้อมใส่ความเป็นธรรมชาติด้วยงานไม้ ชุดสี 3 สีนี้จับคู่เมื่อไหร่รับรองว่าไม่พลาด
ความสูงของพื้นที่มักทำให้มีการแบ่งแยก ตัวอย่างง่ายๆ ของบ้านที่มีตั้งแต่สองชั้นทั่วไป จะเทพื้นเพดานแบ่งระหว่างชั้นบนและชั้นล่างให้ตัดขาดออกจากกัน กว่าจะมาพบกันแต่ละครั้งก็ต้องเดินขึ้นลงบันไดไปที่ชั้นใดชั้นหนึ่ง นี่จึงเป็นหนึ่งเหตุผลที่สถาปนิกเลือกใช้วิธีการเล่นระดับบ้านให้ค่อย ๆ สูงขึ้นไปทีละสเต็ป ทำให้แต่ละชุดการใช้งานมีความเชื่อมต่อกันได้แบบไม่สูงเกินไป เหมือนมีชั้นลอยที่มองเห็นกันได้และใช้งานสะดวก แล้วสร้างช่องว่างเชื่อมต่อในแนวตั้งเพื่อลดอุปสรรคในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
ลานภายในที่ตั้งอยู่ตรงกลางของบ้านมีสเต็ปบันไดที่นั่งเล่นได้ บิลท์ดิดกับกระถางคอนกรีตปลูกต้นไม้เขียวๆ ให้ความรู้สึกสดชื่น ขยับขึ้นไปจากส่วนนี้จะเป็นห้องนอนประตูกระจกและชั้นสอง เหนือลานเป็นโถงสูงและมี skylight ดึงแสงลงมาช่วงกลางอาคาร บ้านจึงเหมือนมีพื้นที่กลางแจ้งภายใน โดยพื้นฐานแล้วบ้านจะใช้ประโยชน์จากพื้นที่ส่วนกลางของบ้านนี้ เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ใช้งาน เพิ่มความใกล้ชิดระหว่างสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ยังช่วยให้อากาศภายในอาคารไหลเวียนได้ดีขึ้นโดยไม่ทำให้รู้สึกร้อน ด้วยการเร่งการไหลของอากาศร้อนออกจากบ้านผ่านช่องเปิดที่ออกแบบรับกันอย่างดี
ห้องนอนถูกจัดวางด้านหลังให้ความเป็นส่วนตัว ในแต่ละชั้นจะสามารถมองเห็นสวนที่คอร์ทยาร์ดกลางบ้านได้ ชั้นล่างมองขึ้นมาเห็นชั้นบน ส่วนคนที่อยู่ชั้นบนก็ไม่ถูกตัดขาดจากพื้นที่อื่นๆ ของบ้าน เอกลักษณ์ของบ้านแบบนี้ทำให้อยู่ได้อย่างสนุกสนานไม่มีเบื่อ ลืมบ้านสองชั้นสามชั้นแบเดิมๆ ไปได้เลย
5 แนวคิด บ้านหน้าแคบ
วิถีการสร้างบ้านในเขตชุมชนเมือง นิยมบ้านลักษณะหน้าแคบ แต่ลึก เนื่องด้วยราคาที่ดินในเมืองมีราคาสูงมาก การแบ่งซอยพื้นที่เล็ก ๆ จึงสามารถขายได้ง่ายกว่าที่ดินผืนใหญ่ ปัจจุบันเราจึงเห็นบ้านลักษณะทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้าส์ หรือบ้านเดี่ยวที่สร้างบนที่ดินแคบ ๆ จำนวนมาก ซึ่งหากย้อนดูสถาปัตยกรรมยุคเก่าจะเห็นได้ว่า บ้านลักษณะหน้าแคบแต่ลึกจะเป็นบ้านที่ถูกปิดทึบด้วยผนังทั้ง 2 ด้าน ส่งผลให้การใช้ชีวิตภายในบ้านรู้สึกอึดอัด คับแคบ จำเป็นต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน และยากยิ่งที่จะได้สัมผัสกับธรรมชาติ
ปัจจุบันวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่เปลี่ยนไปมาก ความต้องการดื่มด่ำกับธรรมชาติ สายลม แสงแดด มีมากขึ้น ประจวบกับเทคโนโลยี นวัตกรรมวัสดุ และงานสถาปัตยกรรมได้มีการพัฒนามากขึ้น รูปแบบบ้านหน้าแคบจึงได้มีการพัฒนาฟังก์ชันใหม่ ๆ ที่ช่วยแก้ปัญหาให้กับบ้านหน้าแคบได้อย่างสมบูรณ์ จะมีแนวทางใดให้ประยุกต์ใช้กันบ้าง อ่านรายละเอียดกันได้เลย
ผนังกระจก ช่องหน้าต่าง จนอาจลืมไปว่า ด้านบนหรือหลังคาบ้านก็สามารถรับแสงสว่างได้ การทำหลังคา Sky Light ในตำแหน่งที่ต้องการแสง จึงสามารถเปลี่ยนบ้านหน้าแคบของเราให้ดูโปร่งกว้างได้อย่างน่าอัศจรรย์
