บ้านเมทัลชีทสีแดง

บ้านเมทัลชีทสีแดง
บ้านเมทัลชีทสีแดง

บ้านเมทัลชีทสีแดง แรงสะกดสายตา

บ้านเมทัลชีทสีแดง ปัจจุบันปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ความนิยมในการเลือกใช้วัสดุเมทัลชีทมาทำหลังคาบ้านได้รับความนิยม สูงมากในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะบ้านสไตล์ Modern ที่ต้องการความเรียบแบน มีความชันของหลังคาต่ำ ซึ่งเมทัลชีทสามารถ ออกแบบหลังคาได้ต่ำสุดถึง 5 องศา (ขึ้นอยู่กับชนิดของ รูปลอนและความยาวของ ระยะแปของหลังคา) บ้าน 

แต่หากใช้วัสดุกระเบื้องหลังคา ซีแพ็คทั่วไปจะไม่สามารถทำได้ ครั้นจะใช้หลังคา Slab คอนกรีตก็มีต้นทุนที่สูงกว่ากันมาก ทางเลือกในการนำ เมทัลชีทมาใช้ทำหลังคา จึงได้คะแนนทั้งด้านดีไซน์ การติดตั้งที่รวดเร็ว และราคาก่อสร้าง แต่ปัญหาหลัก ๆ ของการใช้เมทัลชีท คือ ความร้อน และมีเสียงดังรบกวนเมื่อฝนตก เพื่อให้ผู้อ่านที่กำลังสร้างบ้าน และกำลังตัดสินใจ เลือกเมทัลชีท ได้รู้จุดเด่น จุดด้อยของเมทัลชีท และเลือกสเปคเมทัลชีท ได้เหมาะสมกับการใช้งาน

การดูดกลืนความร้อนของเมทัลชีท สำคัญอย่างไร

โดยปกติแล้ว วัตถุทุกชนิดจะสามารถ ดูดกลืนรังสีความร้อนได้ เรียกว่า การดูดกลืนความร้อน หรือ Adsorption นั่นเอง มีการทดสอบ โดยนักวิทยาศาสตร์พบว่า

  • วัตถุที่มีสีเข้ม หรือ สีดำนั้นจะดูดกลืนความร้อนได้ ในระดับที่สูงกว่าวัตถุที่สีอ่อน หรือ สีขาว เหตุเพราะสีดำนั้นจะดูดกลืนแสงใน ทุกย่านความถี่เท่าๆ กัน นอกจากนี้ยังดูดกลืนรังสีอินฟราเรด (Infrared Radiation/IR) หรือรังสีความร้อนที่ส่อง มาจากดวงอาทิตย์ได้สูงที่สุด โดยไม่มีการสะท้อนออก
  • วัตถุที่มีสีอ่อน หรือ สีขาวนั้นจะดูดกลืน ได้เฉพาะบางย่านความถี่แสง และจะทำการ สะท้อนออกมา
  • พื้นผิวหลังคาสีขาว เมื่อแสงแดดส่องลงมา จะสะท้อนออกไป 95% ดูดซับเอาไว้ในเนื้อวัตถุ 5%
  • พื้นผิวหลังคาสีเทา เมื่อแสงแดดส่องลงมา จะสะท้อนออกไป 50% ดูดซับเอาไว้ในเนื้อวัตถุ 50%
  • พื้นผิวหลังคาสีดำ เมื่อแสงแดดส่องลงมา จะสะท้อนออกไป 5% ดูดซับเอาไว้ในเนื้อวัตถุ 95%

เมทัลชีทมีสีอะไรบ้าง

ในปัจจุบันเมทัลชีทนั้น มีสีให้ท่านได้เลือกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโทนสีอ่อน หรือ บ้านโทนสีเข้มเมทัลชีทนั้น ก็มีครบทุกสี แต่สีหลักๆ ที่เป็นที่นิยมใน การเลือกใช้งานมีดังนี้

1.สีเทา
เป็นสีที่สุดคลาสสิกจึง เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เหมาะกับบ้านสไตล์คราฟท์แมน บ้านสไตล์โคโลเนียล และบ้านสไตล์โมเดิร์น หลังคาเหล็กเมทัลชีทสีเทา จะช่วยเสริมให้บ้านของคุณ นั้นดูมีเสน่ห์ น่าค้นหา น่าอยู่ ดูคลาสสิก สามารถเข้าได้ กับบ้านทุกโทนสี

