รูปบ้านสองชั้น
รูปบ้านสองชั้น ท่ามกลางกระแสความนิยมของการก่อสร้างคอนโดมิเนียมและห้องชุดในตึกสูงที่มีพุ่งสูงมากมายหลายพันแห่งในระยะเวลาไม่กี่ปีของประเทศไทย ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนนั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ด้วยเหตุผลและปัจจัยหลายๆด้านที่ขีดกรอบจำกัดการใช้ชีวิตของผู้คนนี้เอง ทำให้มีหลายบ้านหลายครอบครัวมีโอกาสที่จะมี บ้าน
หลังใหม่เป็นของตัวเอง ตัวเลือกแรกๆที่เจ้าบ้านจะตัดสินใจมองหาเป็นไอเดียหรือรูปแบบที่อยู่ใหม่คือแบบบ้านเดี่ยวสองชั้น ซึ่งอาจมีให้เลือกสรรได้ทั้งจากโครงการบ้านที่มีการก่อสร้างและการดำเนินการภายในที่เป็นสัดส่วนเบ็ดเสร็จ หรือแบบบ้านที่มีการออกแบบก่อสร้างโดยเฉพาะจากสถาปนิกตามความต้องการของเจ้าบ้าน เป็นต้น เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่ชี้วัดให้เห็นว่าบ้านสองชั้นนั้นถือเป็นรูปแบบที่อยู่อาศัยที่ยังเป็นที่นิยมของทุกครอบครัวอยู่เสมอ
วันนี้จึงเป็นเรื่องเกรี่ยวกับบ้านสองชั้นล้วน ๆ โดยจะเป็นการอธิบายถึงข้อดีข้อเสีย รูปแบบการดีไซน์บ้านสองชั้นที่เหมาะสมกับบริบทของที่ตั้งและนักออกแบบชาวไทย รวมถึงทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะทำให้บ้านสองชั้นของคุณนั้นน่าอยู่ยิ่งขึ้น เราลองไปดูกันว่าบ้านสองชั้นนั้นน่าสนใจยังไงมาดูกันเลย
บ้านสองชั้นมีดีอย่างไร
รูปลักษณ์อาคารที่เป็นที่คุ้นเคย
ในปัจจุบันถึงแม้รูปแบบของอาคารบ้านและที่อยู่อาศัยจะมีอยู่หลากหลายลักษณะให้เลือกสรรและก่อสร้าง แต่ลักษณะของอาคารบ้านสูงสองชั้นก็ยังคงเป็นตัวเลือกแบบต้นๆของเจ้าบ้านและครอบครัวในการก่อสร้างบ้านหลังแรกของตน เนื่องด้วยลักษณะของตัวอาคารที่มีขนาดความสูงซึ่งเป็นที่คุ้นเคยเราๆท่านๆ ทั้งจากแบบบ้านสมัยดั้งเดิมของไทยที่เป็นบ้านยกพื้นสูง หรือแบบ บ้าน โมเดิร์นสมัยใหม่ที่สร้างด้วยคอนกรีต ก็มักปรากฏในรูปแบบของอาคารสูงสองชั้นทั้งสิ้น
ความโอ่อ่าของตัวบ้านที่ให้ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยและเป็นที่พึ่งพิงทางกายและใจของคนในครอบครัว
และจากลักษณะภายนอกของสถาปัตยกรรมที่มีความสูงสองชั้นนี้ ยังส่งผลโดยตรงต่อความรู้สึกของผู้พบเห็นยามได้มอง เนื่องด้วยความสูงสองชั้นของบ้าน (6 เมตรเป็นต้นไป) ทำให้สัมผัสการรับรู้รู้สึกได้ถึงความปลอดภัยและเป็นพื้นที่สำหรับพักพิง ทั้งยังแลดูมีความมั่นคงแข็งแรงและอาจหมายรวมถึงการบ่งบอกของลักษณะคุณภาพชีวิตของครอบครัวนั้น ๆได้อีกด้วย
การจัดสรรพื้นที่ที่แบ่งสัดส่วนได้ดีกว่าแบบบ้านชั้นเดียว
