ทะเลภูเก็ต

ทะเลภูเก็ต
ทะเลภูเก็ต

ทะเลภูเก็ต

ทะเลภูเก็ต ภูเก็ต เป็นจังหวัดหนึ่งทางภาคใต้ของประเทศไทย และเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ในทะเลอันดามัน จังหวัดที่ใกล้เคียงทางทิศเหนือ คือ จังหวัดพังงา ทางทิศตะวันออก คือ จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ ทั้งเกาะล้อมรอบด้วยมหาสมุทรอินเดีย และยังมีเกาะที่อยู่ในอาณาเขตของจังหวัดภูเก็ตทางทิศใต้และตะวันออก

การเดินทางเข้าสู่ภูเก็ตนอกจากทางเรือแล้ว สามารถเดินทางโดยรถยนต์ซึ่งมีเพียงเส้นทางเดียวผ่านทางจังหวัดพังงา โดยข้ามสะพานสารสินและสะพานคู่ขนาน คือ สะพานท้าวเทพกระษัตรีและสะพานท้าวศรีสุนทร เพื่อเข้าสู่ตัวจังหวัด และทางอากาศโดยมีท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตรองรับ ท่าอากาศยานนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ บ้าน

ประวัติทะเลภูเก็ต

เดิมคำว่าภูเก็ตนั้นสะกดว่า ภูเก็จ ซึ่งแปลได้ว่า เมืองแก้ว จึงใช้ตราเป็นรูปภูเขา (ภู) มีประกายแก้ว (เก็จ) เปล่งออกเป็นรัศมี (ดูตราที่ผ้าผูกคอลูกเสือ) ตรงกับความหมายเดิมซึ่งชาวทมิฬเรียก มณิครัม ตามหลักฐาน พ.ศ. 1568 ภูเก็ตเป็นที่รู้จักของนักเดินเรือที่ใช้เส้นทางระหว่างจีนกับอินเดีย โดยผ่านแหลมมลายู หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดก็คือ หนังสือภูมิศาสตร์และแผนที่เดินเรือของคลอดิอุส ปโตเลมี เมื่อประมาณ พ.ศ. 700 กล่าวถึงการเดินทางจากแหลมสุวรรณภูมิลงมาจนถึงแหลมมลายู ซึ่งต้องผ่านแหลม จังซีลอน หรือเกาะภูเก็ต (เกาะถลาง) นั่นเอง

จากประวัติศาสตร์ไทย ภูเก็ตเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรตามพรลิงก์ อาณาจักรศรีวิชัย สืบต่อมาจนถึงสมัยอาณาจักรนครศรีธรรมราชเรียกเกาะภูเก็ตว่า เมืองตะกั่วถลาง เป็นเมืองที่ 11 ใน 12 เมืองนักษัตร โดยใช้ตราเป็นรูปสุนัข จนถึงสมัยสุโขทัย เมืองถลางไปขึ้นกับเมืองตะกั่วป่า ในสมัยอยุธยา ชาวฮอลันดา ชาวโปรตุเกส และชาวฝรั่งเศส ได้สร้างสถานที่เก็บสินค้าเพื่อรับซื้อแร่ดีบุกจากเมืองภูเก็ต (ถลาง)

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้เกิดสงครามเก้าทัพขึ้น พระเจ้าปดุง กษัตริย์ของประเทศพม่าในสมัยนั้น ได้ให้แม่ทัพยกทัพมาตีหัวเมืองปักษ์ใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช และให้ยี่หวุ่นนำกำลังทัพเรือพล 3,000 คนเข้าตีเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และเมืองถลาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าเมืองถลาง (พญาพิมลอัยาขัน) เพิ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านผู้หญิงจัน ภรรยา และคุณมุก น้องสาว จึงรวบรวมกำลังต่อสู้กับพม่าจนชนะเมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น ท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้รวบรวมหัวเมืองชายทะเลตะวันตกตั้งเป็น มณฑลภูเก็ต และเมื่อปี พ.ศ. 2476 ได้ยกเลิกระบบมณฑลเทศาภิบาล เปลี่ยนมาเป็นจังหวัดภูเก็ต

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ต้นไม้ประจำจังหวัด : ประดู่บ้าน (Pterocarpus indicus)
ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกเฟื่องฟ้า (Bougainvillea)
สัตว์น้ำประจำจังหวัด : หอยมุกจานหรือหอยมุกขอบทอง (Pinctada maxima)

