โครงการ “เราชนะ” เช็คสิทธิ ตรวจสอบสถานะ “เงินเยียวยา” ขยายเวลาลงทะเบียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มพิเศษ จากเดิม 26 มีนาคม เป็นวันที่ 9 เมษายน 2564 เช็ครายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่ มาตรการช่วยเหลือ เงินเยียวยา สำหรับผู้ได้รับ ผลกระทบ จากสถานการณ์โควิด-19 กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือ กลุ่ม ที่อยู่นอก ระบบประกันสังคม ผ่านโครงการเราชนะ โดยลงทะเบียน www.เราชนะ.com เพื่อรับเงินเยียวยา 7, 000 บาท ล่าสุดกระทรวงการคลัง ระบุว่า ได้มีผู้ได้รับสิทธิ์ ในโครงการเราชนะแล้ว รวมทั้งสิ้น จำนวน 32.4 ล้านคน คิดเป็นมูลค่าการใช้จ่ายหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไทยแล้วกว่า 160,716 ล้านบาท บ้าน
โครงการ “เราชนะ”
สำหรับ กลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง ( ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียง) ที่ไม่สามารถเดินทางออกจากที่พักอาศัยได้และจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยรับลงทะเบียนเคลื่อนที่ที่เพิ่งสิ้นสุดระยะเวลาการลงทะเบียนไปเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมานั้น ล่าสุด ได้มีความเคลื่อนไหวจากมาตรการออกมาดังนี้ Home
กุลยา ตันติเตมิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลัง ได้มีนโยบายให้ขยายระยะเวลาการเปิดรับลงทะเบียนมาตรการ เราชนะ ออกไปเป็นครั้งที่ 3 เฉพาะสำหรับกลุ่มผู้ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง (ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ทุพพลภาพ ผู้ป่วยติดเตียง) ที่ไม่สามารถเดินทางออกจากที่พักอาศัยได้และจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยรับลงทะเบียนเคลื่อนที่ จากเดิมที่จะสิ้นสุดในวันที่ 26 มีนาคม 2564 เป็นวันที่ 9 เมษายน 2564
ผู้ได้รับสิทธิในกลุ่มพิเศษ
โดยผู้ได้รับสิทธิในกลุ่มพิเศษ ที่ต้องการลงทะเบียนร่วมมาตรการรับเงินเยียวยานั้น สามารถติดต่อลงทะเบียนได้ที่สาขาธนาคาร 1,023 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงจุดบริการพิเศษจำนวน 871 จุดทั่วประเทศ หรือ สามารถตรวจสอบจุดบริการได้ที่ www.krungthai.com หรือสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือผู้เข้าร่วมโครงการเราชนะที่เบอร์โทรศัพท์ 02-111-1144
การให้บริการลงทะเบียน เราชนะ เช็คสิทธิ กลุ่มพิเศษ ตรวจสอบจุดให้บริการตามขั้นตอนนี้
- เข้าไปที่ www.krungthai.com
- กดที่เมนู จุดให้บริการ หรือ คลิกที่นี่
- เลือกพื้นที่ที่ต้องการตรวจสอบ
- สาขาในประเทศ / สาขาต่างประเทศ
- เลือกสาขา หรือ กรอกรหัสสาขา
- พิมพ์คำค้นหา
- เลือก จังหวัด อำเภอ เลือกวันที่เปิดให้บริการ
กดค้นหาจุดให้บริการ
หรือ สามารถตรวจสอบจุดให้บริการที่อยู่ใกล้ตัวได้จาก เมนู ค้นหาจุดบริการที่อยู่ใกล้คุณ เป็นกลุ่มคำที่ผู้นำในยุคนี้ใช้กับ “ผู้มีรายได้น้อย” ไม่ต่างจากการตอกย้ำวาทกรรม “โง่ จน เจ็บ” ที่ทำให้เรื่องคนจนกลายเป็นปัญหาส่วนตัว
ทั้งที่ปัญหาเชิงโครงสร้างมีผลกระทบต่อการคงอยู่ในความยากจนหรือยกระดับชีวิตของคนในสังคม “คนจน” ถูกตอกย้ำว่าเป็นกลุ่มคนที่ต้องได้รับการอุปถัมภ์เป็นพิเศษจากรัฐ ซึ่งนโยบายช่วยเหลือล่าสุดคือ “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” จากการลงทะเบียนคนจน เปลี่ยนรูปแบบจากสวัสดิการถ้วนหน้าเป็นการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม
เส้นความยากจนที่สำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2559 อยู่ ที่ 2,667 บาท/คน/เดือน มีจำนวน 5,810 คน ( เพิ่มจากปี 2558 ราวหนึ่งพันคน) ขณะที่การลงทะเบียนคนจนของรัฐบาล กำหนดให้มีรายได้ไม่เกินปีละ 1 แสนบาท หรือราว 8,333 บาทต่อเดือน มีจำนวน 14.1 ล้านคน แท้จริงแล้วคนจนคือใคร อยู่ตรงไหน และควรช่วยเหลืออย่างไร
อย่ามองคนจนจากมิติเดียว
