ห้องครัวแบบไทย
ห้องครัวแบบไทย ครัวไทย เป็นแบบครัวที่เหมาะกับการปรุงอาหาร ของ บ้าน เรามาก ๆ องค์ประกอบต่าง ๆ ภายในครัวแบบไทย ๆ ล้วนเป็นผลมาจาก ขั้นตอนของการประกอบอาหารทั้งสิ้น เพราะงานครัวค่อนข้างเป็นงานที่สมบุก สมบัน จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องของความสะอาด และการระบายอากาศที่ดี Phuket Villas
บางบ้านอาจออกแบบ ห้องครัว ในลักษณะครัวเปิดที่จัดไว้รวมกับห้องโถงกลาง ในที่เวลาทำอาหารอาจส่งผลให้กลิ่นและควันรบกวนภายในบ้านได้ แถมมุมทำครัวที่ไม่สะอาดก็ถือเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรคชั้นดี ซึ่งถ้าปล่อยให้เชื่อโรคสะสมอยู่ภายในบ้านอาจส่งผลต่อร่างกายของเราได้ฉะนั้น ไม่ใช่แค่การดูแลทำความสะอาดครัวเท่านั้นที่สำคัญ แต่การออกแบบห้องครัวให้เหมาะสมกับการใช้งานก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน
คำถามยอดฮิต เกี่ยวกับห้องครัว
แม้ห้องครัวจะถูกจัดวางไว้หลังบ้านให้ดูมิดชิดเสมอ แต่ห้องนี้ก็ยังเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญของบ้าน หากใครกำลังคิดสร้างหรือต่อเติมห้องครัวเองมาดูข้อพิจารณาในการออกแบบครัวแบบง่ายๆที่หลายคนมักสงสัยกัน เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้งานอย่างสะดวก
- จัดครัวไว้ตรงไหนของบ้านดี
ห้องครัวควรอยู่ใกล้หรือติดห้องอาหาร และอยู่ด้านทิศตะวันตกหรือทิศใต้ ซึ่งมีแสงแดดช่วยไล่ความอับชื้น อีกทั้งควรอยู่ใต้ลมหรือด้านที่ลมจะไม่พัดกลิ่นอาหารเข้าบ้าน แต่ถ้าพื้นที่จำกัดอย่างทาวน์เฮ้าส์หรือตึกแถว ก็ทำประตูปิดให้เป็นสัดส่วน การใช้เครื่องดูดควันและหลังคาโปร่งแสงก็ช่วยได้ โครงการภูวิลล่า ภูเก็ต
- ซิงค์ เตาไฟ ตู้เย็น ไว้ตรงไหน
การจัดวางชุดครัวที่ดี ควรจัดวางตามลำดับการใช้งาน ให้เป็นรูปสามเหลี่ยมหรือเส้นตรงเพื่อความสะดวก คือ
- ส่วนเตรียมอาหาร คือ ตู้เย็นและเคาน์เตอร์ด้านข้างเพื่อวางของที่หยิบออกมาจากตู้เย็น
- ส่วนล้าง คือ อ่างล้างจาน ล้างผักผลไม้
- ส่วนปรุงอาหาร คือ เตาไฟ เตาอบ (อย่าลืมใส่หน้ากากกันแมลงที่ปลายท่อ)
- เคาน์เตอร์สูงเท่าไร จึงไม่เมื่อยหลัง
ความสูงของเคาน์เตอร์ที่เหมาะกับคนไทยคือ 85 – 87 เซนติเมตร หากต่ำหรือสูงกว่านี้อาจเกิดอาการปวดหลังจากการก้มๆ ได้ ถ้าเป็นคนตัวสูงก็ใช้ขนาดเดียวกับฝรั่งคือ 90 – 93 เซนติเมตร แต่ถ้าเป็นคนตัวเล็กทั้งบ้าน ก็ต้องหาระยะที่เหมาะสมเป็นกรณีไป
- ครัวไทย ครัวฝรั่งคืออะไร
รูปแบบครัวที่นิยมทำในบ้านเราคือ ครัวอาหารไทยและครัวอาหารยุโรปหรือมักเรียกกันว่าครัวฝรั่ง ซึ่งมีความแตกต่างกันคือ
