แบบบ้านนอร์ดิก

แบบบ้านนอร์ดิก
แบบบ้านนอร์ดิก

แบบบ้านนอร์ดิก

แบบบ้านนอร์ดิก บ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic House Style) เป็นรูปแบบบ้านที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมของยุโรปตอนเหนือ ถือเป็นอีกหนึ่งสไตล์บ้านที่กำลังเป็นที่พูดถึงมาก อยู่ในขณะนี้ โดยเฉพาะใครที่ หลงใหล ตกหลุมรัก บ้านดีไซน์สวย เรียบง่าย และชวนผ่อนคลาย รวมถึงการออกแบบที่เหมาะสมกับผู้อยู่อาศัย Nordic House Style คือสไตล์บ้านในฝันที่หลายๆคนหลงใหลและกำลังมองหาอยู่แน่นอนนอร์ดิกเป็นสไตล์บ้านแถบคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย โดยประเทศที่อยู่ในกลุ่มนอร์ดิก ได้แก่ สวีเดน, ฟินแลนด์, ไอซ์แลนด์, นอร์เวย์ เดนมาร์ก และเกาะกรีนแลนด์ บ้านแนวนอร์ดิกจะมีเอกลักษณ์ในเรื่องของความอบอุ่น เรียบง่าย เน้นความโปร่งโล่ง และมีจุดเด่นก็คือรูปทรงจั่วคล้ายกับโรงนาในยุโรป เน้นความเป็นธรรมชาติของสีและวัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงประโยชน์ใช้สอยมากกว่าความสวยงาม การออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกจึงมักมีด้านที่เป็นกระจกช่วยเพิ่มแสงสว่างและความอบอุ่น ปัจจุบันบ้านสไตล์นอร์ดิกได้มีการประยุกต์และผสมผสาน กับ ทั้งสไตล์มินิมอล สไตล์โมเดิร์น สไตล์ลอฟต์ปูนเปลือย หรือจะไปแนวสไตล์หรูหราก็เป็นที่นิยมอย่างมาก โครงการภูวิลล่า ภูเก็ต

แบบบ้านนอร์ดิก

ข้อดีและลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิก (Nordic house Style)


การออกแบบตัวอาคารลักษณะเป็นทรงเรขาคณิตที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนหรือเกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ หลังคาทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่ง สบาย การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความสวยงาม เน้นช่องแสงจากกระจกในการรับแสงจากธรรมชาติ

การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติจะช่วยให้น้ำฝนไหลลงด้านล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจนเกิดการรั่วซึมได้ง่าย นอกจากนี้โครงหลังคาที่สูงยังช่วยให้ภายในตัวบ้านโปร่งโล่ง อากาศร้อนลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงได้ดี หากเสริมช่องระบายอากาศเพิ่มจะเอื้อให้อากาศถ่ายเทสะดวก ภายในบ้านอยู่เย็นสบายตลอดเวลา

หากพูดถึงรูปแบบบ้านที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในตอนนี้ คงหนีไม่พ้นกับ “Nordic House Style” หรือ “บ้านสไตล์นอร์ดิก” ที่โดดเด่นทั้งในเรื่องของดีไซน์ที่สวยงาม ความเรียบง่ายสบายตาที่ตัดทอนสิ่งที่ไม่จำเป็นออก แต่ในขณะเดียวกันก็เน้นการใช้งานได้จริง รวมถึงให้ความสำคัญกับการอยู่อาศัย ด้วยการใช้แสงธรรมชาติให้เราสามารถใช้ชีวิตได้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้มากยิ่งขึ้น บ้านสไตล์นอร์ดิก จึงตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ของผู้คนยุคใหม่ และสะท้อนตัวตนของผู้อาศัยที่ต้องการชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีได้อย่างลงตัว บ้าน


“หลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิก” การออกแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว

แต่แม้บ้านสไตล์นอร์ดิกจะมีดีไซน์ดูสวยงามเรียบง่าย ปราศจากเส้นสายให้รู้สึกรกรุงรัง แต่สำหรับในแง่ของการก่อสร้างนั้นกลับมีองค์ประกอบสำคัญที่เราไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะเมื่อเราต้องการบ้านสไตล์นอร์ดิกที่สวยสมบูรณ์แบบ และสามารถอยู่อาศัยได้โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหาที่จะตามมาภายหลัง

