หมู่บ้านจัดสรร

หมู่บ้านจัดสรร
หมู่บ้านจัดสรร

หมู่บ้านจัดสรร

หมู่บ้านจัดสรร คือ สถานที่หรือบริเวณที่มีผู้ประกอบการยื่นขออนุญาตจัดสรรแบ่งแปล่งที่ดินสำหรับลงทุนปลูกสร้าง บ้าน เพื่อขายให้กับผู้ที่สนใจจะซื้อรวมถึงยังมีพื้นที่ต่าง ๆ รอบบริเวณโครงการที่ปลูกสร้างให้ผู้ที่เข้ามาอยู่ได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทางภายในหมู่บ้าน สวนสาธารณะภายในหมู่บ้าน บ้าน

ห้องออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ พนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น การที่ผู้เข้าอยู่เมื่อเข้าไปอยู่ในโครงการบ้านจัดสรรของแต่ละโครงการแล้วก็ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่โครงการนั้น ๆ ได้ระบุเอาไว้เพื่อที่จะได้ไม่เป็นการรบกวนต่อเพื่อนบ้านหรือผู้อยู่อาศัยท่านอื่น ๆ นอกจากนี้ภายในหมู่บ้านจัดสรรยังมีนิติบุคคลที่คอยทำหน้าที่ดูแลทุกข์สุขของคนในหมู่บ้าน และ คอยรับเรื่องร้อนเรียนเมื่อเกิดปัญหาอีกด้วย HOME

กฏหมายหมู่บ้านจัดสรร

หลายท่านอาจจะคิดว่าการอาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ทุกคนต้องออกไปทำมาหา กินแต่เช้า กลับมาก็เย็นย่ำค่ำมืดแล้วดังนั้นจึงไม่มีเวลาไปสนใจใส่ใจกับเรื่องของหมู่ บ้าน หรอก หรือในเมื่อดิฉัน หรือกระผมจ่ายเงินซื้อบ้านไปแล้วทำไมจะต้องมีเรื่องวุ่นวายอีก แหม…คุณครับถ้าผู้จัดสรรหรือเจ้าของโครงการเขาทำหน้าที่ของเขาในการดูแล สาธารณูปโภค

สาธารณูปการ เช่น ถนนเข้าหมู่บ้าน ท่อประปา ท่อระบายน้ำ สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ฯลฯ สารพัดที่เป็นเรื่องของส่วนกลางเป็นอย่างดี ประกอบกับผู้อยู่อาศัยทุกหลังทุก บ้าน ทำหน้าที่ของตนด้วยการชำระค่าใช้จ่าย ส่วนกลางอย่างพร้อมเพรียงกัน และเพียงพอที่จะใช้จ่ายดูแลทรัพย์สินส่วนกลางคงไม่มีปัญหาที่คุณต้องใส่ใจเรื่องราวของหมู่บ้านจัดสรรหรอกครับ

หมู่บ้านจัดสรร

ผู้อ่านบางคนเริ่มขมวดคิ้วตั้งคำถามกับผมแล้วครับว่า ทำไมต้องจ่ายเงินค่าดูแลรักษาสาธารณูปโภคเหล่านั้นในเมื่อคุณจ่ายเงินค่า ซื้อบ้านไปแล้ว ค่าใช้จ่ายอย่างอื่นก็ให้เจ้าของหมู่บ้านเขาดูแลไปสิจ๊ะ ไม่ได้ครับ เพราะ พ.ร.บ.บ้านจัดสรรเขาระบุไว้ว่า “บ้านจัดสรร คือการที่”ผู้จัดสรร” หรือ “เจ้าของโครงการ” ไปสรรหาที่ดินมาจัดแบ่งหรือจัดสร้างหมู่บ้านแล้วแบ่งขาย บ้าน

โดยสาธารณูปโภคส่วนกลางเช่น ถนน สนามเด็กเล่น สวนสาธารณะ ฯลฯ จะตกเป็นภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลง ซึ่ง “ผู้จัดสรร” หรือ “เจ้าของโครงการ” มีหน้าที่บำรุงรักษา จัดการดูแลโดยมีสิทธิเก็บเรียกค่าใช้จ่ายจากผู้อยู่อาศัย” เห็นไหมครับทุกคนมีหน้าที่ของตนเองครับ ไม่ใช่จ่ายเงินซื้อบ้านแล้วจบเลยนะจ๊ะ บ้าน