ครัวไทย คือ ครัวที่ใช้ทำอาหารหนักอย่างการต้ม แกง ผัด ทอด อาหารไทยจะมีกลิ่นค่อนข้างแรง จึงควรกั้นสัดส่วนชัดเจน มีประตูปิดไม่ให้กลิ่นเข้าบ้าน อาจเป็นครัวแบบโล่งหรือใช้เครื่องดูดควัน ช่วยระบายกลิ่น ครัวแบบไทย
ครัวฝรั่งหรือแพนทรี่ เป็นส่วนเตรียมอาหารเพื่อเสิร์ฟ และใช้ทำอาหารเบาๆ อย่างอุ่นกับข้าว ปิ้งขนมปัง ชงกาแฟ ซึ่งไม่มีกลิ่นฉุน จึงนิยมจัดไว้ในห้องอาหาร พร้อมทั้งทำเป็นเคาน์เตอร์สำหรับนั่งกินอาหารแบบง่ายๆ ได้ด้วย
- ใช้วัสดุอะไร ทำครัวดีล่ะ
ควรเลือกวัสดุที่ทนทานและทำความสะอาดง่าย โดยสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภทตามการใช้งาน คือ
- วัสดุตกแต่ง ได้แก่ กระจกแผ่นลามิเนตลายต่างๆ ไม้จริงและไม้อัดทาสี เหมาะสำหรับส่วนที่ต้องการความสวยงาม ใช้งานไม่หนักและไม่เปียกชื้น เช่น หน้าบานตู้ ด้านข้างเคาน์เตอร์ ชั้นวางของ และผนังทั่วไป
- วัสดุสำหรับใช้งาน ได้แก่ สเตนเลส หินแกรนิต กระเบื้องเซรามิก หินสังเคราะห์ (เรียงลำดับตามความทนทานจากมากไปน้อย) เหมาะสำหรับส่วนที่ต้องรับแรงกระแทกจากการใช้งานเปียกชื้น โดนความร้อนและขัดถูบ่อย เช่น ท็อปเคาน์เตอร์ผนังที่ติดกับเตาไฟ ซิงค์ล้างจานและพื้นห้อง
- งานระบบที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง
งานระบบเป็นเหมือนพลังงานหล่อเลี้ยงห้องครัวให้ใช้งานได้ ซึ่งมีข้อควรคำนึงในการเตรียมดังนี้
ไฟฟ้า
– ควรแยกวงจรไฟฟ้าของห้องครัวออกจากของบ้าน เผื่อเวลาไม่อยู่ บ้าน แล้วจะปิดคัตเอ๊าต์ทั้งบ้านก็ทำได้ โดยไ ม่ต้องกลัวว่าของในตู้เย็นจะเน่าเสีย
– ควรซื้อหรือศึกษาขนาดและการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวตั้งแต่ระหว่างก่อสร้าง โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่จะฝังเข้าในตู้บิลท์อินอย่างตู้เย็น ไมโครเวฟ เครื่องดูดควัน เตาไฟฟ้า เพื่อจะได้ทราบขนาดและตำแหน่งติดตั้งปลั๊กและสวิตช์ไฟ
– ติดปลั๊กไฟให้สูงจากพื้นอย่างน้อย 25 เซนติเมตร และจากท็อปเคาน์เตอร์ 10 เซนติเมตร เพื่อความปลอดภัยในการเช็ดทำความสะอาดและป้องกันไฟฟ้าช็อต อีกทั้งติดตั้งสายดินและเลือกใช้ปลั๊กที่มี 3 รู เพราะเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายรุ่นจะผลิตเป็นปลั๊กสามขาสำหรับสายดินไว้ด้วย
ประปา
– หากต้องใช้ปั๊มน้ำ ห้ามต่อปั๊มน้ำกับท่อน้ำโดยตรง เพราะผิดกฎหมายและอาจทำให้ท่อแตกได้ ต้องต่อท่อจากมิเตอร์เข้าถังเก็บน้ำแล้วจึงต่อกับปั๊ม โดยเลือกขนาดถังจากจำนวนคนในบ้าน บ้านสองชั้น คือ ขนาดถัง = จำนวนคน x 200 ลิตร
– ติดวาล์วน้ำให้กับท่อที่ต่อเข้าอุปกรณ์ต่างๆ อย่างเครื่องล้างจาน เครื่องซักผ้า ซึ่งอาจนำออกมาซ่อมแซมก็ทำให้ส่วนอื่นๆ home ของบ้านยังคงใช้น้ำได้ตามปกติ
