อาคารสงเคราะห์ ธอส.

อาคารสงเคราะห์ ธอส.
อาคารสงเคราะห์ ธอส.

อาคารสงเคราะห์ ธอส.

อาคารสงเคราะห์ ธอส. เชื่อในคำว่า “Good Result comes from Good Process..” ดังนั้น ธอส. จึงได้นำ เกณฑ์ TQA มาปรับปรุงกระบวนการทำงานขององค์กรทำให้ธนาคารเกิดความเข้มแข็งและมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่เป็นระบบในทุกระดับโดยมุ่งเน้น
ประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำ คัญ หลังจากที่ ธอส. ได้รับรางวัล TQA ครั้งนี้แล้ว

สิ่งที่จะการันตีได้ว่าองค์กรจะยังคงความเป็นเลิศในการ
บริหารจัดการหน่วยงานที่มีความทัดเทียมระดับมาตรฐานโลกเพื่อให้ธนาคารสามารถเติบโตต่อไปได้อย่างยั่งยืน คือบุคลากรของธนาคารทั้งองค์กรกว่า 5,000 คน ต้องเข้าใจในบริบทขององค์กรเป็นอย่างดีว่าเราทุกคนมีหน้าที่“ทำ ให้คนไทยมี บ้าน” ตามพันธกิจของธนาคารและเดินหน้าไปสู่การเป็น “ธนาคารที่ดีที่สุดสำ หรับการมีบ้าน” ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์ของธนาคารร่วมกันต่อไป

ความเป็นมาธนาคาร อาคารสงเคราะห์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อย่อ ธอส. (Government Housing Bank) Phuket Villas เป็นหนึ่งในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง ในปัจจุบันมีการทรวงการคลังถือหุ้นเกือบทั้งหมด ก่อตั้งขึ้นวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2496 ทำหน้าที่ช่วยเหลือประชาชนด้านการเงิน เพื่อให้มีที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่สมควร โดยการให้กู้ยืมเงิน และการจัดสรรที่ดินเพื่อก่อสร้างที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ประกอบธุรกิจในการส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถลงทุนเกี่ยวกับการสร้างอาคาร และที่ดินโดยตรงทำหน้าที่สื่อกลางในการนำเงินไปใช้ประโยชน์ ใน กิจการเคหะ และเป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินธุรกิจ

ด้วยความร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐบาล ที่มีการสนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่เป็นของตนเอง อาทิ มอบสินเชื่อกับผู้ที่ซื้อ บ้าน กับการเคหะแห่งชาติ , สินเชื่อกับผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม , ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้สมาชิกกู้เงินเพื่ออสังหาริมทรัพย์ ตลอดจนความช่วยเหลือด้านการสร้างที่อยู่อาศัยปัจจุบันธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีจุดบริการทั่วประเทศไทย จำนวนถึง 147 จุด แบ่งเป็นสาขาหลัก 77 สาขา และสาขาย่อย 15 สาขา นอกจากนี้ยังมีหน่วยบริการสินเชื่อจำนวน 16 แห่ง ศูนย์ OSS จำนวน 26 ศูนย์ และเคาน์เตอร์การเงิน จำนวน 15 แห่ง

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ได้รับโอนลูกหนี้และสินทรัพย์จากองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นอดีตรัฐวิสาหกิจของไทย เข้ามารวมไว้ด้วยกัน ในปี พ.ศ. 2542 มีการประมูลสินทรัพย์จากทางธนาคาร อาทิ บ้าน , อพาร์ทเม้นท์ , คอนโด ห้องชุด , บ้านจัดสรร หรือที่ดิน จากการยึดจากลูกหนี้ของธนาคารที่ไม่สามารถผ่อนชำระได้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์จึงมีการนำมาขายทอดตลาดในราคาถูกกว่า และมีการจัดงานยที่ช่วยส่งเสริมการขาย พร้อมโปรโมชั่นมากมาย วิธีคำนวณดอกเบี้ย MRR และ MLR

ลักษณะองค์กร

“บ้าน” ถือเป็นหนึ่งในสี่ปัจจัยพื้นฐานของคน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) จึงถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติธนาคาร
อาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ด้วยเจตนารมณ์ “เพื่อช่วยเหลือทางการเงินให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยตามควรแก่อัตภาพ”
ตลอดระยะเวลา 66 ปีที่ผ่านมา ธอส. มุ่งมั่นดำเนินงานตอบสนองต่อเจตนารมณ์เพื่อสร้างความสุขและความมั่นคงในชีวิต
ด้วยการ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” เป็นของตนเองมาแล้วกว่า 3.7 ล้านครอบครัว และยังคงยึดมั่นไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เพียงสานฝัน
ให้คนไทยมีบ้าน บ้านเดี่ยว ธอส. ยังคงดำเนินธุรกิจการเงินการธนาคารอย่างเข้มแข็งครบวงจร เป็นกลไกสำคัญของรัฐบาลในการลดความ
เหลื่อมล้ำและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างยั่งยืน ด้วยพันธกิจที่มุ่งมั่นเพื่อ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” ธอส. ใช้ GHB
Drive Engineำ เพื่อขับเคลื่อนหน่วยงานด้วยกลไก 3 ด้าน ได้แก่ 1) Social Solution 2) Business Solution 3) Management Solution ซึ่ง ธอส. ใช้เกณฑ์ TQA เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการองค์กรสู่ความเป็นเลิศ เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์การเป็น “ธนาคารที่ดีที่สุด สำหรับการมี บ้าน บ้าน ” และสร้างความแข็งแกร่งให้กับธนาคารโดยมีค่านิยมองค์กร คือ “GIVE” (Good Governance “ยึดมั่นในธรรมาภิบาล”, Innovative Thoughts “สร้างสรรค์สิ่งใหม่”, Value Teamwork “ร่วมใจทำงาน”, Excellent Services “บริการเป็นเลิศ”)