แน่นอนว่าพอพื้นที่บ้านถูกเพิ่มส่วนการใช้สอยให้มีระดับที่สูงขึ้นไปอีกหนึ่งชั้น พื้นที่ใช้สอยจึงสามารถทำการแบ่งสัดส่วนได้ทั้งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและบรรยากาศของพื้นที่ใช้สอย ยกตัวอย่างเช่น พื้นที่ส่วนที่เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนรวมของครอบครัวหรือเป็นส่วนที่คนนอกสามารถเข้าถึงได้ก็จะถูกจัดไว้ที่ชั้นล่าง ส่วนพื้นที่ที่เป็นพื้นที่ใช้สอยส่วนตัวจะมีการถูกจัดสรรไว้อย่างมิดชิดที่ชั้นบน โดยมีโถงบันไดเป็นส่วนเชื่อมต่อของพื้นที่ทั้งสองระดับชั้น
หรืออีกกรณีหนึ่งคือพื้นที่ที่อาจมีการใช้งานที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ส่วนอื่นๆเช่นห้องครัวและซักล้างที่อาจมีกลิ่น ควันและความชื้น หากมีการแยกส่วนให้อยู่ที่ชั้นล่างก็จะสะดวกต่อการดูแลรักษาความสะอาด หรือพื้นที่ห้องทำงานซึ่งต้องการบรรยากาศที่เงียบสงบก็ควรถูกจัดอยู่บนพื้นที่ชั้นสองเพื่อความเป็นส่วนตัวนั่นเอง
ข้อด้อยของบ้านสองชั้น
ราคาค่าก่อสร้างที่อาจสูงและบานปลาย
แน่นอนว่าบ้านสองชั้นเองถึงแม้จะแลดูโอ่อ่าและมั่นคงเหมาะสมกับการเป็นที่พักพิงของเรามากเท่าไร ก็ยังมีข้อด้อยที่อาจไม่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของครอบครัวเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงบประมาณค่าก่อสร้างที่มากกว่าการก่อสร้างบ้านชั้นเดียวค่อนข้างมาก โดยทั่วไปแล้วบ้านสองชั้นจะมีราคาค่าก่อสร้างอยู่ที่ 2-5 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นราคากลางขั้นต่ำที่ประเมินเบื้องต้นโดยสถาปนิกหรือผู้รับเหมาก่อสร้าง ทั้งนี้ราคาค่าก่อสร้างยังขึ้นกับสเปคของวัสดุและที่ดินนั้น ๆ ด้วย
ความไม่สะดวกในการใช้งานของคนต่างวัยในครอบครัว
ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่เจ้าบ้านควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากการออกแบบบ้านและที่อยู่อาศัยที่ดีนั้นต้องคำนึงถึงการใช้งานและการอยู่อาศัยของสมาชิกทุกช่วงวัยภายในครอบครัว โดยเฉพาะกับเด็กและผู้สูงอายุซึ่งอาจมีความลำบากในการเดินขึ้นลงบันไดหรืออาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ดังนั้นแล้ว ทางที่ดีในการออกแบบพื้นที่เชื่อมต่อของชั้นหนึ่งและชั้นสองอย่างโถงบันไดควรออกแบบให้ปลอดภัยทั้งระยะความกว้าง ราวกันตก ชานพัก หรือในบางบ้านอาจต้องมีการเผื่อพื้นที่สำหรับการติดตั้งลิฟท์รถเข็นสำหรับผู้สูงวัยด้วย home
รูปบ้านสองชั้นที่สวยน่าสนใจ
บ้านสองชั้นหน้าแคบตกแต่งสไตล์ผสมผสาน
