การจัดสวน
การจัดสวน หมายถึง วิทยาศาสตร์และศิลป์ในการสร้างสรรค์เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์ การจัดสภาพหรือตกแต่งสถานที่ให้เหมาะสมสวยงาม ทำให้สภาพแวดล้อม บรรยากาศน่าอยู่ และเอื้อประโยชน์ต่อกิจกรรมต่าง ๆ โดยนำหลักวิชาการ ความรู้ เทคนิค ศิลปะและประสบการณ์มาผสมผสานเข้าด้วยกัน นำสิ่งของหลาย ๆ สิ่งที่มีชีวิต วิลล่าภูเก็ต
และไม่มีชีวิต ทั้งที่เป็นสิ่งประดิษฐ์และสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติผสมผสานกัน เพื่อสร้างหรือพัฒนาให้เกิดประโยชน์ เกิดทัศนียภาพ ที่มีความงดงามสูงสุด อาจเป็นการสร้างธรรมชาติรูปแบบใหม่หรือลอกเลียนแบบธรรมชาติ ลอกเลียนศิลปกรรมในอดีตนำมาดัดแปลงให้เข้ากับความต้องการของมนุษย์
การจัดสวนอาจทำนอกบริเวณที่อยู่อาศัยก็ได้เช่น สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ บริเวณสถานที่ท่องเที่ยว บริเวณโรงแรม/ห้างร้าน/บริษัท/หน่วยงานต่าง ๆ โดยทั่วไปจะทำกลางแจ้งและทำบนดินแต่ก็อาจทำในร่มได้เช่น การจัดสวนในเรือนกระจก หรืออาจทำในน้ำได้การปลูกเลี้ยงสระบัว หรือแม้แต่การทำสวนพืชรากอากาศ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น สวนดอกไม้ สวนหิน สวนที่มีลักษณะที่สมดุลเช่นการจัดสวนแบบยุโรป หรือ ลักษณะการผสมผสานความไม่สมดุลเช่นการจัดสวนแบบญี่ปุ่น เป็นต้น
นอกเหนือจากการตกแต่ง บ้าน ให้สวยงามแล้ว การจัดสวนก็มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้บ้านน่าอยู่น่าอาศัย เพราะการที่เรามีสวนที่สวยงามจะทำให้เรารุ้สึกว่าบ้านของเรานั้นหน้าอยู่
สวน ( Garden ) หมายถึง สถานที่ที่มีการ ปลูก ตกแต่ง จัด พันธุ์ไม้อย่างเป็นระเบียบเป็นสัดส่วน เพื่อความสวยงาม และใช้ประโยชน์ต่างๆ เช่น สวนผลไม้ ,สวนครัว ,สวนไม้ดอกไม้ประดับ ,สวนป่า สวนหย่อม
ความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการ ออกแบบจัดสวน
คือการจะทำให้สวนมีความสวยงาม จะต้องมีความรู้พื้นฐาน ค่อนข้างจะสูงมาก ในเรื่องของการออกแบบ นอกจากนี้ สวนสวย ไม่ใช่ว่า สวนจะอยู่ได้นาน จะต้องดูว่าสวนสวย จะต้องมีการดูแลรักษาที่ดี เพื่อให้เขามีชีวิต ที่อยู่ได้ยาวนาน ด้วย หลักการออกแบบ จึงมีความ จำเป็น ต่อการจัดสวนมาก เพราะถือว่าการออกแบบ การเขียนแบบ เป็นจุดเริ่มต้น ของงาน การออกแบบ ที่ดีต้องอาศัยความรู้อยู่ 2 อย่างด้วยกันดังนี้ home
องค์ประกอบของศิลป์
การจัดสวนเป็นศิลป์ที่เกิดจากการนำเอาองค์ประกอบ ทั้งที่เป็นธรรมชาติและสิ่งที่ มนุษย์สร้างขึ้นมา ผสมผสาน เพื่อให้เกิด สภาพแวดล้อม ที่ดีให้ตอบสนองต่อพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งสัมพันธ์กับตัวอาคารและสิ่งก่อสร้างทุกชนิด
การศึกษา เกี่ยวกับ องค์ประกอบของศิลป์ นั้น จำเป็นจะต้องมี ความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับ ศิลป์ โดยทั่วไปเป็นพื้นฐานก่อน จะต้องรู้ว่าศิลป์คืออะไร มีความหมายอย่างไร