– อย่าลืมเผื่อพื้นที่วางถังดักไขมันโดยควรวางไว้ใต้อ่างล้างจานหรือนอกบ้านก็ได้ แต่ต้องสะดวกในการดูแลทิ้งเศษอาหารและไขมัน
ดูแลห้องครัวให้สะอาดและปลอดภัยอยู่เสมอ
สำหรับหลายๆ บ้าน ห้องครัวคงเป็นมุมหนึ่งของบ้านที่ยุ่งวุ่นวายมากที่สุด ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ห้องครัวจะเป็นบริเวณที่รกและเลอะเทอะที่สุดภายในบ้าน เพื่อดูแลให้ห้องครัวของคุณเป็นสถานที่ที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ และน่าใช้งานอยู่เสมอ การหมั่นทำความสะอาดเป็นประจำเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการและป้องกันคราบสกปรกอย่างได้ผล เพียงจัดการงานเล็กงานน้อยภายในห้องครัวอย่างสม่ำเสมอทุกๆ วัน ห้องครัวของคุณเป็นระเบียบและสามารถทำความสะอาดได้ง่ายยิ่งขึ้น
- หมั่นนำขยะไปทิ้งเพื่อรักษาความสะอาดของห้องครัวและป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย. หากคุณไม่ยอมนำขยะไปทิ้งจนกระทั่งขยะเต็มถัง กลิ่นเหม็นจากถังขยะอาจตลบอบอวลไปทั่วทั้งห้องครัวโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับถังขยะที่ไม่มีฝาปิด ดังนั้นคุณจึงควรหมั่นนำขยะไปทิ้งในช่วงเย็นของทุกวันเพื่อให้ห้องครัวของคุณมีกลิ่นหอมสดชื่นและป้องกันไม่ให้อาหารที่ทิ้งในถังขยะเริ่มเน่าเสียจนมีหนอนหรือแมลงหวี่เข้ามาสร้างความรบกวนได้ อย่าลืมทำความสะอาดถังขยะบ้าง โดยนำถังขยะเปล่าออกมาตั้งไว้ข้างนอกและฉีดสเปรย์ฆ่าเชื้อให้ทั่ว จากนั้นสวมถุงมือให้เรียบร้อยและลงมือขัดทั้งด้านในและด้านนอกของตัวถังก่อนล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำเปล่า HOME IN PHUKET
- ใช้ผ้าเช็ดคราบของเหลวที่หกทันทีเพื่อไม่ให้เกิดคราบฝังแน่นหรือกลายเป็นคราบเหนียว. วางกระดาษอเนกประสงค์ไว้บนโต๊ะเคาน์เตอร์หรือเก็บผ้าเช็ดอเนกประสงค์ไว้ในลิ้นชักให้พร้อมสำหรับหยิบมาเช็ดคราบของเหลวที่หกได้ทันที ซับคราบของเหลวที่หกด้วยกระดาษอเนกประสงค์ก่อนใช้ผ้าจุ่มลงไปในน้ำสบู่อุ่นๆ และนำไปเช็ดให้ทั่วพื้นผิวโต๊ะเคาน์เตอร์เพื่อขจัดคราบเหนียวหรือคราบมันให้หลุดออก
- ใช้เวลาสักเล็กน้อยเก็บล้างภาชนะให้เรียบร้อยเพื่อให้ห้องครัวสะอาดยิ่งขึ้น. เชื่อว่าหลายๆ คนคงรู้สึกเบื่อหน่ายกับการเก็บล้างภาชนะหลังมื้ออาหาร อย่างไรก็ตาม หากคุณปล่อยจานชามที่ใช้แล้วทิ้งไว้จนสุมเป็นกองพะเนิน คุณจะต้องใช้เวลามากขึ้นในการลงมือเก็บล้างทั้งยังสูญเสียพื้นที่สะอาดสำหรับเตรียมอาหารในครั้งต่อไป ดังนั้นคุณจึงควรเก็บโต๊ะอาหาร เก็บล้างภาชนะ และเช็ดโต๊ะเคาน์เตอร์ให้เรียบร้อยทุกครั้งหลังทานอาหารเสร็จ หากคุณอาศัยร่วมกับคนอื่น ลองขอให้สมาชิกใน บ้านหรู ช่วยกันคนละไม้คนละมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณเป็นคนทำอาหาร ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจฝึกให้เด็กๆ ช่วยลำเลียงภาชนะใส่เครื่องล้างจานหรือวานให้เพื่อนร่วมห้องนำขยะออกไปทิ้งข้างนอก หากห้องครัวของคุณมีเครื่องล้างจาน หมั่นลำเลียงภาชนะใส่เครื่องล้างจานและเปิดเดินเครื่องเป็นประจำทุกวัน รวมทั้งนำภาชนะออกจากเครื่องทันทีที่ภาชนะเย็นลงจนพอจับได้เพื่อเตรียมพื้นที่ให้พร้อมสำหรับใส่ภาชนะที่ใช้แล้วลงในเครื่องครั้งต่อไป
- โต๊ะเคาน์เตอร์ที่วางข้าวของระเกะระกะทำให้เสียพื้นที่เตรียมอาหารและก่อให้เกิดอันตรายได้. เมื่อมีข้าวของต่างๆ ทั้งจาน หม้อ มีดวางสุมไว้เต็มโต๊ะเคาน์เตอร์ พื้นที่เตรียมอาหารของคุณก็จะน้อยลงและข้าวของอาจโค่นล้มลงมาจนก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นคุณจึงควรเก็บข้าวของบนโต๊ะเคาน์เตอร์ให้เข้าที่ทุกครั้งหลังทำอาหารเสร็จ จากนั้นใช้ผ้าชุบน้ำสบู่ร้อนๆ หรือน้ำยาทำความสะอาดห้องครัวอเนกประสงค์ที่มีส่วนประกอบของสารฟอกขาวเช็ดให้ทั่วพื้นผิวโต๊ะเคาน์เตอร์ หากไม่ชอบเก็บเศษอาหารที่ตกหล่นโดยใช้ผ้าชุบน้ำ คุณสามารถเลือกใช้ไม้กวาดและที่โกยผงเล็กๆ หรือเครื่องดูดฝุ่นขนาดเล็กแทนได้เช่นกันซึ่งสะดวกเป็นอย่างยิ่งสำหรับการทำความสะอาดบริเวณรอบๆ เครื่องปิ้งขนมปัง เก็บอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าชิ้นใหญ่ไว้ในตู้ครัวหรือตู้กับข้าวแทนเพื่อไม่ต้องวางกินพื้นที่บนโต๊ะเคาน์เตอร์
- ทำความสะอาดอ่างล้างจานและก๊อกน้ำทุกวันเพื่อขจัดเชื้อแบคทีเรีย. รู้หรือไม่ว่าอ่างล้างจานทั่วไปมีเชื้อแบคทีเรียสะสมอยู่มากกว่าถังขยะเสียอีก คุณสามารถทำความสะอาดอ่างล้างจานได้โดยใช้น้ำสบู่ร้อนๆ ล้างให้ทั่วอ่างล้างจานและก๊อกน้ำ หรือหากต้องการทำความสะอาดอย่างล้ำลึก ให้คุณเช็ดพื้นผิวอ่างล้างจานและก๊อกน้ำด้วยผ้าชุบน้ำยาฟอกขาวเจือจางสักสัปดาห์ละครั้งเพื่อดูแลให้ห้องครัวของคุณปราศจากเชื้อโรคอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณทำอาหารอยู่บ่อยครั้ง คุณสามารถทำน้ำยาฟอกขาวเจือจางได้โดยผสมน้ำยาฟอกขาว 1 ช้อนโต๊ะ (15 มล.) เข้ากับน้ำเปล่า 4 ถ้วย (1 ลิตร) หากห้องครัวของคุณมีเครื่องกำจัดขยะ อย่าลืมทำความสะอาดสักสัปดาห์ละครั้งด้วยเช่นกัน เริ่มจากปิดเครื่องและเติมน้ำแข็ง 6 ก้อนลงไปพร้อมกับเบคกิ้งโซดา 1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม) เลมอนฝานบางๆ 3 ชิ้น และน้ำยาฟอกขาว 1 ช้อนชา (5 มล.) จากนั้นเติมน้ำแข็งตามลงไปอีก 6 ก้อนก่อนกดปุ่มเปิดให้เครื่องเริ่มทำงานโดยไม่ต้องปล่อยน้ำเข้าเครื่อง รอจนกระทั่งเสียงบดหยุดลงจึงเปิดน้ำให้ไหลเข้าเครื่องสัก 30 วินาทีโดยปล่อยให้เครื่องทำงานต่อไป
