แบบตกแต่งภายใน
แบบตกแต่งภายใน “บ้าน” เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของมนุษย์ และตอบสนองต่อความต้องการทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ บ้านจึงนอกจากจะต้องมั่นคงแข็งแรงเพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยแล้ว ยังต้องจัดให้สวยงามน่าอยู่เพื่อสนองความต้องการทางด้านจิตใจด้วย การตกแต่งภายในบ้านจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างหนึ่ง “การตกแต่งบ้าน” อาจจะทำได้โดยการว่าจ้างบริษัทตกแต่งภายใน ที่มีความชำนาญเป็นผู้ออกแบบและตกแต่ง
หรือในบางกรณีที่เจ้าของบ้านพอมีความรู้ความเข้าใจเรื่องของการตกแต่งอยู่บ้าง ก็อาจจะลงมือทำด้วยตนเองจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจ และทำให้บ้านมีคุณค่ามากขึ้น แต่ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ตกแต่งบ้านก็ตาม เจ้าของบ้านต้องสามารถบอกความต้องการของตน และขอบเขตของงบประมาณที่กำหนดไว้ เจ้าของ บ้าน จึงควรมีความเข้าใจในเรื่องของการตกแต่งภายในไว้บ้าง
สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการตกแต่งภายในมีอยู่หลายเรื่องด้วยกัน เริ่มจากทางเข้า-ออกของบ้านและห้องต่างๆ โดยที่การตกแต่งและการจัดวางเฟอร์นิเจอร์หรือเครื่องเรือนต่างๆนั้น จะต้องไม่กีดขวางทางเข้าออกและต้องเว้นช่องทางเดินให้สะดวกและกว้างขวางเพียงพอ เรื่องที่ต้องคำนึงถึงต่อมาก็คือความสะดวกในการทำความสะอาด การเลือกใช้และจัดวางเฟอร์นิเจอร์หรืออุปกรณ์ตกแต่งบ้านต้องให้สามารถทำความสะอาดได้ง่าย พื้นผิวของอุปกรณ์ตกแต่งบ้านบางชนิดยากแก่การทำความสะอาด
และเป็นที่สะสมของฝุ่น จึงควรพิจารณาเลือกใช้ให้เหมาะสม การเลือกใช้และจัดวางเฟอร์นิเจอร์ และวัสดุตกแต่งบ้านนอกจากจะเน้นความสวยงาม ยังต้องคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสมด้วย เช่น อุปกรณ์บางอย่างสวยแต่มีขนาดใหญ่เกินไป วางแล้วดูเกะกะหรือบางอย่างสวย แต่สีสันไม่เหมาะกับฉากหลังคือผนังของบ้าน เป็นต้น การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้าน จึงไม่สามารถทำอย่างที่ใจต้องการไปได้ทั้งหมด home
นอกจากเรื่องที่กล่าวมาแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในการตกแต่งภายในก็คือ เรื่องประโยชน์ใช้สอย เฟอร์นิเจอร์และอุปกรณ์ตกแต่งบ้านนอกจากจะต้องสวยงามดังกล่าวแล้ว ต้องคิดถึงประโยชน์ใช้สอยด้วย ถ้าเฟอร์นิเจอร์บางชิ้นสามารถใช้งานได้หลายหน้าที่ หรือสามารถโยกย้าย เปลี่ยนตำแหน่งในบางโอกาสที่เหมาะสม ก็ถือว่ามีความสมบูรณ์ในด้านประโยชน์ใช้สอยคือสามารถใช้ได้อย่างคุ้มค่า การตกแต่งภายในนอกจากจะเพิ่มความสวยงามให้กับบ้านแล้ว ยังต้องให้มีประโยชน์ควบคู่กันไปด้วย