ไม่มีผู้ใหญ่บ้านแต่มีนิติบุคคล

หากผู้จัดสรรหรือเจ้าของโครงการปล่อยปละละเลยสาธารณูปโภคหรือ ทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ การดูแลรักษา และบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนกลาง ทั้ง ๆ ที่ผู้อยู่อาศัยจ่ายเงินค่าส่วนกลาง หรือบรรดาผู้อยู่อาศัยในหมู่บ้านจัดสรรนั้น ๆ เห็นพ้องต้องกันว่าการบริหารจัดการทรัพย์สินส่วนกลางของเจ้าของโครงการไม่ บ้าน โปร่งใสจึงไม่น่าไว้ใจให้บริหารส่วนกลางต่อไป เมื่อเป็นเช่นนี้กฎหมายก็เปิดโอกาสให้ผู้ซื้อหรือผู้อยู่อาศัยไม่น้อยกว่า ครึ่งหนึ่งของทั้งโครงการมีมติจัดตั้ง “นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร” แล้วแต่งตั้งตัวแทนยื่นคำขอจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัด

หลังจากนั้นนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก็จะรับโอนทรัพย์สินส่วนกลาง ทรัพย์สินสาธารณูปโภคจาก “ผู้จัดสรร” หรือเจ้าของโครงการมาบริหารจัดการได้เลย รวมทั้งอำนาจหน้าที่ในการเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการ สาธารณูปโภคภายในหมู่บ้านจากสมาชิก แต่การทำงานของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรต้องอยู่ภายใต้การบริหารงานของคณะ กรรมการหมู่บ้านจัดสรร ซึ่งควบคุมโดยที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกผู้ซื้อบ้านนั่นแหละครับ เหมือนระบอบการปกครองประชาธิปไตยแบบรัฐสภาเปี้ยบเลยครับผม บ้าน

หน้าที่ของกรรมการหมู่บ้านจัดสรร

กรรมการหมู่บ้านจัดสรรมาจากการเลือกตั้งของสมาชิกหมู่บ้านครับ โดยทำหน้าที่ในการกำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากสาธารณูปโภคเช่น การใช้สโมสร การใช้สระว่ายน้ำ ฯลฯ กำหนดกฎระเบียบเกี่ยวกับการอยู่อาศัยและการจราจรภายใน เช่น ห้ามส่งเสียงดังหลังเวลา 20.00 น. ห้ามเลี้ยงสัตว์ที่อาจเกิดอันตรายแก่เพื่อนบ้าน ห้ามจอดรถบนทางเท้า ฯลฯ แม้แต่การยื่นคำร้องทุกข์หรือเป็นโจทก์ฟ้องแทนสมาชิกเกี่ยวกับกรณีที่กระทบ สิทธิหรือประโยชน์ของสมาชิกจำนวนตั้งแต่ 10 รายขึ้นไป บ้าน

เช่น มีคนนำรถบรรทุกมาปิดทางเข้าหมู่บ้าน หรือความเดือดร้อนจากกลิ่นเหม็น น้ำเน่า เสียงดังจากโรงงานที่อยู่ใกล้เคียงหมู่บ้าน เป็นต้น ดังนั้นผู้ทำหน้าที่เป็นกรรมการหมู่บ้านจัดสรรจึงจำเป็นต้องมี วิญญาณของการเสียสละ มีจิตสำนึกสาธารณะ ทำงานด้วยความโปร่งใส และเมื่อไหร่ก็ตามที่กรรมการคนใดคนหนึ่งนำเงินส่วนกลางไปใช้ส่วนตัวก็จะมี ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ทันที โทษถึงติดคุกและต้องชดใช้หนี้ทั้งหมดคืนให้กับนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรด้วย นะครับ บ้าน

หน้าที่ของผู้อยู่อาศัย

หากคุณผู้อ่านเข้าไปอาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรรโดยมีจุดมุ่งหมาย (แปลก ๆ) คือเพื่อต้องการ หลีกหนีจากสังคม ญาติพี่น้อง ผู้คน และไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับใคร…ถึงได้มาซื้อบ้านท่ามกลางคนที่ไม่รู้จักนี่ไง บ้าน จ๊ะ หรือยึดความคิดที่ว่า “ตูไม่ยุ่งกับใคร ใครก็อย่ามายุ่งกับตู ไม่อยากเกี่ยวพันกับใครเพราะธุระก็ไม่ใช่…ตูอยู่เฉย ๆ ในบ้านดีกว่า” แบบนี้ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ของคุณแน่นอนครับ เพราะกฎหมายระบุว่าผู้ซื้อบ้านจัดสรร หรือที่ดินจัดสรรทุกรายจะกลายเป็นสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรโดย อัตโนมัติ