อย่างการเลือก “หลังคาบ้าน” ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ เพราะหลังคาคือส่วนที่ปกป้องคุ้มกันบ้านทั้งหลัง ในขณะที่ด้านดีไซน์ หลังคาไม่ต่างจากมงกุฎของบ้านที่สะท้อนสไตล์ให้เห็นตั้งแต่สถาปัตยกรรมภายนอก ดังนั้นหากต้องการบ้านสไตล์นอร์ดิกที่ตอบโจทย์ทั้งด้านดีไซน์มินิมอล และการใช้งานที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาตามมาภายหลัง วันนี้เราเลยขอมาเล่าสู่กันฟังกับ 4 ข้อควรระวังเรื่องหลังคาทั้งด้านการออกแบบและการติดตั้งที่เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม ซึ่งหากเราใส่ใจรายละเอียดทั้งการติดตั้ง จุดเสี่ยง และการออกแบบตั้งแต่เริ่มต้นก่อสร้าง รับรองว่าคุณจะได้บ้านสไตล์นอร์ดิกที่สวยตรงใจไร้ปัญหาแน่นอน home

  1. สร้างความกลมกลืนกับบริบทแวดล้อม ด้วยหลังคาโทนสีธรรมชาติ

เพราะเอกลักษณ์สำคัญของการออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกคือ การเลือกใช้โทนสีธรรมชาติเป็นหลัก กลุ่มสีเอิร์ธโทนจึงเป็นสีหลังคาที่สไตล์นอร์ดิกนิยม เพื่อให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกถึงความอบอุ่นและผ่อนคลาย สำคัญคือควรเลือกใช้กระเบื้องหลังคาที่มีสีสันดูกลมกลืนไปกับบริบทของธรรมชาติและเป็นวัสดุที่แข็งแรงทนทานควบคู่กัน Phuket Villas

  1. หลังคาแผ่นเรียบ ตอบโจทย์เส้นสายสะอาดตา

การลดทอนความยุ่งเหยิงให้ได้ความสบายตาและรู้สึกผ่อนคลาย ถือเป็นอีกหนึ่งในหลักการสำคัญของการออกแบบสไตล์นอร์ดิก การเลือกหลังคาจึงควรพิจารณาเป็นหลังคาแผ่นเรียบ เพื่อให้ตอบโจทย์องค์ประกอบการใช้เส้นสายที่เรียบง่าย สบายตาของ Nordic House Style ได้ตั้งแต่แรกเห็น

  1. หลังคาจั่วสูง ไร้ชายคา สะท้อนจิตวิญญาณของธรรมชาติ

เนื่องจากสภาพอากาศในเขตสแกนดิเนเวียนเป็นอากาศที่หนาวเย็นจัด การออกแบบที่ไม่มีชายคาจึงช่วยลดการสะสมของหิมะบนหลังคาได้ดี ซึ่งนั่นจึงทำให้เราพบเห็นหลังคาสไตล์นอร์ดิกมีลักษณะเป็นทรงจั่วสามเหลี่ยมอยู่เสมอ โดยตัวหลังคาลาดจากมุมสูงลงมาเป็นส่วนเดียวกับผนังและไม่มีชายคายื่นออกมา หรืออาจยื่นออกมาเพียงเล็กน้อย และนั่นทำให้สถาปนิกผู้เชี่ยวชาญด้านสไตล์นอร์ดิกท่านหนึ่งได้ระบุไว้ถึงรูปลักษณ์โดยรวมของหลังคาบ้านว่าเป็นรูปแบบของหลังคาที่สะท้อนจิตวิญญาณธรรมชาติ เส้นสายของภูเขา และเหลี่ยมไม้ได้อย่างงดงาม

  1. ใส่ใจตั้งแต่รายละเอียดการติดตั้ง เพื่อไม่ให้บ้านสไตล์นอร์ดิกมีปัญหาภายหลัง

แม้หลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิก ดูเผินๆ จะเป็นหลังคารูปทรงมาตรฐาน เน้นเส้นสายเรียบง่ายและเป็นทรงเรขาคณิตที่ไม่ซับซ้อน แต่การติดตั้งหลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิกก็มีข้อควรระวังที่ต้องใส่ใจ หรือควรให้ผู้เชี่ยวชาญด้านหลังคาดูแลโดยตรง เนื่องจากถ้าให้ช่างที่ขาดประสบการณ์มาติดตั้ง อาจมีปัญหาตามมาในภายหลัง โดยเฉพาะบริเวณรอยต่อ จุดชนผนัง และสันหลังคา ซึ่งข้อควรระวังเรื่องการติดตั้งเบื้องต้น มีดังต่อไปนี้

