ขายทาวน์เฮ้าส์
ขายทาวน์เฮ้าส์ คำว่าทาวน์เฮ้าส์ (Townhouse) เป็นคำที่เรียกชื่อบ้านประเภท บ้าน แถวที่มีหน้าตาคล้าย ๆ กัน ให้ดูน่าอยู่อาศัยตามแบบฉบับวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งบ้านแถวก็คือห้องแถวหรือตึกแถวที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้พื้นที่กั้นระหว่างบ้านเป็นกำแพงเดียวกัน มีที่ว่างบริเวณด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้ว หรือแนวเขตที่ดินกับตัวอาคาร
ซึ่งส่วนมากจะนิยมออกแบบสร้างบ้านประเภทนี้ด้วยความสูงไม่เกิน 2 ชั้น จุดเด่นของทาวน์เฮ้าส์ คือรูปแบบสังคมขนาดเล็ก ให้ความรู้สึกที่อบอุ่นด้วยพื้นที่ใช้สอยที่ถูกออกแบบมาได้อย่างคุ้มค่ากับราคาเบาๆ ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยแบบครอบครัวขนาดเล็ก และมักไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นสโมสร สระว่ายน้ำ หรือสวนส่วนกลาง โครงการภูเก็ตวิลล่า
ทาวน์เฮ้าส์ กับทาวน์โฮม ต่างกันอย่างไร
ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไลฟ์สไตล์การอยู่อาศัย ในปัจจุบัน นอกจากคอนโดมิเนียมสุดหรู ที่พ่วงด้วยเทคโนโลยี ความทันสมัย สะดวกต่อการเดินทาง และจะดีขึ้นไปอีก หากทำเลนั้น อยู่ในย่านใจกลางเมือง ที่กำลังเนื้อหอมมากๆ ในหมู่คนเมือง แต่นั่นก็ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะยังมีคนเมืองอีกกลุ่ม ที่ถวิลหาที่พักอาศัย ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิต ในบริบทที่ต่างไปจากเดิม ด้วยสเปซที่กว้างขึ้น เป็นส่วนตัวมากขึ้น เพื่อรองรับครอบครัวขยาย และสมาชิกที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่ง บ้าน เดี่ยวอาจไกลเกินเอื้อม ดังนั้น คำตอบคงจะเป็นอะไรไปไม่ได้นอกจากที่พักอาศัยในรูปแบบ “ทาวน์เฮ้าส์” และ “ทาวน์โฮม” ที่กำลังน่าจับตามองเป็นพิเศษในนาทีนี้
หลายคนอาจจะเคยสงสัยว่าระหว่าง ทาวน์เฮ้าส์ และ ทาวน์โฮม นิยามของที่พักอาศัยทั้งสองที่ดูเหมือนว่ามีความคล้ายคลึงทั้งชื่อ และลักษณะการออกแบบภายนอกที่ดูเผินๆ แทบจะไม่แตกต่าง แต่ในความเหมือนนี้มีความต่าง ซึ่งเราหาข้อมูลมาเสิร์ฟให้คุณเพื่อเป็นการทำการ บ้าน ล่วงหน้าก่อนตัดสินใจซื้อ ว่า ทาวน์เฮ้าส์ กับ ทาวน์โฮม นั้น ต่างกันอย่างไร? อะไรที่เหมือนและต่างกันบ้างในแง่ของการออกแบบ รูปลักษณ์ รวมถึงข้อจำกัดต่างๆ ที่มีความเฉพาะเจาะจง
เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะรู้จักคำว่าทาวน์เฮ้าส์ (Townhouse) มาจากรุ่นคุณพ่อคุณแม่จนคุ้นหู จวบจนปัจจุบันก็ยังได้ยินคำนี้อยู่เสมอ โดยทาวน์เฮ้าส์ (Townhouse) เป็นคำที่เรียกชื่อ บ้าน ประเภทบ้านแถวที่มีหน้าตาคล้ายๆ กัน ให้ดูน่าอยู่อาศัยตามแบบฉบับวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งบ้านแถวก็คือห้องแถวหรือตึกแถวที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย ใช้พื้นที่กั้นระหว่างบ้านเป็นกำแพงเดียวกัน มีที่ว่างบริเวณด้านหน้าและด้านหลังระหว่างรั้ว หรือแนวเขตที่ดินกับตัวอาคาร
