แบบบ้านสอง ชั้น

แบบบ้านสอง ชั้น
แบบบ้านสอง ชั้น

แบบบ้านสอง ชั้น

แบบบ้านสอง ชั้น จริง ๆ แล้วการจะสร้างบ้านแบบใดนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับจำนวนผู้อยู่อาศัย พื้นที่ใช้สอยที่ต้องการ และความพึงพอใจเป็นหลัก แต่เมื่อคุณตัดสินใจไม่ได้สักที บ้านชั้นเดียวก็อยากสร้าง บ้านสองชั้นก็อยากอยู่ บ้าน วันนี้ จึงได้ลองเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียของบ้านทั้ง 2 แบบมาให้ทุกท่านได้อ่านและทำความเข้าใจก่อน ถ้าพร้อมแล้ว..อ่านกันเล้ยยย

ข้อดีของบ้านชั้นเดียว

ข้อดีของบ้านชั้นเดียว
  • เริ่มต้นด้วยงบประมาณที่น้อยกว่า: สามารถออกแบบให้เป็นบ้านหลังเล็กหรือขนาดกระทัดรัดได้ โครงสร้างหลักของ บ้าน ไม่ซับซ้อนมากนัก หากเปรียบเทียบกับการสร้างบ้าน 2 ชั้น ค่าก่อสร้างเริ่มต้นย่อมสูงกว่า จึงเหมาะกับผู้ที่เริ่มต้นครอบครัวใหม่และมีงบประมาณจำกัด แต่ต้องการมีที่อยู่อาศัยหรือบ้านหลังใหม่ อย่างไรก็ดี บ้านชั้นเดียวก็ไม่ได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นบ้านขนาดเล็กเท่านั้น
  • 2. เหมาะสำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุและผู้ที่นั่งวีลแชร์: เพราะห้องต่าง ๆ และพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านถูกรวบรวมไว้ครบในชั้นเดียว ทำให้พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ของเรา ไม่ต้องปวดเมื่อยหรือเสี่ยงกับอุบัติเหตุจากการขึ้นลงบันได ผู้ที่นั่งวีลแชร์ยังสามารถไปยังห้องต่าง ๆ เองได้สะดวก ช่วยให้พวกท่านไม่อึดอัดและรู้สึกพึ่งพาตัวเองได้ นอกจากนี้ บ้านชั้นเดียว ยังเหมาะกับครอบครัวที่มีเด็กเล็ก ๆ ซึ่งเป็นวัยกำลังซุกซน ทำให้ไม่ต้องกังลหรือเฝ้าระวังว่า เด็ก ๆ จะปีนป่ายบันไดและผลัดตกลงมาได้รับบาดเจ็บ
  • 3. สะดวกในการขนย้ายเฟอร์นิเจอร์: ไม่ต้องลำบากยกเฟอร์นิเจอร์ขึ้น-ลงบันได บ้าน จึงช่วยทุ่นแรงได้มากสำหรับเฟอร์นิเจอร์ชิ้นใหญ่ ๆ หรือกับผู้ที่อาศัยอยู่บ้านคนเดียว และยังช่วยลดโอกาสที่เฟอร์นิเจอร์จะชำรุดเสียหายระหว่างเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ อีกด้วย
  • 4. ดูแลง่าย: บ้านชั้นเดียวทำความสะอาดและบำรุงรักษาได้ง่ายกว่า ทั้งยังใช้เวลาไม่นานจนเกินไป นอกจากนี้ หากต้องซ่อมบำรุงส่วนต่าง ๆ ภายนอกบ้าน อาทิ ซ่อมหลังคา ทาสีบ้านใหม่ ทำความสะอาดผนัง ก็สามารถทำได้สะดวกกว่า ไม่ต้องปีนบันไดสูง ๆ เพื่อขึ้นไปยังชั้นสอง และไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุตกจากที่สูง ๆ มากนัก
  • 5. ตกแต่ง/ต่อเติมพื้นที่ง่าย: เพราะโครงสร้างบ้านชั้นเดียวไม่ซับซ้อน หากมีพื้นที่มากพอก็สามารถต่อเติมและดัดแปลงพื้นที่ได้สะดวกกว่า