จึงจะถือว่าเป็นการตกแต่งที่สมบูรณ์ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เมื่อพูดถึงเรื่องที่อยู่อาศัยคือ เรื่องฮวงจุ้ย เพราะดูเหมือนเป็นเรื่องที่คนให้ความสนใจกันมาก ในเรื่องของการตกแต่งบ้านก็มีการนำหลักของฮวงจุ้ยมาพิจารณาด้วยเช่นกัน เริ่มจากเรื่องของแสงซึ่งมีคำแนะนำว่าควรเปิดไฟนอกบ้าน หรือในสวนให้สว่างเวลากลางคืนจะทำให้บ้านดูมีชีวิตชีวา ภายในบ้านไม่ต้องใช้แสงสว่างมากนัก เพราะจะทำให้ประสาทตาทำงานหนัก ไม่ควรใช้ไฟสีเขียวในบ้านเพราะเมื่อสะท้อนใบหน้าคนแล้วทำให้ไม่น่าดู
โคมไฟสวยๆจะช่วยกระจายพลังฉีไปทั่วบ้าน ตำแหน่งของกระจกเงาในบ้านก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ กระจกเงาต้องติดไม่สูงหรือต่ำจนเกินไป ตำแหน่งของกระจกเงาที่ไม่ดีคือ ตำแหน่งที่เห็นได้ทันทีเมื่อเดินเข้า บ้าน เพราะเชื่อว่าจะทำให้สะท้อนสิ่งดีๆออกจากบ้าน ไม่ควรติดกระจกเงาหลายบานในห้องเดียวเพราะจะทำให้ผู้อยู่อาศัยเจ็บป่วยได้ง่าย
การใช้สีในบ้านต้องคำนึงถึงเรือนธาตุของเจ้าของบ้านด้วย เช่น ถ้าเป็นคนธาตุน้ำจะต้องใช้โทนสีที่ดูแล้วอบอุ่นจึงจะสมดุล ไม่ควรใช้สีเพียงสีเดียวกับอุปกรณ์ทุกชิ้นในบ้าน รูปภาพสำหรับตกแต่งบ้านก็มีส่วนช่วยในการสร้างบรรยากาศดีๆในบ้านได้ การตกแต่งบ้านด้วยภาพธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา เมฆ ท้องฟ้า ดอกไม้ ต้นไม้ จะทำให้มีโชคลาภ ของประดับบ้าน
เช่น ม้าหรือนกยูงแกะสลักเป็นสัตว์แห่งโชคลาภ เขาควายไม่ควรใช้ตกแต่งในบ้านที่มีเด็ก เพราะจะทำให้เด็กเจ็บป่วยง่าย แต่ควรใช้ตกแต่งร้านค้าหรือสำนักงานในธุรกิจที่มีการแข่งขันกันสูง การตกแต่งบ้านจึงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่เพิ่มความสวยงาม ช่วยเสริมสร้างประโยชน์ใช้สอยให้กับตัวบ้านและช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บ้านอีกด้วยครับ
10 ความลับของการตกแต่งภายใน
ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่มีไอเดียการตกแต่งบ้านมากมาย แต่ไม่รู้ว่าจะเอามารวมกันให้สวยได้อย่างไร ก็คงต้องถึงเวลาจ้างนักออกแบบภายในมาเป็นตัวช่วยแล้วล่ะก็ ซึ่งนักออกแบบภายในเหล่านี้จะมีไอเดียและทฤษฎีต่าง ๆ มาช่วยเนรมิตบ้านสวยให้กับคุณได้ แต่หากคุณยังไม่ได้อ่าน 10 ข้อดังต่อไปนี้ ก็อย่าเพิ่งคิดจะโทรเรียกนักออกแบบที่ไหนมาเชียว เพราะมีบางสิ่งที่พวกเขาก็อาจจะไม่อยากบอกให้คุณรู้ แต่ถ้าจำเรื่องเหล่านี้ได้ขึ้นใจ รับรองว่าเจอนักออกแบบที่มาไม้ไหนก็เอาอยู่แน่นอน home
