บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น ออกแนวโมเดิร์นๆหน่อยๆ ให้ความสวยที่ทันสมัย
บ้านสองชั้นสไตล์ญี่ปุ่น บ้าน 2 ชั้น คือ บ้านที่มีชั้นบนและชั้นล่าง เชื่อมต่อด้วยบันไดบ้าน โดยพื้นที่ชั้นบนและชั้นล่างมีอัตราส่วนเท่า ๆ กัน มีฟังก์ชั่นและห้องต่าง ๆ รองรับการอยู่อาศัย ตามการออกแบบแปลนทั้งชั้นบนและชั้นล่าง บ้านในประเทศญี่ปุ่น เป็นประเทศที่มีแนวคิด ทางสถาปัตยกรรมอันโดดเด่น และชวนให้รู้สึกเซอร์ไพรส์เสมอ ไม่เฉพาะบ้านใหม่เท่านั้น
แต่รวมถึงการตีความรูปแบบ บ้านที่เคยคุ้นกันอยู่แล้ว ให้ออกมาในรูปแบบใหม่ ๆ ที่ต่างออกไปเพื่อตอบโจทย์การใช้งาน ที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย และสอดคล้องกับบริบท ทั้งรูปฟอร์ม ฟังก์ชัน การรวมกันของวัสดุที่มี ความเป็นเอกลักษณ์ อย่างเช่นบ้านหลังนี้ที่เป็นบ้านสองชั้น แต่ไม่ใช่การแบ่งสัดส่วน ชั้นบนออกจากชั้นล่าง เหมือนบ้านทั่วไป เพราะบ้านจะค่อย ๆ ไต่ระดับขึ้น และทะลุถึงกันได้หมด บ้านเดี่ยว
Oku Tenjin’s house สร้างอยู่ในชุมชนได้รับ การพัฒนาให้เป็นย่าน ที่อยู่อาศัยตั้งแต่ปีพ.ศ. 2508 โดยบริเวณนี้จะมีลักษณะเป็นทางลาด ที่มีบ้านทั้งเก่า และใหม่ปะปนกันไป ล้อมรอบด้วยกำแพงกันดินที่สลับซับซ้อน อาคารหลายแห่งจึงมีลักษณะ เป็นกลุ่มของชิ้นส่วนอาคารเล็กๆ รวมเข้าด้วยกัน แทนที่จะเป็นที่อยู่อาศัยเพียงยูนิตเดียว
เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากพื้นที่จำกัด และเน้นเพิ่มพื้นที่ ด้านบนแทน บ้านนี้ก็พบกับข้อจำกัด เช่นเดียวกัน ทำให้แทนที่จะสร้าง บ้านสองชั้นหน้าตา เหมือนบ้านใกล้เคียงสถาปนิก กลับออกแบบแปลนให้เป็นก้อนเล็ก ๆ นำมาปะติดปะต่อกัน ไต่ระดับขึ้นเหมือนภูเขา ทำให้บ้านมีมุมมองในหลายระดับต่างๆ กัน
ด้วยขนาด รูปร่าง และลักษณะพื้นที่ ที่มีข้อจำกัดอย่างที่ว่ามา ดังนั้นสถาปนิกจึงทำการ จัดระเบียบชั้นล่างให้เปิดกว้างในแนวนอนแบบ open plan รวมพื้นที่นั่งเล่น ทานขhาว และครัวขนาดกะทัดรัดเข้าด้วยกันในพื้นที่เดียว แยกเฉพาะห้องที่จำเป็นเท่านั้น
สำหรับชั้นบนจะเป็นภาพของ การเปิดเชื่อมต่อในแนวตั้ง และใช้วิธีการทำบ้านแบบเล่นระดับ โดยมีบันไดเหล็กสีขาวเป็นตัวเชื่อมออกไป แตะฟังก์ชันที่อยู่ในระดับต่างๆ กันของบ้าน มองดูเหมือนต้นไม้ ที่แตกแขนงขยายกิ่ง ใบ ออกจากลำต้นแยก ออกไปในหลายทิศทาง phuket property
มีพื้นและเพดานแบ่งสัดส่วนอาคารชั้นบนและชั้นล่างออกจากกัน ทุกชั้น
ลืมรูปแบบบ้านสองชั้นเก่า ๆ ที่ต้องมีพื้นและเพดานแบ่ง สัดส่วนอาคารชั้นบน และชั้นล่างออกจากกัน ทุกชั้นมีฝ้าเดานปิดบัง โครงสร้างให้เรียบร้อย แต่ที่นี่สร้างภาพตความ ต่อเนื่องให้ทุกชั้นมองเห็น กันได้หมด จากพื้นไปถึงโครงสร้างหลังคา ดูเป็นบ้านที่เปิดเผยในส่วน ที่ไม่ซีเรียสกับการ ถูกมองเห็น แต่ในส่วนห้องที่ต้องการความ เป็นส่วนตัวก็มีผนังปิดมิดชิด จากสายตาบุคคลภายนอก