2.ขาว
เหมาะกับบ้านสไตล์นีโอคลาสสิค และบ้านสไตล์โมเดิร์น สีขาว จะช่วยเสริมให้บ้านดูสะอาดตา ทำให้บ้านดูสว่างไม่ทึบน่าอยู่ ดูหรูมีระดับ สามารถเข้าได้กับทุกโทนสี  บ้านเดี่ยว บ้านแฝด 

3.สีนำ้เงิน
เป็นสีที่ได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก เหมาะกับบ้านสไตล์โมเดิร์น ทาวน์เฮ้าส์ บ้านเดี่ยว เป็นต้น สีน้ำเงิน ช่วยเสริมให้บ้านโดดเด่น สวยงาม มีสไตล์ สามารถเข้ากับ บ้านได้ทุกโทนสี

4.สีแดงอิฐ
เป็นสีที่ได้รับความนิยมอีกหนึ่งสี เพราะเป็นสีที่เลียนแบบ สีอิฐธรรมชาติ เหมาะกับบ้านสไตล์คราฟท์แมน บ้านสไตล์ทิวเดอร์ บ้านสไตล์สเปน และบ้านสไตล์โมเดิร์น สีแดงอิฐ ช่วยเสริมให้บ้าน ของคุณนั้นดูอบอุ่น น่าอยู่ ดูคลาสสิก สามารถเข้า กับบ้านได้ทุกโทนสี

บ้านเมทัลชีทสีแดง

แบบบ้านสุดมั่นกับเมทัลชีทสีแดง

หากพูดถึง ผนังเมทัลชีท เราเชื่อว่าถ้าเป็นหลายปี ก่อนผู้คนยังไม่ค่อยกล้าใช้ เพราะเห็นว่าเป็น แค่แผ่นเหล็กบางๆ กลัวจะไม่ทน กลัวจะขึ้นสนิมหรือเปล่า แต่เวลาพิสูจน์แล้วว่าความนิยม ในการใช้เมทัลชีท ทำหลังคาและผนังเพิ่มขึ้นมากจริง ๆ อาจจะเป็นเพราะสี ลอน การนำไปใช้ที่ตอบโจทย์ได้หลากหลาย ประกอบกับการพัฒนา ผลิตภัณฑ์รุ่นใหม่ที่เหมาะกับ การเป็นผนังบ้านมากขึ้น ทำให้วัสดุชนิดนี้เป็นที่ชื่นชอบได้ไม่ยาก จะพาไปชมบ้านที่เลือกใช้ เมทัลชีทสีแดงสด สะกดทุกสายตาของคน ที่ผ่านไปผ่านมาให้ต้องหยุดมองกัน

“ตระการตา” และ “เขาวงกต” อาจเป็นคำคุณศัพท์ที่ดี ที่สุดในการอธิบายบ้านหลังนี้ ในประเทศอินโดนีเซียดินแดนแห่งวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเรื่องสีสด จึงไม่มีปัญหาเรื่องการ ใช้สีในอาคาร แต่วันนี้ภูมิทัศน์ ที่สดใสอยู่แล้วของดินแดนแห่งนี้ ได้ถูกเสริมให้สะดุดตาขึ้นด้วยบ้านขนาด 170 ตารางเมตร ออกแบบโดยสถาปนิก Ismail Solehudin ที่ใช้สีแดงทั้งหมด ผนังเมทัลชีทลูกฟูก ที่ลดหลั่นกันดูเหมือน ชุดราตรียาวอัดพลีทที่สตรีสวมใส่ในงานกาล่าดินเนอร์ ด้วยเหตุนี้ที่นี่จึงทั้งหรูหรา และฉูดฉาดอยู่เหนือบริบทแวดล้อม ได้อย่างมีสไตล์

บ้านเมทัลชีทสีแดง

การปรับให้เข้ากับทุกความต้องการของการใช้ชีวิตสมัยใหม่

เมื่อเข้ามาภายในจะเห็นว่า พื้นที่ภายในค่อนข้างเล็ก และสูงขึ้นในแนวตั้งที่มี การลดหลั่นระดับไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงต้องคิด ให้ดีเรื่องการบริหารพื้นที่ โดยเฉพาะบันไดที่จะค่อนข้าง กินพื้นที่ของบ้านไม่น้อย หากวางผิดตำแหน่งก็จะ เสียพื้นที่ที่จะใช้งานได้