1. มืออาชีพเท่านั้นที่มีคอนเนคชั่น
ไม่ใช่นักออกแบบทุกคนที่จะมีคอนเนคชั่นดี ๆ เสมอไป แต่มักจะมีเฉพาะนักออกแบบที่อยู่ในวงการมานานเท่านั้น ซึ่งคอนเนคชั่นเหล่านี้สำคัญมาก เพราะหมายถึงส่วนลดที่คุณจะได้รับจากการได้วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ มาในราคาถูก ดังนั้นก่อนจะเลือกใช้บริการนักออกแบบภายในคนไหน คงต้องเช็กประวัติกันหน่อย โดยพยายามพิจารณาจากหลาย ๆ ตัวเลือก และอย่าลืมสอบถามถึงคอนเนคชั่นของสินค้าประเภทพื้นหรือเคาน์เตอร์ครัวที่มัก มีราคาแพง เพราะจะช่วยประหยัดเงินได้หลายบาทเลยทีเดียว
2. การประหยัดเงินลูกค้าไม่ใช่เป้าหมายหลัก
คุณอาจจะคิดว่าปรัชญาของนักออกแบบ คือการช่วยเซฟเงินลูกค้า แต่บอกเลยว่าผิดมหันต์ เพราะผลงานเป็นสิ่งสะท้อนความสามารถของนักออกแบบ พวกเขาจึงมักเลือกวัสดุที่ดีที่สุด เพื่อส่งเสริมให้ผลงานออกมาเพอร์เฟคท์ที่สุดนั่นเอง ดังนั้นพูดคุยเรื่องงบประมาณก่อนเป็นสิ่งแรก ถ้าคุณไม่อยากให้เงินในบัญชีหมดเกลี้ยงไปกับค่าตกแต่ง แจ้งไปเลยว่าค่าใช้จ่ายที่รับได้คือเท่าไร ซึ่งนักตกแต่งที่เก่งจะออกแบบในสิ่งที่คุณต้องการ ภายใต้งบประมาณที่คุณตั้งไว้ได้
3. เผลอใส่รสนิยมตัวเองลงไป
แม้กระทั่งนักออกแบบที่เป็นมืออาชีพที่สุด ก็ยังอาจเผลอใส่รสนิยมส่วนตัวลงในการตกแต่ง ดังนั้นถ้าคุณไม่อยากให้สไตล์ที่่นักออกแบบชื่นชอบ ถูกถ่ายทอดลงในบ้านของคุณ ก็อย่าแจ้งความจำนงแบบเปิดกว้างจนเกินไป โดยให้ระบุสไตล์ที่คุณต้องการอย่างชัดเจน ทั้งภาพรวม โทนสี วัสดุที่คุณชื่นชอบ พูดคุยกันให้ชัดเจนเพื่อความมั่นใจว่าบ้านที่สำเร็จจะสะท้อนความเป็นตัวคุณ ไม่ใช่ตัวของนักออกแบบ ไอเดียแต่งบ้านแบบประหยัด
4. จ่ายน้อยได้มากไม่ใช่เรื่องยาก
สิ่งที่ดีที่สุดไม่จำเป็นต้องจ่ายด้วยราคาแพงเสมอไป ลองมองหานักเรียนออกแบบที่มักต้องทำโปรเจคท์การตกแต่งเพื่อเอาคะแนน นักออกแบบรุ่นเล็กเหล่านี้มักมีไอเดียที่สดใหม่ และให้บริการคุณภาพสูงในราคาที่ถูกกว่าครึ่งได้ อย่างไรก็ตามข้อเสียคือพวกเขามักไม่มีคอนเนคชั่นเหมือนอย่างมืออาชีพ ดังนั้นคุณต้องลองพูดคุยและชั่งน้ำหนักดูว่ารับได้หรือไม่ โดยให้พยายามเลือกใช้บริการว่าที่นักออกแบบที่เคยมีผลงานมาบ้าง และพิจารณาว่าไอเดียของพวกเขาตรงตามความคาดหวังของคุณหรือไม่ เพราะนี่คือหนึ่งในหนทางที่จะทำให้คุณจ่ายน้อยได้มากนั่นเอง
5. ปฏิเสธได้ไม่ต้องเกรงใจไปทุกเรื่อง