1. ยอมสละพื้นที่ใช้สอยอีก 50 เซนติเมตร
ตามกฎหมายระยะร่นของไทย อนุญาตให้สามารถร่นระยะอาคารได้น้อยสุดที่ 50 เซนติเมตร โดยบริเวณดังกล่าวจะต้องออกแบบในลักษณะผนังทึบ กรณีออกแบบโปร่ง มีช่องแสง ช่องลม จำเป็นต้องร่นระยะอาคาร 2 เมตรขึ้นไป การออกแบบบ้านในที่ดินหน้าแคบส่วนใหญ่จึงออกแบบในลักษณะกล่องสี่เหลี่ยม ปิดทึบด้านข้างทั้งสองด้าน ซึ่งส่งผลให้ภายในบ้านมืด อับแสง
2.สวนนอกบ้านพื้นที่ไม่พอ งั้นยกมาไว้ข้างในเลย
สำหรับที่ดินแคบ ๆ ในตัวเมือง หากต้องเว้นพื้นที่ไว้เพื่อการจัดสวน จะเหลือพื้นที่ให้สร้างบ้านลดน้อยลงมาก แต่นั่นอาจไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญนัก เพราะจุดหลักของการสร้างบ้านในเมืองที่วุ่นวาย การมีสวนหน้าบ้านนั้นแทบจะไม่ได้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว และไม่ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ การออกแบบสวนไว้ในบ้าน หรือที่นิยมเรียกกันว่า “คอร์ทในบ้าน” เป็นอีกแนวทางที่สามารถเติมเต็มธรรมชาติมาไว้ภายในบ้านได้อย่างสมบูรณ์ อีกทั้งยังให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ปลอดภัย และบ้านยังได้รับแสงสว่างแม้ผนังบ้านจะปิดทึบก็ตาม
สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการจัดสวนภายในบ้าน คือการเลือกพันธุ์ไม้ที่ใบร่วงน้อย กินน้ำน้อย และต้องมั่นใจได้ว่า เราสามารถดูแลสิ่งเหล่านี้ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ มิเช่นนั้นจะกลายเป็นภาระในการดูแลบ้านครับ หรือหากที่ดินของใคร มีลักษณะแคบ แต่ลึก การทำสวนส่วนตัวไว้หลังบ้าน นับเป็นอีกไอเดียที่เหมาะสำหรับบ้านหน้าแคบเลย
3.เปิดผนังติดระยะร่น งั้นเปิดหลังคาแทนซิ
การรับแสงสว่างตามความเคยชินในการออกแบบบ้านทั่วไป นิยมรับผ่านทางช่องแสงผนังกระจก ช่องหน้าต่าง จนอาจลืมไปว่า ด้านบนหรือหลังคาบ้านก็สามารถรับแสงสว่างได้ การทำหลังคา Sky Light ในตำแหน่งที่ต้องการแสง จึงสามารถเปลี่ยนบ้านหน้าแคบของเราให้ดูโปร่งกว้างได้อย่างน่าอัศจรรย์
4.โปร่ง แต่ก็ยังปลอดภัยและเป็นส่วนตัว
สำหรับพื้นที่บางส่วนที่สามารถเว้นระยะร่นได้ เช่น หน้าบ้าน หลังบ้าน การออกแบบให้โปร่ง รับแสงตลอดทั้งวัน จำเป็นต้องออกแบบด้วยวัสดุกระจก แต่นั่นอาจส่งผลให้ความเป็นส่วนตัวหายไป และอาจส่งผลด้านการอยู่อาศัยที่ไม่ปลอดภัยนัก แต่หากจะทำเหล็กดัดก็อาจส่งผลให้บ้านสวยกลายเป็นบ้านโบราณไปในพริบตา
5.เลือกชิดด้านใด ด้านหนึ่ง
บ้านเดี่ยวทั่วไปที่มีขนาดที่ดินประมาณ 15-20 เมตร นิยมวางผังบ้านไว้บริเวณกึ่งกลางที่ดิน พร้อมกับเว้นระยะร่นด้านละ 2 เมตร ตามกฎหมายกำหนด แต่สำหรับที่ดินหน้าแคบ การเว้นระยะร่นในลักษณะดังกล่าวย่อมส่งผลให้ไม่เหลือพื้นที่ก่อสร้าง เช่น ที่ดินขนาด 10 เมตร เมื่อเว้นระยะร่นแล้วจะเหลือพื้นที่สร้างอาคารเพียง 6 เมตรเท่านั้น การเลือกเว้นด้านใด ด้านหนึ่ง เพื่อใช้เป็นพื้นที่สวน พื้นที่โปร่ง พร้อมกับออกแบบให้พื้นที่ฝั่งตรงข้ามเป็นลักษณะผนังทึบ เพื่อสามารถเว้นระยะร่นด้านข้างเพียง 50 เซนติเมตร วิธีการนี้จะช่วยทำให้เกิดพื้นที่ว่างนอกอาคารมากขึ้น ใช้งานจริงได้ดีกว่าเดิม