บ้านสองชั้นหลังแรกนี้เราขอเริ่มจากบ้านสองชั้นรูปทรงตึกแถวหน้าแคบแต่ลึก ซึ่งมีการออกแบบตัวบ้านด้วยรูปทรงเหลี่ยมและใช้หลังคาจั่วตามแนวยาวของตัวบ้าน ตัวบ้านภายนอกมีการลดทอรายละเอียดของรูปทรงให้เหลือเพียงรูปทรงเหลี่ยม มีการออกแบบระเบียงแบบลึกเข้าไปด้านใน และใช้วัสดุที่ผสมผสานกันระหว่างไม้และเหล็กมาประกอบเป็นวัสดุผนัง แลดูให้ความทันสมัยและความพื้นถิ่นในตัว เหมาะสำหรับการนำไปปรับใช้กับที่ดินที่มีขนาดความกว้างไม่มากนัก จัดบ้าน
บ้านสองชั้นกึ่งยกพื้นแบบไทยโมเดิร์น
บ้านหลังนี้เป็นบ้านจากสถาปนิกไทยที่มีลักษณะการออกแบบโดยดึงเอาเอกลักษณ์ขององค์ประกอบบ้านไทยมาใช้กับตัวงาน เริ่มตั้งแต่การจัดวางแปลนบ้านโดยเป็นรูปตัวยูมีคอร์ทสนามยื่นเข้าไปในพื้นที่บ้าน มีการใช้รูปแบบฝาผนังขัดแตะมาปรับใช้เป็นเส้นสายของช่องเปิดผนังกระจก และการใช้หลังคาจั่วขนาดใหญ่สีเทาดำเป็นส่วนปกคลุมตัวบ้านสีขาว ให้ความรู้สึกถึงความเป็นไทยและดูดีทันสมัยอย่างมาก
บ้านสองชั้นโมเดิร์นที่ออกแบบแปลนบ้านรูปตัวยูโอบล้อมคอร์ทสนามหญ้ากะทัดรัด
บ้านหลังนี้เป็นผลงานการออกแบบจากสถาปนิกไทยเช่นกัน โดยเป็นบ้านที่มีการออกแบบแปลนบ้านเป็นรูปตัวยูโอบล้อมพื้นที่สนามหญ้าตรงกลาง โดยตัวบ้านนั้นมีการใช้รูปทรงเรขาคณิตที่เห็นเหลี่ยมมุมชัดเจนตามแบบฉบับของแบบบ้านโมเดิร์น ทั้งยังออกแบบช่องเปิดกระจกบานกว้าง ใช้หลังคาแบบลาดแบนและใช้ระแนงไม้เป็นส่วนบังแดดแก่พื้นที่ระเบียง ดูแล้วทันสมัยและมีความอบอุ่นแลดูโปร่งโล่งไม่เบาเลย
บ้านยกพื้นสูงตามแบบฉบับบ้านไทยในบริบทของวัสดุสมัยใหม่
ถึงแม้จะมีไอเดียของบ้านสไตล์โมเดิร์นออกมาให้เห็นมากมาย แต่ไอเดียองค์ประกอบการออกแบบบ้านไทยๆก็ยังคงเป็นแรงบันดาลใจที่ดีแก่ทั้งนักออกแบบและเจ้าบ้าน อย่างเช่นบ้านหลังนี้เองที่เราจะเห็นได้ชัดเจนมากๆทั้งการยกพื้นเป็นบ้านสองชั้นใต้ถุนโล่งสร้างด้วยคอนกรีต การออกแบบพื้นที่นอกชานเป็นพื้นที่ส่วนกลางซึ่งเชื่อมต่อพื้นที่ห้องต่างๆ รวมถึงการออกแบบเลือกใช้หลังคาทรงปั้นหยา ซึ่งเมื่อมองในภาพรวมแล้วกลับไม่รู้สึกถึงความล้าสมัยแต่อย่างใด
บ้านสองชั้นครึ่งไม้ครึ่งปูน
งานออกแบบบ้านสองชั้นที่น่าสนใจที่เราจะเห็นได้บ่อยกับบ้านไทยคือการรีโนเวทบ้านไม้ยกพื้นสูงดั้งเดิมให้เป็นแบบบ้านสองชั้นครึ่งไม้ครึ่งปูน ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนการใช้สอยของบ้านโดยเปลี่ยนพื้นที่โล่งชั้นล่างให้เป็นห้องและเชื่อมต่อกับพื้นที่ชั้นบนใหม่ด้วยบันไดภายใน เมื่อทำการก่อผนังกั้นอย่างเป็นสัดส่วนแล้วก็จะได้ตัวบ้านแบบฟิวชั่นซึ่งเป็นการเพิ่มคุณค่าการใช้งานให้ตัวบ้านได้ตอบโจทย์การใช้งานมากยิ่งขึ้น
บ้านสองชั้นปูนเปลือยสไตล์ลอฟท์