แม้การพูดตรง ๆ ว่าคุณไม่ชอบการออกแบบบางอย่าง อาจเป็นเรื่องลำบากใจ แต่นักออกแบบมืออาชีพย่อมไม่โกรธหากคุณจะปฏิเสธไอเดียเหล่านั้น จำไว้ว่าคุณจ่ายเงินเพื่อให้ได้แบบที่คุณต้องการ และพวกเขามีหน้าที่ถ่ายทอดไอเดียของคุณ ดังนั้นอะไรที่คุณไม่ชอบก็จงอย่าลังเลที่จะปรับเปลี่ยนมัน โดยรีบบอกให้เร็วที่สุด และหากนักออกแบบไม่เห็นด้วยกับไอเดียของคุณก็ควรพูดคุยแลกเปลี่ยน โดยระลึกไว้เสมอว่าการตัดสินใจทั้งหมดเป็นสิทธิของคุณไม่ใช่ของนักออกแบบ
6. ไม่จำเป็นต้องจ้างทั้งโปรเจคท์
อย่ายึดติดว่าคุณต้องจ้างนักออกแบบรายเดียวสำหรับบ้านทั้งหลัง เพราะความเป็นจริงนักออกแบบสามารถรับงานเล็ก ๆ บางส่วนของบ้านได้ เช่น หากคุณต้องการที่ปรึกษาด้านเคาน์เตอร์ในครัว ก็ไม่จำเป็นต้องจ้างนักออกแบบตกแต่งทั้งห้องครัวให้คุณ อย่าให้ใครหลอกคุณได้ว่าการออกแบบที่สวยเป็นมืออาชีพ เกิดขึ้นได้ด้วยการจ้างนักออกแบบเพียงรายเดียว บ้านเป็นของคุณและคุณมีสิทธิเลือก แค่ต้องแน่ใจว่าคุณได้ตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนออกแบบ จะได้ไม่เกิดปัญหาทีหลัง
7. บ้านของคุณอาจไม่ได้มาก่อน
นักออกแบบอาจบอกคุณว่า บ้านของคุณสำคัญที่สุด แต่เอาเข้าจริง ๆ นักออกแบบหนึ่งรายย่อมไม่ได้มีลูกค้าแค่คนเดียว ดังนั้นพูดคุยให้เข้าใจถึงระยะเวลาและนัดหมายต่าง ๆ เพราะคุณคงไม่อยากเจอปัญหาที่นักตกแต่งมา ๆ หาย ๆ เพราะมัวแต่ไปให้บริการลูกค้าที่จ่ายหนักกว่าอยู่ ดังนั้นตกลงกันให้แน่ใจว่า ถึงคุณไม่ใช่ลูกค้าคนที่มาก่อน แต่ก็เป็นลูกค้าคนหนึ่งที่สำคัญ หรืออีกวิธีคือเช็กประวัติของนักออกแบบดูสักนิด จะได้ไม่เจอปัญหานี้มากวนใจ บ้าน
8. ไม่จำเป็นต้องใช้ของใหม่เสมอ
หากนักออกแบบยุให้คุณซื้อของใหม่เพื่อเติมเต็มการตกแต่งในฝัน คุณอาจต้องจ่ายเงินจนหมดกระเป๋าแน่ ๆ ทั้งที่ความเป็นจริง คุณสามารถออกไอเดียเอาของเก่าในบ้านมาทำใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ใช้แจกันเก่าทำที่ใส่ช้อน หรือนำตู้ลิ้นชักที่ไม่ใช้แล้วมาเติมซิงก์ใช้เป็นเคาน์เตอร์ในห้องน้ำ ดังนั้นก่อนจะสั่งของใหม่มา เดินสำรวจของในบ้านก่อน หรือจะลองไปเดินดูตามร้านขายของมือสอง ที่นอกจากจะช่วยประหยัดเงินแล้วยังได้ลุคที่คลาสสิกสุด ๆ
9. นักออกแบบอาจไม่ชอบไอเดียของคุณเสมอไป
อย่างที่กล่าวมาแล้วว่านักออกแบบก็มีรสนิยมส่วนตัว ดังนั้นพวกเขาอาจไม่ชอบไอเดียการตกแต่งของคุณ แต่ไม่บอกตรง ๆ ดังนั้นอย่าประหลาดใจถ้าพวกเขาพยายามจะเอนเอียงคุณไปในทิศทางอื่น จงเป็นตัวของตัวเอง บางไอเดียของคุณอาจจะเหมาะ ในขณะที่บางไอเดียอาจจะไม่ แต่ไม่ต้องกังวล ให้ยึดมั่นอยู่กับภาพรวมที่สำคัญกับคุณที่สุด และยืนกรานว่าคุณต้องการจะใส่มันลงในการออกแบบ
10. ใช้สิ่งของทดแทนได้