หลักศิลปในการออกแบบ (Principle of design)
ศิลป์ เกี่ยวกับ การจัดสวน มีพื้นฐานคล้ายคลึงกับศิลป์ กับด้านอื่น ๆ เช่น ด้านจิตรกรรม ประติมากรรม มีเพียงบางส่วนเท่านั้น ที่แตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสม สิ่งแรกที่ควรพิจารณาก็คือ
1. ความกลมกลืนกัน (Unity) ลักษณะความกลมกลืนกันภายในสวนขึ้นอยู่กับลักษณะของพื้นที่ของสวน , อาคารสถานที่และต้นไม้ที่ใช้ปลูก ลักษณะของพื้นที่ของสวนได้แก่ รูปแบบของพื้นที่ทั่วไปในสวน เช่น เป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมรูปแบบต่าง ๆ นับเป็นสิ่งสำคัญใน การกำหนดลักษณะ ของสวนได้ ส่วนอาคารสถานที่ก็มีรูปแบบต่างกันออกไป เช่น อาคารในยุคสมัยก่อน , ใหม่ ฯลฯ ต้นไม้ที่ใช้ปลูก ก็เลือกให้ถูกชนิด ตามความเหมาะสม กับลักษณะพื้นที่ และตัวอาคาร จำต้องเลือกวัสดุที่มีอยู่มากให้เข้ากันได้หรือกลมกลืนกันกับลักษณะของสวน รวมทั้งเข้ากับ พรรณไม้ต่าง ๆ ด้วย
2. รูปแบบของสวน (Styles) เดิมทีเดียวการจัดสวนมีอยู่ 2 แบบ คือ
- ก. แบบ Formal Style คือ การจัดสวนที่อยู่อาศัยรูปทรงเรขาคณิตเป็นหลัก เช่น จัดรูปร่างของพื้นที่ต้นไม้ เป็นรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ทรงกระบอกและอื่น ๆ รวมทั้งนิยมจัดให้มีความสมดุลย์กันทั้งด้านซ้ายและขวา ซึ่งต้องเหมือนกันและเท่ากันทุกอย่าง
- ข. แบบ Informal Style คือการจัดสวนที่ไม่อาศัยรูปทรงเรขาคณิตเป็นหลัก แต่อาศัยหลักสมดุลย์ในการจัดวาง หรือจังหวะให้พอดีกันโดยไม่จำเป็นต้องมี 2 ข้างเท่ากันได้ นิยมใช้ เส้นโค้งมากกว่าเส้นตรง สามเหลี่ยมหรือสี่เหลี่ยม หรือแม้แต่รูปทรงของต้นไม้ก็ปล่อยให้เป็นรูปทรงอิสระ ไม่ตัดแต่งจนเสียรูปทรงตามธรรมชาติแต่อย่างใด
3. เวลา (Time) ระยะเวลาเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้การออกแบบจัดสวน แตกต่างกับศิลปด้านอื่น ๆ เพราะงานศิลปทางด้านจิตรกรรมหรือปฏิมากรรม เมื่อทำตามรูปแบบที่วางไว้แล้วก็เป็นอันว่าเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งจะนำไปโชว์หรือประดับที่ใดได้ทันที แต่ศิลปทางด้าน การจัดสวน อาจใช้เวลานับสิบปีเพื่อการตัดแต่ง หรือรอคอยให้ต้นไม้มีรูปร่างที่สมบูรณ์แบบตามที่ผู้ออกแบบได้คิดภาพไว้
ดังนั้นงานด้านจัดสวน ไม่ใช่เฉพาะช่างฝีมือก็ทำได้ทุกคน มีเฉพาะบางคนที่เป็นศิลปินพอสมควร คือ สามารถมีจินตนาการถึง ภาพและตำแหน่งของต้นไม้ต่าง ๆ ภายในสวนที่สมบูรณ์งดงามแล้วได้
4. สัดส่วน (Scale) การจัดสัดส่วนในการจัดสวนให้ได้จังหวะที่ดีและสวยงามนั้นมีองค์ประกอบอยู่ 3 อย่างเพื่อให้เกิดสัดส่วนที่ดีและน่าสนใจดังนี้ สัดส่วนในการจัดสวนเปรียบเหมือนกับการจัดตกแต่งภายใน บ้าน โดยถือว่าสวนเป็นห้อง 1 ห้องทุกครั้งที่จัดโดยมีองค์ประกอบดังนี้