สมันี้หากไม่พูดถึงแบบบ้านสไตล์ลอฟท์ก็คงเห็นที่จะไม่เข้าที เพราะมองไปทางไหนก็เจอแต่งานออกแบบและตกแต่งแบบดิบเท่ที่เน้นผิววัสดุแบบดิบๆเปลือยๆให้ความรู้สึกตรงไปตรงมาและเป็นธรรมชาติ อย่างบ้านสองชั้นหลังนี้เองที่ออกแบบในรูปทรงของบ้านโมเดิร์นเป็นลักษณะกล่องทรงเหลี่ยม มีการออกแบบผิวผนังโดยเป็นปูนเปลือยและผนังก่ออิฐโชว์แนวซึ่งล้วนเป็นการตกแต่งงานก่อสร้างที่ใช้งบประมาณไม่มาก แถมยังตกแต่งส่วนของภูมิทัศน์ได้อย่างพอดีๆไม่มากไม่น้อยเกินไป หากเจ้าบ้านท่านไหนชื่นชอบบ้านสไตล์นี้ก็อย่าลืมเก็บไว้เป็นไอเดียตัวอย่างด้วยล่ะ
บ้านเดี่ยวสองชั้นสีขาวสไตล์รีสอร์ท
บ้านหลังนี้ถึงแม้จะมีรูปลักษณ์ที่แลดูไม่หวือหวาหรือโอ่อ่าเหมือนอย่างแบบบ้านสองชั้นหลังอื่นๆ แต่หากดูดีๆคุณจะเห็นว่าบ้านหลังนี้มีการออกแบบพื้นที่ใช้สอยที่น่าสนใจ เริ่มตั้งแต่รูปทรงเหลี่ยมสีขาวคลีนๆของตัวบ้าน ด้านข้างตัวบ้านเป็นส่วนของที่จอดรถที่เชื่อมต่อกับระเบียงไม้ระแนงที่เชื่อมๆไปยังสระว่ายน้ำด้านข้างตัวบ้านอีกฟากหนึ่ง ดูแล้วให้ความรู้สึกและบรรยากาศการใช้งานแบบรีสอร์ทที่จะทำให้ทุกวันของคุณเป็นวันพักผ่อนสุดสัปดาห์
ทริคเล็ก ๆ น้อย ๆ สำหรับการออกแบบบ้านสองชั้น
แสงธรรมชาติต้องมีและวิวทิวทัศน์ก็ต้องมองเห็น
ลองนึกภาพบรรยากาศของบ้านจัดสรรสมัยเก่าที่ออกแบบภายในแบบทึบๆ มีช่องเปิดแสงไม่มากแถมยังมีเพดานเตี้ยๆแลดูไม่โปร่งโล่งเอาเสียเลย ลองปรึกษากับสถปานิกและทำการออกแบบใหม่ให้พื้นที่ภายในมีความโปร่งสบายขึ้นด้วยพื้นที่เพดานสูงหรือโถงบันไดที่เชื่อมกับพื้นที่นั่งเล่น ช่องเปิดกระจกบานกว้างในแนวยาวที่สามารถให้แสงและมองเห็นมุมมองภายนอกได้แบบพาโนรามา รับรองว่าบ้านของคุณจะแลดูด๊มีระดับและดูน่าอยู่ขึ้นมาก
เลือกขนาดบ้านแบบพอดี ๆ ไม่ต้องใหญ่โตโอ่อ่าหรือเล็กกะทัดรัดจนดูอึดอัด
แน่นอนว่าการที่คุณจะเลือกแบบบ้านสักหลังหรือจะวางแปลนบ้านใหม่ คุณต้องเมคชัวร์ว่าบ้านของคุณนั้นจะมีสมาชิกอยู่กี่คน มีการวางแผนให้มีพื้นที่สำหรับรองรับสมาชิกที่จะมีมาเพิ่มในอนาคตหรือไม่ รวมถึงพื้นที่ใช้สอยที่จำเป็นต่อการอาศัยนั้นมีครบถ้วนเพียงพอหรือไม่ ทั้งจำนวนของห้องนอน จำนวนห้องน้ำ จำนวนรถที่สามารถจอดได้ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่คุณเจ้าบ้านต้องกำหนดมาตั้งแต่แรกเริ่ม ไม่เช่นนั้นภายหลังเมื่อมีการต่อเติมหรือต้องทำการดูแลรักษา ก็จะมีความยุ่งยากตามมามากมาย
ออกแบบแสงสว่างเพิ่มเติมเพื่อให้บ้านแลดูเด่นชัดและปลอดภัยยิ่งขึ้น
เจ้าบ้านหลายๆคนมักหลงลืมว่าองค์ประกอบของไฟส่องสว่างนั้นมีความสำคัญ หากคุณจะเลือกแบบบ้านหรือให้สถาปนิกออกแบบบ้านให้คุณ นอกจากแบบจำลองตัวบ้านที่แสดงให้เห็นบรรยากาศตอนกลางวันแล้ว คุณก็ควรขอดูภาพแบบจไลองของบ้านในตอนกลางคืนด้วย เพื่อให้ทราบได้ว่าควรทำการจัดแสงไฟและตำแหน่งดวงโคมตรงไหนให้บ้านสว่างปลอดภัย หรือมีความโดดเด่นเน้นความสนใจให้ตัวบ้านได้มากยิ่งขึ้น เท่านี้บ้านของคุณก็จะสมบูรณ์แบบทั้งตอนกลางวันและกลางคืนแล้ว