ข้อเสียของบ้านชั้นเดียว

ข้อเสียของบ้านชั้นเดียว
  • 1.ใช้พื้นที่ดินค่อนข้างมาก: การสร้างบ้านชั้นเดียวจะต้องใช้ที่ดินมากกว่าการปลูกบ้านสองชั้น จึงจะได้พื้นที่ใช้สอยภายในบ้านตามต้องการ ซึ่งคุณอาจจะต้องเสียเงินค่าซื้อที่ดินเพิ่มมากขึ้น และหากมีพื้นที่น้อยเกินไปก็อาจจะขยับขยายหรือต่อเติมได้ยากในอนาคต
  • การถ่ายเทความร้อนภายในบ้าน: เพราะเพดานภายในบ้านหรือทุกห้องอยู่ติดกับหลังคา ความร้อนจากหลังคาจึงแผ่เข้าโดยตรงในทุกพื้นที่ใช้สอยของตัวบ้าน เมื่อเปรียบเทียบกับบ้านสองชั้นที่รับความร้อนจากหลังคาเฉพาะชั้นบน ซึ่งถ้าเป็นช่วงฤดูร้อนอากาศภายในบ้านก็จะร้อนอบอ้าวมาก ดังนั้นจึงควรต้องป้องกันความร้อนด้วยการติดฉนวนกันความร้อนบนฝ้าเดดาน หรือติดแผ่นสะท้อนความร้อนที่ใต้กระเบื้องหลังคา หรือเลือกใช้กระเบื้องหลังคาที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน รวมทั้งออกแบบบ้านให้มีช่อเปิดประตู-หน้าต่างโดยรอบให้มากพอ เพื่อให้อากาศถ่ายเทหรือมีลมพัดผ่านได้ดี
  • ปัญหาน้ำท่วมและความชื้น: บ้านชั้นเดียวมักยกพื้นไม่สูงจากพื้นดินมากนัก จึงเสี่ยงกับปํญหาน้ำท่วมบ้านได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำท่วมบ่อยครั้ง การไม่มีพื้นที่ใช้สอยชั้นบนที่สามารถขนย้ายเครื่องใช้ภายในบ้านหรือทรัพย์สินไปเก็บไว้สูง ๆ อาจทำให้ทรัพย์สินภายในบ้านเสียหายได้หากเกิดภัยน้ำท่วม นอกจากนี้ยังมีเรื่องความชื้นของดิน ที่อาจจะส่งผลเสียต่อวัสดุตกแต่งพื้น-ผนัง อาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องปลวกและเชื้อรา อันมีสาเหตุมาจากความชื้นของผืนดิน ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยการสร้างบ้านในลักษณะที่ยกพื้นบ้านให้สูงจากพื้นดินประมาณ 0.80-1.20 เมตร เพื่อช่วยลดปัญหาดังกล่าว
  • ความปลอดภัย : บางครั้งอาจถูกรบกวนด้วยสัตว์เลื้อยคลาน แมลง หรือโจรผู้ร้าย เข้าสู่ตัวบ้านได้ง่าย จึงควรทำรั้วบ้านให้แข็งแรง ติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ป้องกันภัย และปิดบ้านให้มิดชิดทุกครั้ง เมื่อเข้านอนหรือไม่มีคนอยู่บ้าน
  • ความเป็นส่วนตัวค่อนข้างน้อย : ด้วยพื้นที่ใช้สอยอันจำกัดของตัวบ้าน ทุกห้องถูกแบ่งสรรไว้ที่ชั้นเดียวกันหมด หากมีแขกหรือญาติมาเยี่ยม หรือมาขออาศัยอยู่ด้วย อาจเข้าถึงห้องนอนหรือห้องสำคัญของคุณได้ง่าย ฉะนั้น การออกแบบบ้านและพื้นที่ใช้สอย จึงควรแบ่งสรรพื้นที่ใช้สอยให้ดี ๆ Home