ผลิตภัณฑ์และบริการหลัก

  • ผลิตภัณฑ์สินเชื่อของที่อยู่ ประกอบด้วย Social Product สําหรับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางรวมถึงข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และ Business Product สำหรับผู้มีรายได้ปานกลางถึงสูง
  • ผลิตภัณฑ์เงินฝากที่จำแนกตามวงเงินฝากลูกค้าประกอบด้วย วงเงินฝากน้อยกว่า 10 ล้านบาท (Size S) วงเงินฝากตั้งแต่ 10 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1,000 ล้านบาท (Size M) และวงเงินฝากตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (Size L) ผ่านกลไกการส่งมอบที่สำคัญ ได้แก่ บุคลากรธนาคาร ตัวแทนธนาคารและช่องทาง Digital

ธอส. มีจำนวนบุคลากร 4,903 คน มีศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก (DC) แยกออกจากอาคารสำนักงานใหญ่ ที่มีความปลอดภัยตาม
มาตรฐานสากล EN1047-2 และมีศูนย์คอมพิวเตอร์สำรอง (DRC) เพื่อรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน รวมถึง ธอส. มุ่งพัฒนาคุณภาพการ
ดำเนินงานโดยปรับปรุงผลการดำเนินงานในทุกๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง โดยมีองค์ประกอบสำคัญของระบบการปรับปรุงผลการดำเนินการ คือ

  • การวางรากฐานการปรับปรุงผลการดำเนินงานในมิติ Compliance, Risk Management และ Information Technology
  • การขยายผลองค์ความรู้เพื่อการต่อยอดและเติบโต (Growth) โดยใช้ 4Learn เพื่อสร้างให้เกิดการเรียนรู้การแบ่งปันความรู้ การสร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญ (CoP) การทำ Knowledge Transfer เพื่อถ่ายทอดความรู้จากผู้รู้ไปยังผู้ที่ต้องการความรู้ และใช้ Benchmarking ในการวัดและเปรียบเทียบผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนาองค์กร
  • เพิ่มประสิทธิผลและยกระดับมาตรฐานการทำงาน (Efficiency) โดยใช้ QC Story แก้ไขปัญหาและปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น จากการส่งเสริมให้พนักงานใช้เครื่องมือปรับปรุงผลการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เกิดการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่สร้างคุณค่าแก่ลูกค้า และบรรลุเป้าหมายองค์กรที่กำหนด

สิ่งสำคัญที่มีผลต่อวิธีการดำเนินงาน ด้วยทิศทางองค์กรที่ชัดเจนนำไปสู่การกำหนด 3 ภารกิจหลัก

  • Technology for Digital Services ยกระดับการบริการรูปแบบดิจิทัลด้วยเทคโนโลยี
  • Sustainability Portfolio ผลประกอบการในทุกด้านมีความมั่นคงและยั่งยืน
  • Strategic HRD&HRM&CG การบริหารและพัฒนาบุคลากร รวมถึงการกำกับดูแลกิจการที่ดีด้วยกลยุทธ์

ความท้าทายสำคัญที่องค์กรเผชิญ การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่ส่งผลต่อสถานการณ์การแข่งขันและโอกาสสร้างนวัตกรรม

  • เทคโนโลยีทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงส่งผลให้พฤติกรรมลูกค้าเปลี่ยนแปลงจากเดิมสู่การไม่ใช้เงินสดในการทำธุรกรรมทางการเงิน ประกอบกับนโยบายรัฐและยุทธศาสตร์ชาติที่ส่งเสริมสังคมไร้เงินสด ธนาคารจึงจัดทำโครงการ Payment Gateway เพื่อพัฒนาช่องทางรับชำระเงินกู้ในรูปแบบ Digital เช่น เครื่อง LRM และ GHB ALL Mobile Application เป็นต้น รวมถึงพัฒนา ผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายและปรับปรุงบริการให้รวดเร็วยิ่งขึ้น HOME IN PHUKET
  • นโยบายที่อยู่อาศัยภาครัฐที่ต้องการให้ “คนไทยทุกคนมีที่อยู่อาศัยถ้วนทั่วและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในปี 2579” ซึ่งเอื้อต่อการดำเนินงานตามพันธกิจและขยายฐานลูกค้าสินเชื่อของธนาคารทำให้ ธอส. มีนวัตกรรมสินเชื่อและบริการใหม่ๆ