แบบบ้านสองชั้นพร้อมแปลน ราคาก่อสร้างไม่เกิน 3 ล้านบาท
แม้มีพื้นที่จำกัด แต่ก็สร้างความสุขให้ครอบครัวได้ง่าย ๆ ด้วยแบบบ้านสองชั้น ซึ่งแยกพื้นที่ส่วนกลางและส่วนตัวออกจากกันอย่างชัดเจน อยากจะปรับเปลี่ยนห้องไว้รองรับชีวิตหลังเกษียณหรือให้พ่อ-แม่มาอยู่ด้วยก็ไม่ยาก หากเป็นครอบครัวละก็ ถือว่าแบบบ้านสองชั้นนี่แหละกำลังดี เพราะแม้สมาชิกจะเยอะ แต่ก็ยังสามารถสร้างมุมส่วนตัวได้ เอาเป็นว่าหากใครมองหาแบบบ้านสองชั้นสวย ๆ อยู่ ก็ตามเราไปชมพร้อม ๆ กันเลย
1. แบบบ้านธงฟ้า 3
พื้นที่ใช้สอย 127 ตารางเมตร ขนาดเส้นรอบบ้าน 7.00×7.50 เมตร ขนาดที่ดิน 32 ตารางวา (11.00×11.50 เมตร) (กว้างxลึก) ชั้นบนประกอบด้วย 3 ห้องนอน และห้องน้ำส่วนกลาง ชั้นล่างประกอบด้วย ห้องครัว ห้องกินข้าว ห้องนั่งเล่นรวมในพื้นที่เดียวกัน ห้องน้ำ ห้องซักล้าง และที่จอดรถ 1 คัน ราคาค่าก่อสร้าง 2,188,000 บาท
2. แบบบ้าน Tiny 05
แบบบ้านสองชั้นหน้าแคบ พื้นที่ใช้สอย 144.35 ตารางเมตร ขนาดที่ดิน 40.26 ตารางวา (9.70×16.60 เมตร) (กว้างxลึก) ชั้นบนประกอบด้วย ห้องนอนใหญ่มีระเบียง ห้องนอน ห้องอเนกประสงค์ และห้องน้ำส่วนกลาง ชั้นล่างประกอบด้วย ห้องครัว พื้นที่ซักล้างด้านหลัง ห้องกินข้าว และห้องนั่งเล่นมีระเบียง ที่จอดรถ 2 คัน ราคาค่าก่อสร้าง 2,378,000 บาท
3. แบบบ้านสุดคุ้ม 5
พื้นที่ใช้สอย 168 ตารางเมตร ขนาดเส้นรอบบ้าน 6.70×11.30 เมตร ขนาดที่ดิน 51 ตารางวา (11.70×15.30 เมตร) (กว้างxลึก) ชั้นบนประกอบด้วย ห้องนอนใหญ่พร้อมห้องนั่งเล่น มีระเบียง 2 ห้องนอนเล็ก และห้องน้ำส่วนกลาง ชั้นล่างประกอบด้วย ครัวไทยนอกบ้าน ห้องกินข้าวพร้อมครัวเบา ห้องนั่งเล่นมีระเบียง และที่จอดรถ 2 คัน ราคาค่าก่อสร้าง 2,4xx,xxx บาท
4. แบบบ้าน Tiny 07
พื้นที่ใช้สอย 152.24 ตารางเมตร ขนาดที่ดิน 45.52 ตารางวา (13.90×13.10 เมตร) (กว้างxลึก) ชั้นบนประกอบด้วย 3 ห้องนอน ห้องอเนกประสงค์ และห้องน้ำส่วนกลาง ชั้นล่างประกอบด้วย ห้องครัวพร้อมห้องกินข้าว ห้องนั่งเล่น ระเบียงหน้าบ้าน หลังบ้าน และที่จอดรถ 1 คัน ราคาค่าก่อสร้าง 2,500,000 บาทเท่านั้น
5. แบบบ้าน Tiny 08
พื้นที่ใช้สอย 154.32 ตารางเมตร ขนาดที่ดิน 41.46 ตารางวา (10.70×15.50 เมตร) (กว้างxลึก) ชั้นบนประกอบด้วย 3 ห้องนอน ห้องอเนกประสงค์ และห้องน้ำส่วนกลาง ชั้นล่างประกอบด้วย ห้องครัว ห้องกินข้าว ห้องนั่งเล่น ระเบียงหน้าบ้าน และที่จอดรถ 2 คัน ราคาค่าก่อสร้าง 2,552,800 บาท