บ้านสองชั้น

บ้านสองชั้น
  • ข้อดีของบ้านสองชั้น
  • เหมาะสำหรับผู้มีพื้นที่สร้างบ้านจำกัด: บ้านสองชั้นนับว่าตอบโจทย์อย่างยิ่ง หากคุณมีที่ดินขนาดเล็กแต่มีความต้องการพื้นที่ใช้สอยภายในบ้านที่มากพอ สำหรับสมาชิกในครอบครัว แม้งบประมาณเริ่มต้นก่อสร้างจะสูงกว่าบ้านชั้นเดียว แต่บ้านของคุณจะได้พื้นที่ใช้สอยเพิ่มอีกเป็นเท่าตัว จากขนาดที่ดินที่ใช้ก่อสร้างเท่า ๆ กัน ที่สำคัญคือ บ้านสองชั้นจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับที่ดินมากกว่าบ้านชั้นเดียว
  • 2. เหมาะกับครอบครัวขนากลาง - ใหญ่: บ้านสองชั้นมีพื้นที่ใช้สอยมากและมีการแบ่งชั้นชัดเจน จึงสามารถจัดสรรพื้นที่ใช้สอยหรือห้องต่าง ๆ ได้อย่างเป็นสัดส่วน แม้สมาชิกครอบครัวจะมีหลายคน แต่ก็อยู่อาศัยได้โดยไม่อึดอัด
  • 3. การแบ่งสัดส่วนห้อง: สามารถแบ่งสัดส่วนห้องต่าง ๆ ให้เหมาะกับการใช้งานได้ดีและสะดวกกว่า เช่น ชั้นบนก็ให้ความเป็นส่วนตัวอย่างสบายใจ ไม่โดนรบกวนจากสภาพแวดล้อม เสียง ฝุ่น และอากาศถ่ายเทได้ดี จึงควรออกแบบเป็นห้องนอน ห้องทำงานส่วนตัว และหากบ้านไหนมีเฟอร์นิเจอร์หรือข้าวของเครื่องใช้เยอะ ยังสามารถแบ่งพื้นที่จัดเก็บได้ง่าย ดูเรียบร้อยหรือสะอาดกว่าบ้านชั้นเดียว
  • 4 ปลอดภัย: บ้านสองชั้นสามารถช่วยป้องกันอันตรายจากสัตว์เลื้อยคลาน แมลง และโจรผู้ร้ายได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ก็ยังต้องระมัดระวัง โดยติดตั้งรั้ว และปิดบ้านให้เรียบร้อยอยู่เสมอ
  • ข้อเสียของบ้านสองชั้น

ไม่สะดวกสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่นั่งวีลแชร์: บ้านสองชั้นส่วนใหญ่มีห้องนอนอยู่ชั้นบน อาจทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่นั่งวีลแชร์ต้องลำบากและเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการขึ้นลงบันได กรณีที่ทำห้องนอนไว้ชั้นล่างสำหรับผู้สูงอายุ หากเราพักอยู่ชั้นบนของบ้าน เมื่อท่านต้องการความช่วยเหลืออาจไม่สะดวกนัก สำหรับสมาชิกที่ต้องดูแลผู้สูงอายุแล้วนอนอยู่ห้องนอนชั้นบน การจะสร้างบ้านชั้นเดียวหรือบ้านสองชั้นนั้น

แน่นอนว่า… ต้องดูการใช้งานของเจ้าของบ้านเป็นหลัก ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวัน สมาชิกภายในบ้าน พื้นที่ที่จะก่อสร้าง รวมไปถึงงบประมาณ และเมื่อทุกท่านตัดสินใจเลือกบ้านที่ “ฟังก์ชั่น” เหมาะกับการใช้ชีวิตของตัวเองได้แล้ว น้องพีดี ก็ขอให้สนุกกับการ “ดีไซน์” บ้านให้สวยถูกใจนะครับ

เปรียบเทียบ บ้านชั้นเดียว เล่นระดับกับบ้านสองชั้น

แบบบ้านสอง ชั้น

จากคำถาม : พอดีวางแผนจะสร้างบ้าน ขนาดประมาณ 200 ตารางเมตร 4 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องรับแขก ตอนนี้กำลังลังเลว่าจะสร้างแบบไหนดีระหว่างสองชั้นกับ บ้านชั้นเดียว ต่างระดับ อยากสอบถามผู้รู้ว่าในแง่ของค่าใช้จ่ายแบบไหนราคาถูกกว่ากัน ในกรณีที่ใช้วัสดุเกรดเดียวกัน