- เปลี่ยนผ้าเช็ดจานผืนใหม่และนำฟองน้ำล้างจานลงไปต้มสัก 5 นาทีเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย. จำไว้ว่าผ้าเช็ดจานและฟองน้ำล้างจานที่ผ่านการใช้งานตลอดทั้งวันเป็นแหล่งสะสมชั้นดีของเชื้อแบคทีเรีย หากเป็นไปได้คุณจึงควรเปลี่ยนผ้าผืนใหม่เป็นประจำทุกวันและนำฟองน้ำลงไปต้มในหม้อสัก 5 นาทีเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรีย คุณสามารถนำฟองน้ำล้างจานที่เปียกเข้าไมโครเวฟและอุ่นด้วยไฟแรงนาน 1 นาทีเพื่อฆ่าเชื้อโรค แต่พึงระวังไว้ว่าฟองน้ำของคุณอาจเกิดการลุกไหม้ได้หากไมโครเวฟมีกำลังไฟที่สูง
- แยกเขียงที่ใช้หั่นเนื้อสัตว์และล้างมือให้สะอาดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค. การปนเปื้อนข้ามเกิดจากการแพร่กระจายของเชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียในอาหารหรือบนพื้นผิวจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจเผลอทำเชื้อโรคจากเนื้อสัตว์ดิบปนเปื้อนลงสู่ผักได้โดยไม่ตั้งใจหากคุณหั่นบนเขียงอันเดียวกันโดยที่ไม่ล้างให้สะอาด ดังนั้นเพื่อให้ห้องครัวของคุณเป็นสถานที่ที่ปลอดเชื้อโรค ให้คุณแยกเขียงที่ใช้สำหรับการหั่นเนื้อสัตว์หรืออาหารทะเลและอย่าลืมล้างมือ มีด และเขียงให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสเนื้อสัตว์ดิบ
- กวาดฝุ่น เศษอาหาร และสิ่งสกปรกที่ตกอยู่ตามพื้นห้องครัวออกไป. หากมีสมาชิกใน บ้าน ที่มักทานอาหารมูมมาม คุณอาจจำเป็นต้องกวาดพื้นทุกครั้งหลังทานอาหารแต่ละมื้อเสร็จ นอกจากนี้คุณควรหมั่นถูพื้นห้องครัวทุกๆ สัปดาห์ เริ่มจากเตรียมน้ำสบู่ร้อนๆ หรือน้ำยาถูพื้นใส่อ่างล้างจานหรือถังน้ำ จากนั้นใช้ไม้ม็อบจุ่มลงไปและบิดให้พอหมาดก่อนนำไปเช็ดพื้นห้องให้ทั่วทุกบริเวณคุณสามารถหาซื้อไม้ม็อบสำหรับเช็ดเฉพาะจุดได้ตามร้านเครื่องมือช่างหรือร้านของใช้ในบ้าน ซึ่งโดยทั่วไปจะมีขั้นตอนการใช้โดยนำผ้าเช็ดทำความสะอาดชนิดเปียกติดเข้ากับไม้ม็อบสำหรับเช็ดเฉพาะจุดโดยเฉพาะก่อนใช้เช็ดตรงจุดที่มีคราบเปื้อน รอให้พื้นแห้งสนิทก่อนเดินเข้าไปในห้องครัวเพื่อป้องกันการลื่นล้มหรือการทิ้งรอยเท้า
- นำอาหารเก่าในตู้เย็นออกมาทิ้งและเช็ดตามชั้นวางเพื่อฆ่าเชื้อโรค. ตู้เย็นเปรียบเสมือนม้างานของห้องครัวที่ทำงานไม่หยุดหย่อน ด้วยเหตุนี้คุณจึงควรดูแลรักษาตู้เย็นอย่างเหมาะสมเพื่อยืดอายุการใช้งาน เริ่มจากเอาอาหารทั้งหมดในตู้เย็นออกมาและเช็คดูว่ามีเชื้อราหรือหมดอายุแล้วหรือไม่และนำอาหารที่เน่าเสียแล้วทิ้งไป จากนั้นเช็ดชั้นวางทั้งหมดให้สะอาดด้วยน้ำสบู่ร้อนๆ ก่อนนำอาหารแช่ในตู้เย็นอีกครั้ง ทำขั้นตอนเดียวกันนี้กับช่องแช่แข็งด้วย
อ่านเพิ่มเติม ตกแต่งผนังห้อง