ออกแบบหลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล

ออกแบบหลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล
ออกแบบหลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล

ออกแบบหลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล สวยๆ ไม่รั่วซึม

ออกแบบหลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล หลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล บ้านสไตล์โคโลเนียล กับวิถีความเป็นไทย เป็นสิ่งที่อยู่ร่วม กันมาตั้งแต่ สมัยรัชกาลที่ 5 ยุคสมัยนั้นชาวยุโรปเริ่ม เข้ามาทำการค้าขาย เราจึงเห็นชัดได้ว่า ประเทศแถบเอเชียหลาย ๆ ประเทศได้รับอิทธิพลในงานสถาปัตยกรรมจากยุโรป และปัจจุบันสถาปัตยกรรม เก่าแก่เหล่านี้ ยังมีให้เห็นตามแหล่ง ท่องเที่ยวต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย กลายเป็นอีกหนึ่ง สไตล์บ้านที่ได้รับ ความนิยมจนถึงปัจจุบัน

ลักษณะ บ้านสไตล์โคโลเนียล ในไทย มีการผสมผสานงาน สถาปัตยกรรมร่วมกัน เพื่อให้สไตล์ของ บ้านสามารถเข้ากับชีวิตความเป็นอยู่ และสภาพภูมิอากาศร้อน ชื้นอย่างไทยได้ บ้านจัดสรร เป็นสไตล์ ที่ให้ความคลาสสิก อย่างโรแมนติก โดยซ่อนความอ่อนโยน ไว้อย่างประณีต ผ่านการเลือกโทนสีอ่อน หรือ พาสเทล การตกแต่งภายใน จะมุ่งเน้นเฟอร์นิเจอร์เก่า งานไม้ ของโบราณ ผนังภายนอกกรุด้วยงานไม้ ซ้อนเกล็ดดูอบอุ่น เป็นธรรมชาติ และส่วนที่ยากที่สุด คืองานหลังคา โดยสไตล์โคโลเนียล จะให้ความสำคัญ กับงานหลังคามาก เป็นพิเศษ อีกทั้งหากไม่ติดตั้ง ด้วยวิธีการที่ถูกต้อง อาจส่งผลให้เกิดปัญหา ภายหลังได้

ออกแบบหลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล

เอกลักษณ์หลังคา บ้านสไตล์โคโลเนียล

1.รูปทรงหลังคา สไตล์โคโลเนียล
นี่อาจจะ เป็นเหตุผลหลัก ที่ทำให้บ้านสไตล์โคโลเนียล ได้รับความนิยมใน ประเทศไทย เนื่องด้วยรูปทรง หลังคาเป็นรูปทรงปั้นหยา และหลังคาจั่วเช่นเดียว กับบ้านเรือนไทย หรือบางหลังนำหลังคาปั้นหยา และหลังคาจั่วมาผสมกัน โดยรูปทรงหลังคา ดังกล่าวมีโถงหลังคาที่สูงโปร่ง จึงเหมาะสมกับลักษณะ ภูมิอากาศร้อนชื้น แบบไทย แต่จำเป็นต้องประยุกต์ให้มีชายคายื่นยาวกว่า โซนยุโรป เนื่องด้วยประเทศไทยมี ฝนตกชุก และลมกระโชกแรงกว่า ยุโรป หากชายคาสั้นจะส่งผลให้ฝนสาด เข้าบ้านได้

2.กระเบื้องหลังคา
งานกระเบื้องที่เหมาะ กับสไตล์โคโลเนียลแบ่งเป็น 2 แนวทาง หากเป็นสไตล์โคโลเนียล ย้อนยุคสมัยรัชกาลที่ 5 นิยมใช้กระเบื้องว่าว สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด สีขาวหรือเทาอ่อน แต่หากเป็นโคโลเนียล ประยุกต์สมัยใหม่ มีการผสมผสานความโมเดิร์นที่เรียบง่ายเพิ่มเข้ามา สามารถใช้กระเบื้องคอนกรีต รุ่นซีแพคแบบลอน หรือรุ่นแผ่นเรียบได้เช่นกันครับ ด้านสีสันของกระเบื้องจะขึ้น อยู่กับโทนสีหลักของ บ้านหลังนั้น ๆ ดังนั้น การเลือกวัสดุลายกระเบื้อง หลังคาจึงต้องพิจารณาก่อนว่า อยากได้โคโลเนียล ในรูปแบบ หรือ ยุคสมัยใด

ออกแบบหลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล

3.เพิ่มเอกลักษณ์ด้วยหลังคามุก
บ้านเรือนโซนยุโรป นิยมสร้างห้องใต้หลังคา สังเกตได้จากภายนอก บนหลังคาจะออกแบบ ให้มีหน้าต่างหลังคา (Dormer) ช่วยให้ห้องใต้หลังคา ไม่อุดอู้จนเกินไป แต่ฟังก์ชันนี้ในประเทศไทย อาจไม่ได้รับความนิยม เท่าไหร่นัก เนื่องด้วยสภาพ อากาศที่ร้อน ห้องใต้หลังคาจึงไม่ เหมาะกับการอยู่อาศัย บางบ้านจึง ใช้พื้นที่ดังกล่าว เป็นห้องเก็บของใต้หลังคาแทน ซึ่งพบได้บ่อยในอาคาร ประเภทรีสอร์ท และบ้านพักตากอากาศ ในพื้นที่ที่มีฤดูหนาว อย่างเขาใหญ่และทางภาคเหนือของไทย

4.ลายฉลุชายคาบ้าน
เอกลักษณ์เฉพาะ ที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับ บ้านสไตล์โคโลเนียล คือลวดลายงานฉลุไม้ติด ประดับบริเวณชายคาบ้าน รวมทั้งงานเสา บัวหน้าต่าง ลายฉลุนี้ช่วยให้บ้าน บ้าน มีความประณีตอ่อนช้อย มากยิ่งขึ้น บางบ้านก็นำลวดลาย ดังกล่าวมาตกแต่งบริเวณหน้าจั่วหลังคา ลวดลายเล็ก ๆ เหล่านี้ช่วยเพิ่ม กิมมิคบ่งบอกถึง ความเป็นไทยมากยิ่งขึ้น

3 จุดต้องระวัง เมื่อต้องทำหลังคาโคโลเนียล

หลังคาบ้านสวยๆ

ด้วยลักษณะของ หลังคาบ้านสไตล์โคโลเนียล มีเอกลักษณ์ที่เป็นเฉพาะ ผสมผสานกับความประณีต อย่างอ่อนช้อย ในกระบวนการติดตั้ง จึงต้องมีความ พิถีพิถัน และใส่ใจในทุก ๆ ขั้นตอน เพื่อให้ได้หลังคา ที่สวยงามตามใจคิด โดยมีจุดเสี่ยงรั่วที่ ควรระมัดระวัง ในการติดตั้ง ดังนี้

1.หลังคารอบล่าง ต้องใส่แผ่นรองใต้หลังคา (Roof Sarking)
หลังคารอบล่าง (หลังคาผืนล่าง) มีความเสี่ยงที่น้ำจะรั่วได้ เนื่องจากเป็นพื้นที่ รองรับน้ำฝน อีกทั้งยังรองรับน้ำ ที่ไหลลงมาจากหลัง คารอบบน (หลังคาผืนบน) อีกด้วย ในกรณีที่หลังคารอบบน และรอบล่าง มีความต่างองศาหลังคามากกว่า 20 องศาขึ้นไป ต้องป้องกันการรั่วซึม โดยการติดตั้งแผ่นรองใต้หลังคา (Roof Sarking) บริเวณหลังคารอบล่างใต้แปเท่านั้น ซึ่งการติดตั้งจะต้องติดตั้ง ให้ถึงขอบนอกไม้บัวเชิงชายเสมอ โดยวางอยู่บนแผ่น รองเชิงชาย นอกจากนั้นยังต้อง ติดจนถึงแนวผนังทั้ง ด้านหัว และด้านข้างกระเบื้อง ที่สำคัญคือ ปลายแผ่นรองใต้ หลังคาต้องติดบนหลังจันทัน ห้ามทิ้ง หรือ ต่อแผ่นระหว่างจันทัน โดยเด็ดขาด PHUKET VILLA