หลังคาบ้านสไตล์นอร์ดิกที่โดดเด่นเรื่องการเป็นหลังคาไร้ชายคา อาจนำไปสู่ปัญหาการรั่วซึมของน้ำฝนบริเวณชายคาย้อนเข้าสู่ตัวบ้าน รวมถึงปัญหาคราบสกปรกสะสมจากน้ำฝนบริเวณผนัง ดังนั้นเราควรใส่ใจตั้งแต่กระบวนการติดตั้งเพื่อให้บ้านสไตล์นอร์ดิกออกมาสวยสมบูรณ์แบบและป้องกันการรั่วซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การตกแต่งปั้นลมด้านหน้าด้วยเหล็ก ถือเป็นอีกวิธีป้องกันน้ำซึมผ่านเข้าสู่โครงสร้าง โดยปั้นลมนั้นนอกจากช่วยกันลมปะทะกับกระเบื้องหลังคาแล้ว ยังทำหน้าที่ป้องกันน้ำฝนเข้าสู่ตัวบ้านอีกด้วยการตกแต่งปั้นลมวิธีนี้ เจ้าของบ้านควรเลือกใช้เหล็ก C-Channel 22.3 x 300 x 1.2 ซม. ติดตั้งบริเวณปั้นลมด้านหน้า โดยยึดเหล็ก C-Channel กับจันทัน ให้ปลายด้านบนของเหล็ก C-Channel ถึงระยะบริเวณฐานรางน้ำมีระยะห่างประมาณ 12-14 ซม. (จุดที่ 1) ซึ่งถือเป็นระยะที่บังสันหลังคา ส่งผลให้ระยะจากฐานเหล็ก C-Channel ถึงท้องจันทัน ห่างประมาณ 6-8 ซม. ซึ่งถือเป็นระยะที่ติดตั้งฝ้าจะทำให้ฝ้าไม่ชิดท้องจันทันจนเกินไปนอกจากนั้นบริเวณด้านบนเหล็ก C-Channel ต้องติดตั้งการกันรั่วบริเวณด้านบนเพื่อป้องกันการซึมผ่านของน้ำเข้าสู่โครงสร้าง โดยติดแผ่นปิดรอยต่อ 1 แผ่นบริเวณไม้ตกแต่งฯ และมี PU เป็นเขื่อนดักน้ำ จากนั้นติดตั้ง เหล็กพับ ขนาด 9 x 5 ซม. ทับแผ่นปิดรอยต่อ โดยยึดกับโครงสร้างด้วยการเชื่อม

สิ่งสำคัญอีกอย่างคือรางน้ำซ่อน โดยติดตั้งใต้ผืนหลังคา เว้นบริเวณเหล็ก C-Channel และกระเบื้องหลังคาประมาณ 2 ซม. เพื่อให้น้ำสามารถไหลลงมาสู่รางน้ำได้ และปลายรางน้ำทั้งสองฝั่งที่ติดเชิงชาย จะต้องมีระยะห่างของรางน้ำออกมาอย่างน้อย 3 ซม. เพื่อให้น้ำที่ไหลจากรางน้ำ ไม่ไหลอาบผนังจนเกิดคราบสกปรกหรือน้ำอาจย้อนเข้าไปภายในตัวบ้าน (จุดที่3จากในรูปประกอบ)
การจบงานบริเวณเชิงชายและการทำปั้นลมแบบก่อผนัง