สถาปนิกจึงเลือกทำ บันไดเหล็กโปร่ง ๆ และตะแกรงเหล็กฉีก ไม่มีลูกตั้งแบบหักกลับ แขวนลอยวนขึ้นไปอยู่อย่างท้าทาย ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า “เขาวงกต” ที่ค่อย ๆ พาไต่ขึ้นไปชั้นบน กลายเป็นหัวใจของบ้านถือเป็นหน้าที่ ที่สำคัญอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะมีส่วนร่วมกับบ้าน ตั้งแต่ชั้นล่างถึงชั้นบนสุด เป็นการปรับให้เข้ากับทุกความต้องการ ของการใช้ชีวิตสมัยใหม่  บ้านเดี่ยว บ้านแฝด 

การตกแต่งภายในชั้นล่าง ดูแล้วไม่เหมือนบ้านทั่วไป เพราะรู้สึกคล้ายกับ เข้ามาในสวนโปร่ง ๆ มีทั้งลานกรวด ต้นไม้ และไม่มีห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ครัวอย่างเป็นทางการแบ่งเป็นห้อง ๆ หรือฟังก์ชันที่คุ้นตาแบบบ้านอื่น แต่ทุกอย่างดูหลวม ๆ สามารถนำโต๊ะเก้าอี้ วางตั้งใช้งานจุดไหนก็ได้ที่สะดวก

บันไดที่ไม่ได้มี เพียงหน้าที่นำทางขึ้น-ลงแต่ละชั้นของบ้านเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของพื้นที่สถาปัตยกรรมด้วย โดยสถาปนิกให้ตัวบันได มีจังหวะการใส่ชานพักสามารถ ใช้นั่งอ่านหนังสือ หยุดพักชมวิว และสนทนากันระหว่างชั้น ซึ่งล้วนเป็นกิจกรรม ที่คาดหวังไว้ที่นี่

บ้านสีแดงบันไดสวย

ขั้นบันไดที่มีรูพรุนยังเป็นทางเลือกเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสภาพอากาศแบบเขตร้อน

เพราะช่องว่างของบันได ช่วยให้อากาศไหลเวียนได้ ดีขึ้นจากด้านล่าง และช่วยลดความชื้นภายใน มองเห็นกันได้อย่างทะลุปรุโปร่ง ไม่รู้สึกว่าการมีบันได จะทำให้บ้านเล็ก แคบ อึดอัดแต่อย่างใด

ภายในบ้านมีห้องพักขนาด 10.3 ตร.ม. แต่ละห้องมีห้องน้ำส่วนตัว และตู้เสื้อผ้าแบบวอล์ก อินขนาดเล็ก ส่วนพื้นที่ใต้หลังคาจะ ถูกนำมาใช้เป็นชั้นลอย เพื่อขยายยูนิตในอนาคต บนหลังคาเปลี่ยน จากวัสดุมุงทึบเป็นหลังคาโปร่งแสง ทำหน้าที่เป็น skylight นำแสงสว่างตามธรรมชาติให้ ส่องลงมาในใจกลางบ้านเหนือบันได ยิ่งทำให้รู้สึกเหมือนดึง เอาความรู้สึกแบบกลาง แจ้งมาเก็บไว้ในบ้าน phuket property

ห้องผนังอิฐตกแต่งสีแดง

ช่องแสง skylight เป็นมิติใหม่ๆ ในการดึงแสงเข้าสู่ตัวบ้าน จากด้านบนหลังคา ซึ่งจะเหมาะมาก กับบ้านที่ผนังติดกับบ้านอื่นทั้งสองด้าน อย่างเช่น ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ที่ทำ ให้มีพื้นที่รับแสงในบ้าน เฉพาะด้านหน้ากับด้านหลัง แสงจึงไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เมื่อเพิ่มช่องแสงจาก ด้านบนแทน จะทำให้บ้านมีความสว่าง ไม่มืด ไม่ชื้น แต่ในบ้านเขตร้อนก็ ต้องระวังในการเลือกวัสดุ กระจกที่ไม่ดูดซับความร้อนมาก และหาตำแหน่งที่ จะติดตั้งให้เหมาะสม เพราะหากติดในส่วน ที่ใช้งานมากในตอนกลางวัน อย่างห้องนั่งเล่น บ้านจะร้อนมาก ๆ จนอยู่ไม่สบาย