คลายข้อสงสัย : จากที่เจ้าของกระทู้ได้ถามมาเรื่องค่าใช้จ่ายระหว่างบ้านชั้นเดียวเล่นระดับ กับบ้านสองชั้นกรณีใช้วัสดุเกรดเดียวกัน ขอตอบเป็น 2 แบบ

  • แบบแรก ถ้าบ้านชั้นเดียวเล่นระดับโครงสร้าง กับบ้านสองชั้น : บ้านสองชั้นจะถูกกว่า
  • แบบสอง ถ้าบ้านชั้นเดียวเล่นระดับสเปซภายใน กับบ้านสองชั้น : บ้านชั้นเดียวเล่นระดับจะถูกกว่า

แต่อย่างไรค่าใช้จ่ายการก่อสร้างทั้งสองแทบไม่แตกต่างกันมากนัก ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ของเจ้าของกระทู้ ไม่ว่าเป็นผู้พักอาศัย การใช้ภายในบ้าน ไลฟ์สไตล์ของผู้พัก ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีผู้สูงอายุพักอาศัยอยู่ด้วย บ้านเล่นระดับคงไม่เหมาะเท่าไหร่นัก ควรเป็นบ้านสองชั้นแล้วจัดการชั้นล่างให้มีห้องสำหรับผู้สูงอายุ เป็นต้น ถ้าหากเจ้าของกระทู้อยากเข้าใจให้ชัดยิ่งขึ้น เราจะมาทำความเข้าใจ และเปรียบเทียบของบ้านทั้งสองแบบให้เข้าใจชัดๆ ตามนี้

  • บ้านเล่นระดับชั้นเดียว

เมืองไทยมักจะไม่นิยมเล่นระดับทำชั้นใต้ดินเหมือนบ้านทางฝั่งยุโรป แต่ก็นำการเล่นระดับนี้มาใช้ในการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยให้กับบ้าน จึงประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างมากกว่าบ้านปกติในจำนวนชั้นเท่ากัน และเป็นการแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วนโดยไม่รู้สึกอึดอัด เพราะทัศนวิสัยของบ้านสองฝั่งดูเชื่อมต่อเป็นบริเวณเดียวกัน

รวมทั้งระยะทางในการเดินขึ้นแต่ละชั้นก็ไม่ได้สูงมากเท่าบันไดบ้านปกติ นอกจากในเรื่องของการใช้งานแล้ว บ้านเล่นระดับยังสร้างมิติให้บ้านดูมีลูกเล่นสนุกสนานมากขึ้น ซึ่งบ้านเล่นระดับมีอยู่หลายแบบ เช่น

  • บ้านเล่นระดับกับโครงสร้าง
  • บ้านเล่นระดับกับบันได
  • บ้านเล่นระดับกับสเปซภายใน
  • บ้านเล่นระดับกับหน้าตาภายนอก
ข้อดี
  • ช่วยพื้นที่ภายในบ้านโปร่งโล่ง ไม่ทึบตัน และอากาศไหลเวียนได้สะดวก
  • ให้บ้านดูมีลูกเล่นสนุกสนานมากยิ่งขึ้น และยังดูสวย ทันสมัยอีกด้วย
  • พื้นที่เก็บของเพิ่มขึ้น ส่วนที่ยกระดับขึ้นมาจะมีพื้นที่ว่าง แบบบ้านที่ยกพื้นไล่ระดับบางหลังจะนิยมทำช่องเก็บของ
ข้อเสีย
  • ไม่เหมาะสำหรับที่มีเด็ก และผู้สูงอายุอาศัยอยู่ เพราะอาจเกิดอันตรายในการเดินมาภายในบ้านได้ แต่สามารถแก้ได้โดยใช้การเล่นระดับกับบันได เพราะรูปแบบบันไดจะแบ่งพื้นที่ให้เห็นชัดเจนกว่า และมีความสูงแค่เพียงครึ่งชั้นจึงสะดวกสบายกว่าการขึ้นบันไดยาวๆ เหมือนหลายชั้นแบบปกติ
  • การแบ่งโซนอาจไม่ชัดเจนเท่าบ้านสองชั้น เช่น พื้นที่ส่วนตัว ถ้าบ้านสองชั้น ชั้นล่างอาจเป็นพื้นที่รับแขก ส่วนชั้นบนอาจเป็นเป็นห้องนั่งเล่น และห้องนอนซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนตัวของเรา
  • บ้านสองชั้น