2.มุกยื่น ต้องใส่แผ่นรองใต้หลังคา
ด้วยเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของบ้านสไตล์โคโลเนียล คือการมีมุกยื่นออกมาบริเวณผืนหลังคา ซึ่งการมีมุกหลังคาทำให้โครงสร้างบ้านมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น นำมาซึ่งโอกาสเสี่ยงรั่วที่สูงขึ้น เนื่องจากน้ำที่ตกกระทบบริเวณหลังคามุกก่อนไหลสู่ตัวหลังคามีทิศทางน้ำต่างกัน

ดังนั้นบริเวณหลังคามุกที่ยื่นออกมาจากผืนหลังคาผืนหลักควรมีการป้องกันการรั่วซึม โดยการติดตั้งแผ่นรองใต้หลังคาบริเวณปลายรางน้ำระบายของหลังคามุกที่ระบายน้ำลงหลังคาผืนหลัก ซึ่งการติดตั้งแผ่นรองใต้หลังคา ความกว้างของแผ่นจะต้องมีข้อกำหนดดังนี้ คือ ปลายด้านบนสูงจากปลายรางน้ำขึ้นไป 60 เซ็นติเมตร และปลายด้านล่างต้องติดตั้งให้ถึงขอบนอกไม้บัวเชิงชายเสมอ โดยวางอยู่บนแผ่นรองเชิงชาย ส่วนความกว้างของแผ่นรองใต้หลังคาจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร หรือ 1 ช่วงจันทัน นับจากจุดตกกระทบของน้ำ

หลังคาสวยหรู

3.สันหลังคาชนผืนหลังคา ต้องใส่แผ่นปิดรอยต่อ
และอีกหนึ่งจุดที่สำคัญ คือ บริเวณสันหลังคามุก ด้านบนชนกับผืนหลังคาผืนหลัก จะต้องติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อป้องกันรั่ว 2 จุด คือ บริเวณที่กระเบื้องหลังคามุก บรรจบกับหลังคาผืนหลัก ต้องติดตั้งแผ่นปิดรอย ต่อปลายครอบสันหลังคา และอีกหนึ่งจุดคือ บริเวณหัวรางน้ำขากางเกง ตะเข้รางทั้ง 2 ด้าน ที่มาบรรจบกัน ซึ่งอยู่ใต้ครอบ สันหลังคา ต้องติดตั้งแผ่นปิดหัวรางบริเวณ จุดต่อชนของรางน้ำ

มั่นใจกว่า ได้หลังคาสวยตามแบบ ไม่รั่วผู้อ่านท่านใดที่ชื่นชอบ บ้านสไตล์โคโลเนียล และกำลังมองหา ผู้เชี่ยวชาญทางด้านหลังคาโดยเฉพาะ ปัจจุบันเอสซีจีมีบริการ เหมามุงครบวงจร ตั้งแต่ขั้นตอนให้คำปรึกษา การเลือกวัสดุ ตลอดจนบริการติดตั้งหลังคา ด้วยวัสดุคุณภาพ เรียกได้ว่าควบคุม มาตรฐานตั้งแต่เริ่ม จนส่งมอบงาน เพื่อให้บ้านมีหลังคาที่สวย และทนใช้งานได้ยาวนาน

อ่านบทความเพิ่มเติ่ม ขายวิลล่าภูเก็ต ขายบ้านภูเก็ต invest in phuket property phuket villa for saleรีวิวบ้าน ขายวิลล่าภูเก็ต ขายบ้านภูเก็ต ซื้อบ้าน ตกแต่งบ้าน