- เพดานของห้อง หรือแปลนบน (Overhead Plane) ได้แก่ท้องฟ้า , เรือนยอดของต้นไม้ , หลังคา , ชายคา , เรือนระแนง
- ผนังของห้องหรือแปลนตั้ง (Vertical space divider) ได้แก่ ผนัง , รั้ว , ต้นไม้ , พุ่มไม้
- พื้นห้อง หรือแปลน (Base Plane) ได้แก่ ทราย , น้ำ , ดิน
5. การแบ่งพื้นที่ที่จัดสวน ( Space division ) รูปแบบของการจัดสวนมีผลเนื่องมาจากกการแบ่งสัดส่วนกันระหว่างที่โล่ง กับที่ทึบ ซึ่งแล้วแต่ว่าจะจัดให้มีสิ่งใดมากน้อยกว่ากัน ซึ่งเป็นข้อเตือนใจที่ดีสำหรับนักจัดสวนว่าสมควรจัดให้มีทั้งที่โล่งและที่ทึบประกอบกันไปอย่าให้มีเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
6. เส้น (Line) เส้นเป็นตัวทำให้เกิดความหมายต่าง ๆ กันออกไป ในการจัดสวนแต่ละครั้งจำต้องมีการใช้เส้นหลายชนิด เพื่อนำมาประกอบเข้า ให้ได้ดัง จุดมุ่งหมายของผู้ออกแบบ ซึ่งแต่ละจุดมุ่งหมายที่ใช้เส้นต่างกันออกไป โดยทั่วไปแล้วเส้นให้ความรู้สึกดังนี้
เส้นที่ไปตามแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบ พักผ่อน
7. รูปร่าง (Form) เส้นให้ความรู้สึก ที่แตกต่างกันออกไป แต่เมื่อเรานำเอา เส้นมาประกอบเข้ากัน จะได้เป็นรูปร่างต่าง ๆ เช่น รูปร่างของทางเดินในสวน รูปร่างของสนามหญ้า เป็นต้น ส่วนความกลมกลืนกัน แต่ละรูปต่างต่างนั้น ผู้ออกแบบต้องเป็นผู้ใช้ความสามารถ จัดวางให้ทุกส่วนภายในสวน มีความสัมพันธ์กันเองโดยอาจจะคิดถึงเรื่องสัดส่วน , หรือ การแบ่งพื้นที่ หรือ สี เป็นต้น
8. ผิวสัมผัส (Texture)สิ่งสำคัญของผิวสัมผัส คือ ช่วยทำให้รูปแบบต่าง ๆ แลดูเด่นขึ้น ผิวสัมผัสก็แบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ ผิวสัมผัสที่หยาบ และละเอียด แต่งสวนบ้านสไตล์ไทยและจีน
9. สี (Color) สีช่วยให้ความสว่างไสวแก่สวน และให้ความหมายแตกต่างกันมากมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้สี ไม่ว่าจะเป็นสีของต้นไม้ ดอกไม้ ทางเดิน ผนัง เฟอร์นิเจอร์ หรืออื่น ๆ ก็ตามที ควรเรียนรู้และทราบถึงทฤษฎีพอสมควร จะช่วยให้เราสามารถจัดกลุ่มสีของสวนได้กลมกลืนและสวยมากขึ้น
10. หลักจิตวิทยาในการออกแบบ (Psychology of design ) การที่เราทราบถึงความต้องการหรือทราบถึงจิตใจส่วนใหญ่ของมนุษย์จะทำให้เราออกแบบได้ดีขึ้นโดยแรงจูงใจ ( Motivation ) เป็นแรงผลักดัน ช่วยกระตุ้นความคิดของมนุษย์ในอันที่จะก่อเกิดพฤติกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งใน กระบวนการการสื่อสารเมื่อผู้รับสารมีทัศนคติคล้อยตามก็จะแสดงออกทางพฤติกรรม การตรวจสอบว่าสื่อที่นำเสนอให้ผู้ชมหรือผู้รับสารนั้นมีแรงจูงใจให้ผู้รับ สารมีทัศนคติคล้อยตามมากน้อยเพียงใด จึงดูที่พฤติกรรมการแสดงออก เช่น การให้ความสนใจมากขึ้น หรืออาจจะกระทำตามข้อมูล สาระนั้นๆในการสร้างรูปแบบของงาน บ้าน