ข้อดี

  • ถ้าจำนวนคนในบ้านอาศัยอยู่เยอะ บ้านสองชั้นตอบโจทย์การอยู่อาศัยได้ดีกว่า
  • การแบ่งสัดส่วนห้องได้สะดวก และมีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับบ้านชั้นเดียวในขนาดพื้นที่เดียวกัน
  • มีความเป็นส่วนตัว อาทิ ห้องที่อยู่ชั้นบนจะไม่ค่อยถูกรบกวนจากสภาพแวดล้อมภายนอก
ข้อเสีย
  • สำหรับผู้สูงอายุ บ้านสองชั้นส่วนใหญ่มีห้องนอนอยู่ชั้นบน อาจทำให้ผู้สูงอายุต้องลำบากและเสี่ยงต่ออุบัติเหตุในการขึ้นลงบันได กรณีนี้จึงควรทำห้องนอนไว้ชั้นล่างด้วย

แบบบ้านสองชั้น พื้นที่น้อย ราคาประหยัด ไม่เกิน 3 ล้านบาท

แบบบ้านสองชั้น

  แม้มีพื้นที่จำกัด แต่ก็สร้างความสุขให้ครอบครัวได้ง่าย ๆ ด้วยแบบบ้านสองชั้น ซึ่งแยกพื้นที่ส่วนกลางและส่วนตัวออกจากกันอย่างชัดเจน อยากจะปรับเปลี่ยนห้องไว้รองรับชีวิตหลังเกษียณหรือให้พ่อ-แม่มาอยู่ด้วยก็ไม่ยาก หากเป็นครอบครัวละก็ ถือว่าแบบบ้านสองชั้นนี่แหละกำลังดี เพราะแม้สมาชิกจะเยอะ แต่ก็ยังสามารถสร้างมุมส่วนตัวได้ เอาเป็นว่าหากใครมองหาแบบบ้านสองชั้นสวย ๆ อยู่ ก็ตามเราไปชมพร้อม ๆ กันเลยค่ะ

  • 1. แบบบ้านธงฟ้า 3

          พื้นที่ใช้สอย 127 ตารางเมตร ขนาดเส้นรอบบ้าน 7.00×7.50 เมตร ขนาดที่ดิน 32 ตารางวา (11.00×11.50 เมตร) (กว้างxลึก) ชั้นบนประกอบด้วย 3 ห้องนอน และห้องน้ำส่วนกลาง ชั้นล่างประกอบด้วย ห้องครัว ห้องกินข้าว ห้องนั่งเล่นรวมในพื้นที่เดียวกัน ห้องน้ำ ห้องซักล้าง และที่จอดรถ 1 คัน ราคาค่าก่อสร้าง 2,188,000 บาท

– แบบบ้าน :ธงฟ้า 3 (3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ที่จอดรถ)
– บริษัทรับสร้างบ้าน : ซีคอนโฮม (Seaconhome)
– โทรศัพท์ : 02-237-2900

  • 2. แบบบ้าน Tiny 05

          แบบบ้านสองชั้นหน้าแคบ พื้นที่ใช้สอย 144.35 ตารางเมตร ขนาดที่ดิน 40.26 ตารางวา (9.70×16.60 เมตร) (กว้างxลึก) ชั้นบนประกอบด้วย ห้องนอนใหญ่มีระเบียง ห้องนอน ห้องอเนกประสงค์ และห้องน้ำส่วนกลาง ชั้นล่างประกอบด้วย ห้องครัว พื้นที่ซักล้างด้านหลัง ห้องกินข้าว และห้องนั่งเล่นมีระเบียง ที่จอดรถ 2 คัน ราคาค่าก่อสร้าง 2,378,000 บาท บ้านดีมีดาวน์

– แบบบ้าน : Tiny 05 (2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ 1 ที่จอดรถ)
– บริษัทรับสร้างบ้าน : เพอร์เฟค บิลเดอร์ 2001 (Perfect Builder 2001)
– โทรศัพท์ : 02-887-3033 ถึง 5