การจบงานบริเวณเชิงชายและการทำปั้นลมแบบก่อผนัง ใช้วิธีติดตั้งเชิงชายติดกับอะเส เพื่อลดระยะการยื่นของชายคา ข้อควรระวังในการก่อสร้างคือด้านบนของอะเสจะต้องลาดเอียง โดยด้านอะเสที่อยู่ภายในอาคารจะต้องสูงมากกว่าด้านอะเสที่อยู่นอกอาคารประมาณ 1-2 ซม (จุดที่ 1) เพื่อกันน้ำไหลย้อนเข้าสู่ตัวอาคาร จากนั้นติดตั้งเชิงชาย เอสซีจี รุ่น 8 นิ้ว ติดกับอะเสโดยยึดด้วยสกรูโดยขอบอะเสด้านบนจะต้องห่างจากด้านล่างของไม้เชิงชายเอสซีจี รุ่น 8 นิ้ว 5 ซม (จุดที่ 2) เพื่อกันน้ำย้อนเข้าไปในอาคาร ส่วนการมุงกระเบื้องหลังคา ปลายกระเบื้องหลังคาจะต้องมีระยะยื่นออกมาจากผนังประมาณ 6 ซม. (จุดที่ 3) เพื่อป้องกันน้ำไหลย้อนเข้าตัวอาคารด้วยเช่นกันนอกจากนั้นถ้าต้องการใช้คอนกรีตเพื่อเป็นปั้นลม ควรก่อปั้นลมคอนกรีตให้สูงขึ้นมาจากระดับหลังคาประมาณ 12-14 ซม (จุดที่ 4) ซึ่งเป็นระยะที่ปั้นลมสามารถบังสันหลังคา และเพื่อง่ายต่อการก่อผนังบ้านให้ดูเรียบเป็นแนวเดียวกัน ส่วนบริเวณด้านผนังด้านข้าง ควรก่อปั้นลมให้ยื่นออกมาจากตัวอาคารประมาณ 8-10 ซม (จุดที่ 5) เพื่อบังปลายกระเบื้องที่ยื่นออกมาจากบริเวณชายคาแต่หากต้องการให้มีการตกแต่งเพื่อเพิ่มความโมเดิร์น โดดเด่น ทันสมัย ได้อารมณ์งานเหล็ก สามารถใช้วัสดุตกแต่ง เอสซีจี เดคคอร์ รุ่น ซี-ชาแนล 30 x 300 x 1.2 ซม.ติดตั้งบริเวณปั้นลมด้านหน้า โดยยึดเอสซีจี เดคคอร์ ซี-ชาแนลด้วยพุกพลาสติก เอสซีจี ยาว 37 มม. และตะปูเกลียวปลายแหลม เอสซีจี 38 มม. ทุกระยะ 50 ซม.บ้านสไตล์นอร์ดิกนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดดเด่นเรื่องความเรียบง่ายและฟังก์ชันที่ใช้งานได้จริง แต่ไม่ได้หมายความว่าการออกแบบและสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิกจะสามารถสร้างโดยขาดความใส่ใจในรายละเอียด ดังนั้นเมื่อคิดจะสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิกให้ออกมาเป็นแบบที่ตั้งใจไว้ จึงไม่ควรลืมข้อควรระวังตามที่เราได้เล่าถึง โดยเฉพาะงานหลังคาที่ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญแรกที่เราจะเห็นได้จากภายนอก บ้านสองชั้น

แบบบ้านนอร์ดิก

การออกแบบบ้านสไตล์นอร์ดิกนั้น มีสิ่งที่ต้องเข้าใจเอกลักษณ์ดังนี้

1 ทรงจั่วที่ไม่มีชายคาหรือชายคามีแต่สั้น สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสไตล์นี้คือหน้าจั่ว ซึ่งหน้าจั่วนั้นจะต้องมีลักษณะเป็นแท่งขึ้นมาจากพื้นถึงหลังคามีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน ตามภาพด้านล่างนี้ ถึงจะสามารถสื่อถึงสไตล์นี้ได้อย่างชัดเจน และจึงนำไปใส่ไอเดียความสวยงามอีกครั้งในขั้นตอนต่อไป

2 การเลือกใช้สีตกแต่ง อย่าให้เกิน 2 โทนหลัก ไม่ควรใช้โทนสีเกินกว่า 2 สี เพราะจะทำให้สไตล์ดูสับสนและขัดแย้งกันเอง ซึ่งข้อนี้นั้นสามารถนำไปใช้กับสไตล์มินิมอลและอื่นๆได้

3 ด้านหน้าจะลึกหรือไม่ก็ได้แต่ให้มีไม้เป็นส่วนประกอบของการออกแบบ แน่นอนว่าสไตล์นี้จะต้องเข้ากับธรรมชาติได้เป็นอย่างดี หลักพิ้นฐานของการออกแบบ หากต้องการให้สิ่งไดสิ่งหนึ่งนั้นเข้ากันได้ เราจะต้องนำเอาสิ่งที่ต้องการให้เข้ากันนั้น มาเป็นส่วนประกอบ และนำมามาใส่ หากต้องการให้เข้ากับธรรมชาติเราจะต้องนำไม้หรือหินก้ได้มาเป็นส่วนประกอบของการออกแบบ แต่จะมากหรือน้อยต้องคำนึงถึงองค์รวม ไม่ให้มากและน้อยจนเกินไป บ้านแฝดสไตล์บ้านเดี่ยว

อ่านเพิ่มเติม : บ้านโรงนา