เมื่อแต่ละโซนของบ้าน ที่ใส่เข้ามาประกอบกันเป็น ก้อนอาคารเล็ก ๆ และมีส่วนที่ยื่นแยกออกไป หลังคาจึงต้องเหมาะสมกับตำแหน่งของกิ่ง และใบที่แตกแขนงนั้นด้วย เพื่อปกป้องฟังก์ชันของ บ้านจากแสงแดดลม และฝน สถาปนิกจึงดีไซน์เป็น หลังคาขนาดเล็กที่เชื่อมทั้งภายใน และภายนอกเข้ากับธรรมชาติผ่านชายคา และใส่ผนังกระจกคั่น ระหว่างหลังคาแต่ละชุด เพื่อดึงภูมิทัศน์ภายนอกให้เข้ากับ จังหวะของอาคารโดยรอบอย่างมีความต่อเนื่อง แบบไม่รู้สึกว่ามีอุปสรรคกั้นสายตา
บ้านที่มีส่วนประกอบหลัก ๆ เพียงไม่กี่อย่าง
อาทิ ไม้ บันไดเหล็กบางๆ สีขาว กระจกใส รวมตัวกันเป็นบ้านที่ เปิดโชว์ให้เห็นสภาพแวดล้อมภายใน ใส่ระดับการมองเห็นในรูปแบบที่ต่างจากบ้านทั่วไป ทำให้บ้านนี้มีความน่าสนใจในแบบที่ไม่มีใครเหมือน แต่ใช่ว่าจะมีแต่ความ แปลกแตกต่างเท่านั้น ในแง่ของฟังก์ชันใช้งาน ก็ตอบโจทย์เจ้าของบ้าน ได้อย่างน่าสนุก พร้อมๆ กับความสามารถในการต้าน ทานแผ่นดินไหว ซึ่งเป็นภัยพิบัติหลัก ๆ ของญี่ปุ่น
ข้อดีที่เห็นได้ชัด ของบ้านเล่นระดับ คือ สเปซภายในบ้านค่อย ๆ ไต่ขึ้นไป ทำให้ไม่รู้สึกว่า ระยะห่างระหว่างฟังก์ชันสูงมาก พื้นที่มีความยืดหยุ่น มีความต่อเนื่อง และดัดแปลงใช้งานได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการเปิดพื้นที่โล่งแบบชานบ้าน หรือเลือกปิดกั้นผนัง ให้พอมองเห็นกันได้บางส่วน หรือใส่ผนังกระจกใส สร้างขอบเขตให้เป็นสัดส่วนแบบที่ยัง มองเห็นกันได้ปรุโปร่ง ในเวลาที่ต้องการความเป็นส่วนตัว ก็ใช้ผ้าม่านปิด เป็นต้น ในข้อดีส่วนอื่นๆ ยังทำให้บ้านมีพื้นที่ว่าง ระหว่างชั้นให้อากาศ และแสงเดินทางภายใน บ้านจึงโปร่งไม่อึดอัด บ้านแฝด
จุดเด่นจุดด้อยของบ้านแต่ละประเภท
หลายคนอาจเคยสงสัย เรื่องประเภทของแบบบ้าน ที่ถูกจัดหมวดหมู่ตามลักษณะ ทางกายภาพ ว่ามีกี่ประเภทซึ่งโดยทัวไปที่จะพบกันก็จะประกอบไปด้วย แบบบ้านชั้นเดียว แบบบ้านสองชั้น แบบบ้านชั้นครึ่ง แบบบ้านสามชั้น (อาจมี แบบบ้าน 4 ชั้น แต่พบเห็นได้น้อยมาก) สำหรับแบบบ้านชั้นเดียวก็จะเป็นบ้านที่มีลักษณะทางกายภาพใน ด้านความสูงที่จะมีระยะ ต่ำที่สุดในบรรดาบ้านทุกประเภทนั้น คือหากเป็นบ้านที่ไม่ได้เป็นลักษณะยกพื้น ความสูงก็จะอยู่ที่ประมาณ (รวมหลังคา)
ซึ่งจุดเด่นของ แบบบ้านชั้นเดียว นั้นก็คือการที่มีพื้นที่ภายในบ้าน ทั้งหมดอยู่ในระนาบเดียวกัน ทั้งหมดจะให้ความสะดวกในด้านการอยู่ อาศัยโดยเฉพาะผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตามจุดด้อยของ บ้านประเภทนี้ก็น่าจะอยู่ที่ความต้องการพื้นที่ดินที่มากกว่า บ้านลักษณะอื่นๆ นอกจากนั้นหากเปรียบเทียบใน ขนาดพื้นที่เดียวกัน อาจมีราคาก่อสร้างสูงกว่าบ้านประเภท อื่นอันเนื่องมาจากจำนวนของเสา และฐานรากที่มา่กขึ้นตาม โดยเฉพาะบ้านที่ต้องอาศัยเสาเข็ม
จากประเด็นจุดด้อยของ บ้านชั้นเดียว ที่ได้กล่าวมานั้น จึงมีแบบ บ้านสองชั้น เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหา การปลูกบ้านบนที่ดินซึ่งค่อน ข้างมีขนาดเล็ก แต่ต้องการพื้นที่อยู่อาศัยที่มากขึ้น โดยบ้านสองชั้นนั้นหากมองในทางกายภาพ ก็จะหมายถึงบ้านที่ มีพื้นที่อยู่อาศัยด้านบน และด้านลล่างและเชื่อมต่อ ด้วยบันไดบ้านและพื้นที่ทั้งสองชั้น จะมีอัตราส่วนที่เท่าๆกัน