ทะเลภูเก็ต

รีวิวจุดท่องเที่ยวภูเก็ต

ภูเก็ต เมืองท่องเที่ยวยอดฮิต สำหรับผู้ที่ต้องการหนีออกจาก บ้าน มาสัมผัสบรรยากาศของความเป็นทะเลใต้ที่มีความครบและสะดวกสบาย ทั้งที่เที่ยว ชายหาดริมทะเล  เกาะน้อยใหญ่ที่น้ำทะเลสวยใสหาดทรายขาว จุดชมวิวทางทะเลที่สวยงาม สถานที่ทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า ที่สำคัญ เมืองนี้ขึ้นชือในเรื่องอาหารอร่อย โดยเฉพาะเมนูอาหารพื้นถิ่นดั้งเดิม แถมมีคาเฟ่ชิคเก๋มากมาย  ทั้งหมดนี้ทำให้  ภูเก็ต กลายเป็นเกาะสวรรค์สำหรับนักเดินทาง ที่อยากเที่ยวใต้ มองหาความรู้สึกออนเดอะบีชแบบเก๋ ๆ ต้องมา เลือกแวะกันได้เลย  ที่พักภูเก็ตติดทะเล

ย่านเก่าเมืองภูเก็ต
นอกจากความสวยงามขึ้นชื่อในเรื่องของเกาะและทะเลที่สวยงามแล้ว ภูเก็ต คือ เมืองที่มีประวัติศาสตร์และความรุ่งเรืองอันยาวนาน โดยหนึ่งในรอยอดีตอันรุ่งเรือ
งของภูเก็ต คือ ย่านเมืองเก่าภูเก็ตที่เต็มไปด้วยอาคารสไตล์ชิโนโปรตุกีสตลอดสองฝั่งถนน จนเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ตึกเก่าเหล่านี้กระจายอยู่ทั่วตัวเมือง สามารถเดินชมถ่ายภาพได้ home นอกจากนี้ยังมีร้านอาหารอร่อย ร้านกาแฟเก๋ ร้านค้าขายของที่ระลึก ให้เที่ยว ช้อป กินไปอย่างเพลิดเพลิน เมื่อมาถึงภูเก็ต การได้มาเดินชมเมืองเก่าจึงเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวที่ไม่ควรพลาด

Rock Beach Swing
Rock Beach Swing อีกหนึ่งจุดถ่ายภาพริมทะเลแห่งใหม่ล่าสุด ที่มีมุมให้ถ่ายภาพมากมาย ทั้งรังนกสไตล์บาหลี แปลชิงช้า โซฟา แปลริมชายหาด รวมทั้งโซฟาไม้แบบอลังการ และมุมไฮไลท์บันไดสวรรค์สีขาวริมทะเล ไม่ต้องไปไกลถึงบาหลีแค่มาภูเก็ตก็ได้ภาพคูล ๆ แต่งตัวให้แซ่บมาครีเอทท่าสวยกันได้เลย home

หาดนุ้ย ภูเก็ต
หาดนุ้ย หาดเล็กๆที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ตั้งอยู่ระหว่างจุดชมวิวหาดกะรนและหาดในหาน นอกจากจะมีน้ำทะเลสีฟ้าใส หาดทรายขาวละเอียดเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติแล้ว ยังมีจุดเช็คอินให้ถ่ายภาพ ทั้ง รังนกบาหลี ชิงช้าบาหลี หลายจุด เบื้องหน้ามองเห็นวิวทะเลของหาดนุ้ย เรียกได้ว่าเดินหามุมถ่ายภาพกันจนอิ่ม

แหลมกระทิง
แหลมกระทิง อีกหนึ่งจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของภูเก็ต มองเห็นวิวท้องทะเลสีน้ำเงินเข้ม แหลมพรมเทพ และเกาะที่อยู่ตรงหน้า ความพิเศษของจุดชมวิวแห่งนี้ คือ ความงดงามของทุ่งหญ้าสีทองพริ้วไหว และโขดหินน้อยใหญ่ระหว่างทางเดินให้เราได้แทรกตัวในทุ่งหญ้าถ่ายรูปเคล้าแสงยามเย็นได้แบบคูลๆ รวมทั้งก้อนหินไฮไลท์ ยอดแหลมชี้ขึ้นฟ้า ที่ตั้งโดดเด่นยื่นไปทางทะเล ด้วยความสวยงามแปลกตา จุดชมวิวแห่งนี้จึงกลายเป็นจุดชมวิวยอดนิยมที่สุดของนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวภูเก็ต

แหลมพรหมเทพ
แหลมพรหมเทพ จุดชมอาทิตย์ตกที่อยู่ใต้สุดของเกาะภูเก็ตห่างจากตัวเมือง มีลักษณะเป็นแหลมโค้งไล่ระดับทอดตัวสู่ท้องทะเล รอบข้างแวดล้อมด้วยต้นตาลที่ขึ้นแทรกอยู่เรียงรายตาม ต้นหญ้าที่พัดพลิ้วด้านขวาเป็นหาดในหานและเกาะมัน ส่วนด้านซ้ายจะมองเห็นหาดในยะซึ่งเป็นหาดเล็ก ๆโดย ทั่วไป นักท่องเที่ยวไม่ว่าจะเที่ยวหรือพักที่หาดใด พอช่วงใกล้เย็นพากันมาชมพระอาทิตย์ตกที่แหลมพรหมเทพ