แน่นอนว่านักออกแบบต้องการสิ่งที่ดีที่สุดให้กับคุณ แต่นั่นอาจไม่สัมพันธ์กับงบประมาณที่มีอยู่ ทั้งที่ความเป็นจริงเราสามารถประหยัดงบประมาณในขณะที่บรรลุการออกแบบที่ต้อง การได้ ด้วยการเลือกของทดแทนที่ให้ลุคคล้ายกัน เช่น ม่านที่ให้ลุคเรียบหรูแต่ราคาไม่แพง หรือตู้เนี้ยบ ๆ ตามร้านเฟอร์นิเจอร์แทนที่การสั่งทำ แค่พวกเขาต้องยอมตามหาให้คุณหน่อย ซึ่งจะช่วยประหยัดงบประมาณได้มากทีเดียว
ขั้นตอนมาตรฐานของการออกแบบและตกแต่งภายใน
- ขั้นตอนการให้คำปรึกษาและขอข้อมูล
เป็นขั้นของการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบโครงการระหว่างลูกค้าและนักออกแบบ โดยอาจมีการพบปะพูดคุยกันมากกว่า 1 ครั้งเพื่อทำการปรับความเข้าใจต่างๆ และสรุปความต้องการขั้นต้นให้ตรงกันทั้งสองฝ่าย ซึ่งในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าจะใช้สำหรับพิจารณาความสามารถ ความน่าเชื่อถือ ของนักของแบบว่ามีประสิทธิภาพหรือไม่และจะสามารถทำงานร่วมกันได้ออกมาตรงกับความต้องการหรือไม่ และสำหรับนักออกแบบก็จะใช้ขั้นตอนนี้ในการพิจารณารับงานของลูกค้าด้วยเช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่แล้วในขั้นของการให้คำปรึกษาและขอข้อมูลนักออกแบบจะไม่คิดค่าบริการในการให้คำปรึกษา แต่หากมีค่าบริการก็จะคิดในราคาที่ไม่สูงมาก แต่เพื่อทำการลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นลูกค้าจึงควรสอบถามและตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายในการขอคำปรึกษากับนักออกแบบเสียก่อนที่จะมีการพบปะพูดคุยกัน home - ขั้นตอนการวางผังและนำเสนอแนวคิดเพื่อการออกแบบขั้นต้น (Lay-out and Conceptual Design)
เป็นขั้นตอนการวางแนวความคิดของนักออกแบบให้ลูกค้าได้นำไปพิจารณาอย่างคร่าวๆ โดยที่นักออกแบบจะต้องออกแบบและวางผังพื้นที่ใช้สอยอย่างง่าย (Lay-out Plan) รวมทั้งจะต้องทำการพิจารณารูปแบบที่จะใช้สำหรับงานออกแบบ (Style) และการแบ่งพื้นที่ใช้สอย (Zoning) ให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสม ตรงกับความต้องการของลูกค้า ซึ่งส่วนมากเพื่อเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจ นักออกแบบจะนำนิตยสาร หรือหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งภายในมานำเสนอแนวคิดในรูปแบบต่างๆ แก่ลูกค้า ในขั้นตอนดังกล่าวลูกค้าจึงจะได้ทราบรูปแบบโดยรวมและแนวทางของงานที่จะถูกพัฒนาต่อไป - ขั้นตอนในการพัฒนาแบบร่างขั้นต้น