ซึ่งข้อได้เปรียบของบ้านลักษณะนี้ ก็จะเหมาะสำหรับเจ้าของ บ้านที่มีพื้นที่ดินไม่มาก อย่างไรก็ตามการก่อสร้างบ้านสองชั้นนั้นก็ต้อง อาศัยทักษะฝีมือในการก่อสร้างมากกว่าบ้านชั้นเดียว เนื่องจากมีระยะความสูงของเสาที่มากกว่า และมีการออกกแบบคานมากถึง 2 ชั้น เพื่อรับน้ำหนักพื้น นอกจากนั้นจุดเด่นที่ตามมาของการก่อสร้าง บ้านสองชั้นนั้นคือพื้นที่ อยู่อาศัยชั้นล่างจะค่อนข้าง เย็นสบายกว่าชั้นบน อันเนื่องมาจากการที่มีส่วนของชั้นบน เป็นพื้นที่ในการ ป้องกันความร้อน ที่จะลงมาสู่ชั้นล่างนั้นเอง
- บ้านชั้นเดียว = บ้านที่มีลักษณะทางกายภาพ ทางแนวระนาบ เพียงระดับเดียวทั้งหลัง
- บ้านสองชั้น = บ้านที่มีพื้นที่ต่างระดับในแนวดิ่ง 2 ระดับ ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง โดยพื้นที่ ชั้นบนและชั้นล่างมีอัตราส่วนเท่าๆกัน
ข้อดีของบ้าน 2 ชั้น
1.สร้างได้แม้ขนาดที่ดินจำกัด
หากมีที่ดินขนาดเล็กแต่ต้องการพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่มากพอ หรืออยู่อาศัยหลายคน ต้องการห้องนอนหลายห้อง บ้าน 2 ชั้นตอบโจทย์มากกว่า แม้ว่าบ้าน 2 ชั้น จะใช้งบประมาณก่อสร้างมากกว่าในการก่อสร้าง บนขนาดที่ดินเท่ากัน แต่ได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นอีกเป็นเท่าตัว
2.เหมาะกับครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่ ครอบครัวขนาดกลาง-ใหญ่ ที่อยู่อาศัยกันหลายคนในบ้านหลังเดียว การอยู่บ้าน 2 ชั้น สามารถแบ่งพื้นที่ใช้สอย แบ่งชั้นได้อย่างชัดเจน สามารถจัดสรรพื้นที่ใช้สอยหรือห้องต่าง ๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วน ต่อให้มีสมาชิกครอบครัวหลายคนก็ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด บ้านจัดสรร
3.แบ่งห้องได้เป็นสัดส่วน
บ้าน 2 ชั้น สามารถแบ่งสัดส่วนห้องต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานได้ดีและสะดวกกว่า เช่น ชั้นบนเป็นห้องนอน มีความเป็นส่วนตัว สบายใจ ไม่โดนรบกวนจากสมาชิกคนอื่น ๆ หรือห้องทำงานส่วนตัว ที่ต้องการความสงบและสมาธิ หรือถ้าหากมีเฟอร์นิเจอร์หรือข้าวของเครื่องใช้เยอะ ก็ยังสามารถแบ่งพื้นที่จัดเก็บได้ง่าย หรือเพิ่มห้องเก็บของอีกห้องก็ได้ เพราะมีพื้นที่เหลืออยู่เยอะ
4.ถ่ายเทความร้อนภายในบ้านได้ดี
ถ้าเปรียบเทียบกันแล้ว บ้าน 2 ชั้นจะถ่ายเทความร้อนภายในบ้านได้ดีกว่า พื้นที่อยู่อาศัยชั้นล่างจะค่อนข้างเย็นสบายกว่าชั้นบน เพราะมีในส่วนของชั้นบนที่ช่วยป้องกันความร้อนที่จะลงมาสู่ชั้นล่าง
5.ปลอดภัย
ด้วยความที่ตัวบ้านบ้าน 2 ชั้น ยกพื้นสูงมากกว่าบ้านชั้นเดียว หากมองในแง่ความปลอดภัยจากสัตว์เลื้อยคลาน แมลง และโจรผู้ร้าย ที่บ้าน 2 ชั้นสามารถป้องกันได้ดีกว่า แต่ทั้งนี้ก็ไม่สามารถรับประกันได้ 100% ยังคงต้องระมัดระวัง สร้างรั้วรอบขอบชิด และปิดบ้านให้เรียบร้อย