จุดชมวิวกังหันลม
จุดชมวิวกังหันลม ตั้งอยู่บนเนินเขาระหว่างหาดยะนุ้ยและหาดในหาน ไม่ไกลจากแหลมพรหมเทพ ในบริเวณที่มีการผลิตกระแสไฟ้ฟ้าจากกังหันลม สามารถมองเห็นวิวทะเลได้กว้างไกลสุดตา จากจุดชมวิวกังหันลมสามารถมองเห็นแหลมพรหมเทพ หาดยะนุ้ย และหาดไนหาน พร้อมกับวิวฉากหน้าที่เต็มไปด้วยดอกหญ้าพริ้วไหว home และยังได้เห็นกังหันลมที่ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้านั้นมีขนาดใหญ่แค่ไหน ในช่วงกลางวันสามารถมองเห็นทะเลสีฟ้าคราม และเกาะที่ทอดยาวจากฝั่งไปยังทะเล เรือยอร์ชที่เรียงรายหลางทะเล กลายเป็นองค์ประกอบที่ลงตัว ในช่วงเวลาเย็นยังเป็นจุดชมพระอาทิตย์ตกได้อย่างสวยงามอีกด้วย

จุดชมวิวเขาช่องขาด
จุดชมวิวเขาช่องขาด เป็นจุดชมวิวอีกแห่งหนึ่ง ของจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่ในอำเภอเมืองในบริเวณ อ่าวมะขามใกล้กับแหลมพันวา จุดชมวิวเขาขาดเป็นจุดชมวิวที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง ของเมืองภูเก็ตที่มีจุดชมวิวมากมาย แต่มีเพียง ไม่กี่แห่งที่สามารถชมวิวได้ 360 องศา และแน่นอนว่าชมวิวได้ 360 องศาอย่างแท้จริงที่นี่คือ “จุดชมวิวเขาขาด” เป็นมุมมองที่มีเสน่ห์ ไม่แพ้จุดอื่นของภูเก็ตเลยทีเดียว

จุดชมวิว 3 อ่าว
จุดชมวิวเขาสามอ่าว อีกหนึ่งจุดชมวิวขึ้นชื่อของภูเก็ต สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเวิ้งอ่าว 3 อ่าว ได้แก่ อ่าวกะตะน้อย อ่าวกะตะ และอ่าวกะรน ซึ่งเป็นทัศนียภาพที่สวยงามมาก จนมักมีคนพูดกันว่า หากใครามาภูเก็ตแล้ว ไม่ได้มาถ่ายภาพที่จุดชมวิวแห่งนี้ ถือว่ามาไม่ถึงภูเก็ต จุดชมวิวสามอ่าวตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางถนนรอบเกาะ จากหาดในหานไปหาดกะตะน้อย บ้าน

วัดฉลอง
วัดฉลอง วัดคู่บ้านคู่เมืองที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต ถ้าใครมา ภูเก็ตจะต้องมาแวะนมัสการ หลวงพ่อแช่ม แห่งวัดฉลอง เพื่อเป็นสิริมงคลแต่ตัวเอง เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ กิตติศัพท์ในการรักษาโรค บุญญาบารมีและเมตตาธรรมที่สูงส่งของหลวงพ่อทำให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก เล่ากันว่าในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นถึงกับมีผู้ที่รอปิดทองตามแขนและขาของท่านจนแลดูเหลืองอร่าม แม้ว่าหลวงพ่อแช่มจะมรณภาพเป็นเวลานับหนึ่งร้อยปีมาแล้วก็ตาม ชื่อเสียงเกียรติคุณ และบารมีของท่านก็อยู่ในความทรงจำของผู้คนสืบมา

พระใหญ่ภูเก็ต
พระพุทธมิ่งมงคลเอกนาคคีรี หรือ พระใหญ่ ภูเก็ต ประดิษฐานอยู่ที่เขานาคเกิด เลยจากวัดฉลองไปไม่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของ จังหวัดภูเก็ตในกลุ่มนักท่องเที่ยว ลักษณะเด่นของพระใหญ่ ได้แก่ พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เห็นได้รอบเกาะภูเก็ต หากคุณมีโอกาสมาเยือนภูเก็ต ควรหาโอกาสไปกราบไหว้ เคารพสักการะที่วัดพระใหญ่บนเขานาคเกิดและชมทัศนียภาพที่สวยงามของเกาะภูเก็ตในมุมสูง บ้าน

วัดพระทอง
ก่อนเข้าตัวเมืองภูเก็ตเลยแวะนมัสการพระทอง (พระผุด) ที่มีตำนานน่าอัศจรรย์และเป็นที่เคารพของชาวภูเก็ต ลักษณะขององค์พระที่นี่แตกต่างจากที่อื่นตรงที่องค์พระมีแค่ช่วงบนหรือช่วงอกเท่านั้นที่อยู่เหนือพื้นดิน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง” เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต เช่น “จังซุ่ย” เสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุก รองเท้าตีนตุกของสตรีเชื้อสายจีนที่ต้องมัดเท้าให้เล็กตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้น