ส่วนมากจะนิยมออกแบบสร้างบ้านประเภทนี้ด้วยความสูงไม่เกิน 2 ชั้น จุดเด่นของทาวน์เฮ้าส์ คือรูปแบบสังคมขนาดเล็ก ให้ความรู้สึกที่อบอุ่นด้วยพื้นที่ใช้สอยที่ถูกออกแบบมาได้อย่างคุ้มค่ากับราคาเบาๆ ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัยแบบครอบครัวขนาดเล็ก และมักไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นสโมสร สระว่ายน้ำ หรือสวนส่วนกลาง
ส่วนคำว่า “ทาวน์โฮม” (Townhome) พัฒนามาจากคำว่า Townhouse นั่นเอง เป็นคำที่ไม่มีการอธิบายความหมายเป็นหลักฐานชัดเจน และเพิ่งจะถูกเรียกใช้ในช่วงไม่กี่ปีให้หลังมานี้ ในทวีปยุโรปมักนิยมใช้คำว่า Home มากกว่า House เพราะเมื่อฟังแล้วให้ความรู้สึกซอฟท์ สามารถสื่อถึง บ้าน และรับรู้ได้ถึงความรู้สึกอบอุ่น มีชีวิตชีวา มีความเป็นเจ้าของและความเป็นบ้านมากกว่า ด้วยเหตุนี้เจ้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และการทำการตลาดส่วนใหญ่ จึงนิยมหันมาใช้คำว่า ทาวน์โฮมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนิยามที่พอจะให้คำจำกัดความคำว่า ทาวน์โฮม นั้น คือ Townhouse รุ่น Upgrade ได้แก่ ตึกแถวหรือ บ้าน แถวอารมณ์บ้านเดี่ยว ที่มีขนาดใหญ่กว่าทาวน์เฮ้าส์ มีพื้นที่ใช้สอยมากกว่า มีรูปแบบการดีไซน์ที่สวยงามของตัวอาคารภายนอก รวมถึงการวางผังภายในได้ตอบไลฟ์สไตล์ของผู้อยู่อาศัยได้มากกว่า เช่น มีที่จอดรถ มีสวนหลัง บ้าน มีห้องครัว ห้องทำงาน หรือฟังก์ชั่นที่มากกว่าห้องนอนและห้องน้ำ ขนาดตั้งแต่ 2 -3 ชั้นขึ้นไป อยู่ในโครงการที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเหมือนบ้านเดี่ยว เช่น สวนส่วนกลาง สโมสรพร้อมสระว่ายน้ำ หรือฟิตเนส บางโครงการทาวน์โฮม ยังมีระบบสำหรับการเชื่อมต่อ การติดต่อสื่อสาร และเทคโนโลยีเพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย
เทคนิคลงประกาศขายบ้านทาวน์เฮ้าส์ แบบเห็นผลทันใจ
ถึงจะรู้อยู่เต็มอกว่า การขาย บ้าน ไม่ใช่เรื่องหมูๆ เหมือนขายเสื้อผ้ามือสอง หรือ ของออนไลน์ เพราะเป็นสินทรัพย์ก้อนโตที่ไม่ใช่แค่ดูผ่านๆ ก็ตกลงปลงใจซื้อได้ตามอารมณ์ได้ ดังนั้นนอกจากตัวบ้านจะเด่นด้วยทำเล หรือราคาน่าเป็นเจ้าของอาจยังไม่พอ ต้องอาศัยตัวช่วยที่เป็นกระบอกเสียงสำคัญ อย่าง “ ประกาศขายบ้าน ” ซึ่งเปรียบเสมือนป้ายโฆษณา ที่เจ้าของบ้าใช้นำเสนอข้อมูล
ให้ลูกค้ารู้สึกปังตั้งแต่แรกเห็น แถมอ่านแล้วโน้มน้าวใจ จนมีโอกาสสูงที่จะนำไปสู่การปิดการขาย ทว่า ไม่ใช่ทุก ประกาศขายบ้าน จะทำหน้าที่ได้อย่างเต็มภาคภูมิ ประกาศขายบ้าน ของหลายคนจึงมักนก ลองไปดู 7 เทคนิคง่ายๆ ที่คัดสรรมาแล้วว่าไม่เพียงได้ผล แต่ไม่ว่าใครก็ทำได้จริงกัน