รศ.ดร.ประภาส ปิ่นตบแต่ง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ความเห็นไว้ในงานสัมมนา “คนจนในบริบทที่เปลี่ยนไปในสังคม” ว่า การลงทะเบียนคนจนกำหนดรายได้ไม่เกินปีละ 1 แสนบาท คนที่ได้ค่าแรงวันละ 300 บาท เดือนละราว 9,000 บาท จะถือว่าไม่เป็นคนจนตามเกณฑ์ การนิยามเช่นนี้แคบไป นำไปสู่แนวคิดนโยบายเกี่ยวกับคนจนที่ถูกลดทอนลง ขณะที่เกษตรกรหลายคนไม่ลงทะเบียนเพราะยุ่งยาก และต้องเข้ามารูดบัตรในเมือง
ประภาสเสนอว่า หากมองคนจนจากเกณฑ์ของเส้นความยากจนปีล่าสุด คือคนที่มีรายได้น้อยกว่า 2,667 บาทต่อเดือน ซึ่งเงินเท่านี้พอยังชีพหรือไม่ ขณะที่มีอีกกลุ่มหนึ่งคือ “คนเกือบจน” เป็นคนที่มีระดับรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคสูงกว่าเส้นความยากจนไม่เกิน 20 เปอร์เซ็นต์ แต่อีกมิติหนึ่งคือการมองเชิงโครงสร้าง จะทำให้เห็นคนมีปัญหาเรื่องความยากจนอีกหลายกลุ่ม
1.คนจนในโครงสร้างของระบบการผลิตที่เอารัดเอาเปรียบ เช่น เกษตรกรที่ไม่มีที่ดินหรือไม่พอทำกิน มีอยู่ 1.5 ล้านคน จะนับได้ไหมว่าคนกลุ่มนี้เป็นคนจนในแง่ปัจจัยการผลิต ขณะที่มีเรื่องการกระจุกตัวของที่ดินโดยบางบริษัทบางกลุ่ม หรือปัญหาที่ดินในเขตป่า ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลก็มีนโยบายทวงคืนผืนป่า
“ส่วนชาวนาในไทยมีอยู่ราว 15-17 ล้านครัวเรือน รายได้จากการทำนาไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ หลังโครงการจำนำข้าวเหลือราคาตันละ 5-6 พันบาท หากเป็นนาเช่าเหลือกำไรราวไร่ละ 500-1,000 บาท แม้รายได้อาจจะเยอะ แต่หักต้นทุนแล้วเหลือไม่เท่าไหร่”
2.คนจนอำนาจ จนโอกาส เป็นคนที่ได้รับความเดือดร้อนจากโครงการพัฒนาของรัฐ โครงการขนาดใหญ่ เช่น การเกิดขึ้นของสมัชชาคนจน สัมพันธ์กับมิติทางการเมืองและความเป็นประชาธิปไตย เพราะขาดการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของรัฐ
3.กลุ่มคนที่ตกเป็นเบี้ยล่าง เป็นกลุ่มคนที่ถูกกดทับให้อยู่ในซอกมุม เช่น คนไร้บ้านหรือคนที่มีปัญหาจากเรื่องเขตแดน ไม่ใช่เพียงจนรายได้ แต่ถูกเพิกเฉย ทำให้เป็นคนนอก จะทำให้เราเห็นปัญหาคนจนได้กว้างขึ้น บ้าน
‘คุณคือคนจน’ ตอกย้ำซ้ำด้วยนโยบายรัฐ
- หลายรัฐบาลพยายามเข็นนโยบาย “ช่วยคนจน” ออกมา แต่ก็ไม่มีทีท่าจะแก้ปัญหาได้ ขณะที่ “บัตรคนจน” พยายามลดงบประมาณให้เป็นการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม จากการลงทะเบียนคนจน
- ดร.ธร ปีติดล คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การแยกว่าใครเป็นคนจน เพื่อรัฐจะได้ใช้ทรัพยากรในการช่วยเหลือตรงจุดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่างจากนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค ที่เป็นการช่วยเหลือในรูปแบบถ้วนหน้าทุกคน
- ดร.ธรยกแนวคิดจากหนังสือ The Broken Ladder ของ Keith Payne ชี้ถึงผลจากการมองว่าตัวเองเป็น “คนจน” สร้างผลกระทบต่อชีวิต ทำให้เกิดช่องว่างความใฝ่ฝันว่าตัวเองจะไม่มีอนาคตเหมือนคนที่ฐานะดีกว่า จนถึงพร้อมที่จะทำอะไรเสี่ยงในชีวิต มีโอกาสเข้าไปพัวพันกับยาเสพติดเมื่อยินดีเสี่ยงมากกว่าคนอื่น
ขณะที่ “บัตรคนจน” เป็นการตอกย้ำว่า “คุณคือคนจน”
- ซึ่ง ดร.ธรเห็นว่า การช่วยเหลือแบบเจาะจงเช่นนี้ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ แต่ต้องระวังว่าจะสร้างภาพลักษณ์ที่ต่ำกว่าของคนจน ทำให้คนไม่รู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
- ต่อปัญหานี้ เขามองว่า “ประชาธิปไตย” จะมีคุณค่าโดยตรงต่อคนจน เพราะเป็นเรื่องสิทธิทางการเมืองซึ่งเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน
แล้วประชาธิปไตยแก้ปัญหาความยากจนได้ไหม?
- ดร.ธรยกตัวอย่างจากงานวิจัยของ Amartya Sen เรื่องภาวะความอดอยากจากปัญหาภาวะขาดแคลนอาหารในเบงกอล (The Great Bengal Famine of 1943) พบว่าภาวะอดอยากไม่ได้เกิดเพราะอาหารไม่พอ แต่เกิดจากระบบการเมืองที่ไม่ฟังเสียงผู้คน สื่อถูกปิด ผู้ปกครองไม่ทราบปัญหาที่แท้จริง
อ่านบทความอื่นๆ เพิ่มเติม ธัญวลัย