เป็นขั้นตอนที่นักออกแบบจะต้องทำการนำเสนอแบบร่างอย่างง่ายแก่ลูกค้า ตามรูปแบบที่ได้ผ่านการอนุมัติมา ทั้งในด้านแนวความคิดของงานออกแบบและผังพื้นที่ในการใช้สอย เพื่อทำให้ลูกค้าเกิดจินตภาพและเข้าใจภาพรวมของงานออกแบบมากยิ่งขึ้น โดยที่นักออกแบบสามารถเลือกนำเสนอได้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ รูปแบบ Model รูปแบบภาพ Sketch หรือรูปแบบ Perspective เป็นต้น ซึ่งในขั้นตอนการพัฒนาแบบร่างขั้นต้นนี้ ลูกค้าจะสามารถขอปรับหรือแก้ไขรูปแบบของงานได้ แต่มักมีข้อกำหนดสำหรับบริษัทหลายแห่งคือ จำนวนครั้งในการขอปรับแก้นั้นสามารถทำได้ไม่เกิน 2 ครั้งรวมทั้งไม่ควรปรับแก้จนผิดไปจากผังและรูปแบบที่ได้ถูกวางเอาไว้มากจนเกินไป เนื่องจากจะทำให้งานยืดเยื้อและส่งผลให้เสร็จไม่ทันในระยะเวลาที่กำหนด - ขั้นตอนในการพัฒนาแบบร่างขั้นสุดท้าย
ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่นักออกแบบจะนำแบบร่างขั้นต้นมาพัฒนาต่อเพื่อทำการนำเสนอลูกค้า ให้มีความใกล้เคียงกับผลงานออกแบบจริงมากที่สุด โดยที่ส่วนมากมักใช้รูปแบบการนำเสนอแบบภาพ Perspective และ แบบModel ที่มีความเสมือนจริง ทำให้ลูกค้าเกิดจินตภาพที่ชัดเจนในงานออกแบบทั้งหมด และเนื่องจากแบบร่างขั้นสุดท้ายนี้เป็นแบบร่างที่ได้ผ่านการอนุมัติจากแบบร่างขั้นต้นมาแล้ว ลูกค้าจึงสามารถขอปรับแก้ไขแบบร่างได้เพียงเล็กน้อยในส่วนของรายละเอียดเท่านั้น แต่หากลูกค้าต้องการปรับแก้แบบร่างในส่วนหลักของงาน บริษัทหรือนักออกแบบจะทำการคิดค่าบริการเพิ่มในส่วนของงานที่จะต้องทำการแก้ไขและออกแบบใหม่ทั้งหมด - ขั้นตอนของการกำหนดวัสดุสำหรับตกแต่งภายในทั้งหมด
เป็นขั้นตอนการกำหนดวัสดุที่จะนำมาใช้ในการตกแต่งทั้งหมดให้ลูกค้าได้พิจารณา โดยนักออกแบบจะอ้างอิงจากงานแบบร่างขั้นสุดท้ายที่ได้ผ่านการการอนุมัติมาแล้ว เพื่อจัดทำรูปแบบนำเสนอให้ลูกค้าได้ทำการพิจารณาเปรียบเทียบวัสดุ การฉลุลายเหล็ก โลหะ เพื่อการออกแบบ โดยส่วนใหญ่นักออกแบบมักนำเสนองานในรูปแบบของ Material Board หรือแผ่นกำหนดวัสดุ ก่อนที่จะทำการรวมและประกอบแบบร่างเข้าด้วยกัน จากนั้นนักออกแบบจึงจะสามารถดำเนินการในขั้นตอนสุดท้ายคือขั้นตอนการเขียนแบบรายละเอียดต่อไป - ขั้นตอนของการเขียนแบบรายละเอียด
เป็นขั้นตอนที่นักออกแบบจะเขียนแบบรายละเอียด และทำการพิมพ์แบบฉบับร่างออกมาเพื่อนำเสนอให้ลูกค้าได้พิจารณารายละเอียดทั้งหมดของงาน ซึ่งแบบรายละเอียดนี้จะต้องถูกเขียนให้ตรงตาม Material Board และแบบร่างขั้นสุดท้ายที่ผ่านการอนุมัติมาแล้ว โดยส่วนมากนักออกแบบมักใช้ระยะเวลาทำงานในขั้นตอนดังกล่าวประมาณ 15-30 วัน หลังจากนั้นจึงจะส่งแบบรายละเอียดฉบับร่างไปให้แก่ลูกค้า โดยที่ลูกค้าสามารถทำการแจ้งขอปรับแก้รายละเอียดในแบบกับนักออกแบบได้ และเมื่อแก้ไขแบบรายละเอียดฉบับร่างได้ตรงตามที่ต้องการแล้ว นักออกแบบจึงจะทำการพิมพ์แบบรายละเอียดฉบับจริงต่อไป บ้าน