1.บอกให้เคลียร์จะขายอะไร หัวใจสำคัญของการเขียน ประกาศขายบ้าน ให้ปังและบังเกิดผล คือ สื่อสารให้ชัดเจนตรงประเด็น ต้องการขาย ให้เช่า หรือ ขายดาวน์ บ้าน หรือคอนโด ย่านไหน ราคาเท่าไหร่ มีจุดเด่นอะไรที่คิดว่าว่าที่ลูกค้าควรรู้ หรือรู้แล้วต้องอ่านต่อไม่พอ อาจจะต้องรีบตัดสินใจทำอะไรซักอย่าง เพื่อไม่ให้โอกาสงามๆ นี้หลุดลอยไปลงไปให้ประกาศให้เคลียร์
2.ข้อความดีไม่พอ ต้องเรียกแขกด้วยรูปที่เห็นแล้วชวนให้สะดุด กลั่นกรองประโยคสวยหรูมาบอกเล่าสรรพคุณของ บ้าน ที่จะประกาศขายแบบไม่มียั้งแล้ว อย่ามองข้ามองค์ประกอบสำคัญอย่างการเลือกรูปประกอบ เพื่อพาให้จินตนาการของว่าที่ลูกค้าล่องลอยไปด้วยกัน เทคนิคง่ายๆ ในการถ่ายรูป
นอกจากจะจัดบ้านให้เป็นระเบียบเรียบร้อย สะอาดสะอ้าน ดูอบอุ่น น่าอยู่แล้ว อาจใช้เทคนิคการถ่ายภาพช่วย เช่น การจัดไฟสีเหลืองเพื่อให้บรรยากาศในบ้านดูละมุน ท่องไว้ว่า ยิ่งภาพสวยก็เหมือนคนสวยหล่อ มักดึงดูดสายตาและความสนใจได้มากกว่าภาพถ่ายที่ธรรมดา หรือ ไม่สามารถบอกเล่าเรื่องราวในภาพได้
3.ตั้งราคาให้น่าทำการค้าด้วย ขึ้นชื่อว่าการค้าย่อมมีกำไรเป็นตัวตั้งก็จริง แต่ถ้าอยากได้ใจลูกค้า กำไรที่ว่า ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำว่าเหมาะสม ยุคดิจิทัลแบบนี้ การจะเช็คราคาว่า บ้านในย่านเดียวกัน รูปแบบใกล้เคียงกัน มีราคาตลาดอยู่ที่เท่าไหร่ไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่รู้แล้วอย่าลืมนำมาเป็นเกณฑ์ในใจเวลาตั้งราคาด้วย นึกถึงใจเขาใจเราเข้าไว้ home
4.อย่าโฆษณาเกินจริง เข้าใจว่าเวลาขายของ เพื่อซื้อใจลูกค้า ก็ต้องอวยของที่มีให้เต็มที่ แต่ข้อพึงระวังคือ ใน ประกาศขายบ้าน อาจเลือกบอกเฉพาะจุดเด่นที่สำคัญๆ ของ บ้าน ก่อน ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอาจเลือกบอกตอนที่มีการพูดคุยเจรจาในขั้นต่อไป
5.สวมวิญญาณ seo บนโลกออนไลน์ ผู้ที่แข็งแกร่งที่สุดเท่านั้น คือ ผู้ที่สามารถช่วงชิงความได้เปรียบไปครอง เพราะฉะนั้น ถ้าไม่อยากให้ ประกาศขาย บ้าน จมอยู่ในกองทัพของประกาศขายบ้านออนไลน์มากมาย คุณอาจทำการบ้านเพิ่มสักนิด เพื่อศึกษาว่าโครงการบ้านที่จะขาย ควรใช้คำค้นหาอย่างไร เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ หรือควรใช้คีย์เวิร์ดอย่างไรเพิ่มเติมเข้าไป เพื่อให้ว่าที่ลูกค้าค้นหาประกาศขายบ้านของคุณเจอ
6.เลือกเว็บไซต์ให้เหมาะ หลังจากทำ ประกาศขาย บ้าน อย่างดีแล้ว อย่าตกม้าตายด้วยการเลือกช่องทางที่ไม่ตอบโจทย์ จินตนาการว่าเหมือนผลิตสินค้ามาชิ้นหนึ่ง แล้วควรจะไปวางขายที่ไหน ถึงจะเหมาะกับสินค้า ยกเว้นว่าไปเจอเว็บฝากลงประกาศฟรี หากจะเลือกหว่านไปก่อนก็ไม่ใช่ปัญหา
7.หมั่นเช็คเรตติ้ง หลังจากลง ประกาศขายบ้าน แล้ว อย่าทำเหมือนตัดเยื่อใย ไม่เหลียวแล อย่างน้อยควรหมั่นเข้ามาเช็คเรตติ้งดูว่ามีใครมาสนใจประกาศขาย บ้าน ที่ลงไปบ้าง ไม่แน่ว่าอาจมีว่าที่สนใจส่งข้อความมาขอข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการตัดสินใจ หรือ ต่อให้อย่างน้อยเขามาแล้วผิดหวังเพราะ ประกาศขายบ้าน ที่ลง แทบจะเป็นโพสต์ร้างไม่มีใครสนใจ ก็อย่าท้อ อาจลองกลับมาทบทวนใหม่ว่าทำอะไรพลาดไปหรือเปล่า
ทั้งหมดนี้คือ เทคนิคไม่ยาก ซึ่งใครที่คิดจะลง ประกาศขาย บ้าน ให้ได้ผลดั่งใจทำตามได้ อย่างน้อยลง ประกาศขายบ้าน ครั้งหน้าก็ไม่ต้องกลัวนกอย่างแน่นอน
ปัจจัยในการตัดสินใจ ซื้อทาวน์เฮ้าส์ เพื่อการลงทุน
ทาวน์เฮ้าส์มักจะอยู่ใกล้เขตชุมชนมากกว่า บ้าน เดี่ยว มีพื้นที่กว้างขวางกว่าคอนโดและสามารถรองรับได้ทั้งครอบครัว พื้นที่ใช้สอยในบ้านค่อนข้างเยอะ (อาจจะเยอะกว่าบ้านเดี่ยวด้วยซ้ำไป สำหรับทาวน์เฮ้าส์ 4 ชั้น) แต่มีราคา และค่าเช่าที่ถูกกว่าบ้านเดี่ยว การปล่อยเช่าทาวน์เฮ้าส์จึงทำได้ง่ายกว่า เหมาะกับผู้เช่าที่ต้องการที่พักอาศัยสำหรับครอบครัวที่กำลังขยาย แต่ยังไม่พร้อมสำหรับการมีบ้าน หรือในบางทำเลการเช่าทาวน์เฮ้าส์อาจจะเป็นไปเพื่อการทำธุรกิจเป็นหลัก เช่น เปิดชั้นล่างเป็นร้านขายอาหาร ในแหล่งชุมชน หรือตลาด เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม นักลงทุนยังคงต้องมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทาวน์เฮ้าส์ให้อยู่ในสภาพดี แต่อาจจะไม่มากเท่ากับในกรณีของบ้านเดี่ยว สำหรับปัจจัยในการเลือกซื้อทาวน์เฮ้าส์นั้น นอกจากเรื่องทำเลแล้ว ควรให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม และเพื่อนบ้านด้วย เพราะ บ้าน ในโครงการทาวน์เฮ้าส์ มักเป็นชุมชนที่หนาแน่นกว่าบ้านเดี่ยว ซึ่งมีแนวโน้มที่จะพบปัญหาเรื่องของเพื่อนบ้าน เสียงรบกวน การจอดรถ หรือแม้แต่เรื่องปลวก บ้านจัดสรรภูเก็ต
จะเห็นได้ว่า การลงทุนในบ้านเดี่ยวกับทาวน์เฮ้าส์มีกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกัน การตัดสินใจเลือกลงทุนควรคำนึงถึงทำเลที่ตั้ง ความเป็นส่วนตัว ราคาที่จะปล่อยเช่าได้ หรือโอกาสในการขายต่อเพื่อทำกำไร อย่างไรก็ตาม การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ถือได้ว่าเป็นการลงทุนระยะยาวที่มีสภาพคล่องต่ำ ทั้งยังมีค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาอีกด้วย ซึ่งนอกจากการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์โดยตรงแล้ว การลงทุนในกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ก็เป็นอีกหนึ่งช่องทางการลงทุนที่มีความผันผวนไม่สูงมาก และได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอในลักษณะเช่นเดียวกับการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แต่ไม่ต้องมีภาระในการดำเนินการจัดการดูแลทรัพย์สินด้วยตัวเอง