เพื่อร่วมเสนอแนะกฎเกณฑ์การอยู่อาศัย การใช้พื้นที่ส่วนกลาง ฯลฯ (ซึ่งหมายความว่าคุณก็ต้องมีหน้าที่ไปประชุมในที่ประชุมใหญ่ของหมู่บ้าน ครับ) และหากบ้านหลังไหน ที่ดินผืนไหนยังไม่มีใครซื้อ ก็ให้เจ้าของโครงการหรือผู้จัดสรรทำหน้าที่เป็นสมาชิกแทนไปก่อน ซึ่งหน้าที่สำคัญของสมาชิกนิติบุคคลหมู่บ้านจัสรรคือการจ่ายเงินค่าส่วนกลาง เป็นรายเดือนแก่นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร เพื่อนำเงินที่ได้ไปบริหารจัดการสาธารณูปโภค หรือทรัพย์สินส่วนกลาง อาทิ ถนน ท่อระบายน้ำ สวนสาธารณะ สระว่ายน้ำ สโมสร ฯลฯ ให้อยู่ในสภาพที่สมาชิกหมู่บ้านสามารถใช้งานได้นั่นแหละครับบ้าน

ค่าส่วนกลางจ่ายตามขนาดพื้นที่ / ประเภทใช้งาน

อย่างที่บอกไว้ตั้งแต่แรกว่าการทำหน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัด สรรอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการหมู่บ้านและที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกหมู่ บ้านในทุกเรื่อง โดยเฉพาะการกำหนดอัตราการเรียกเก็บเงินค่าส่วนกลางรายเดือนจะต้องได้รับความ เห็นชอบจากมติของที่ประชุมใหญ่ของสมาชิกหมู่บ้านนะครับ (ดังนั้นคุณผู้อ่านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านจัดสรร ควรจะเข้าประชุมสมาชิกหมู่บ้านทุกครั้งเพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของคุณครับ) โดยอัตราค่าเรียกเก็บเงินค่าส่วนกลางมักจะเท่า ๆ กันในหมู่บ้านจัดสรรที่มีขนาดเท่ากันและใช้ประโยชน์จากบ้านเพื่อการอยู่ อาศัยอย่างเดียว บ้าน

แต่สำหรับหมู่บ้านจัดสรรที่มีบ้านขนาดแตกต่างกันไป เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด คฤหาสน์ ฯลฯ เจ้าของบ้านขนาดแตกต่างกันก็มีหน้าที่จ่ายเงินค่าส่วนกลางในอัตราที่เพิ่ม ขึ้นตามขนาดของพื้นที่ หรือหากนำบ้านไปทำเป็นร้านอาหาร โรงเรียนอนุบาล เปิดบริษัท ฯลฯ ซึ่งเป็นการใช้งานที่นอกเหนือจากการอยู่อาศัย ก็ต้องจ่ายค่าส่วนกลางที่ต่างออกไป ซึ่งก็แล้วแต่จะตกลงในที่ประชุมใหญ่ประจำหมู่บ้านครับ

เมื่อจ่ายค่าส่วนกลางล่าช้า

ตามกฎหมายหมู่บ้าน จัดสรรนั้นนะครับ เขากำหนดละเอียดละออไปจนถึงว่าถ้าสมาชิกหมู่บ้านจ่ายเงินค่าส่วนกลางล่าช้า ก็จะถูกปรับตามอัตราที่กำหนดจากที่ประชุมใหญ่ (เห็นไหมครับว่าคุณควรเข้าร่วมประชุมทุกครั้ง) ถ้าค้างการชำระค่าส่วนเกิน 3 เดือนขึ้นไป อาจถูกระงับการใช้สิทธิในสาธารณูปโภค เช่นห้ามใช้สวนสาธารณะ ห้ามใช้สโมสรหรือสระว่ายน้ำ ฯลฯ แต่ก็ยังไม่ถึงกับการห้ามใช้ถนน หรือห้ามเอารถเข้าออก หมู่บ้านนะครับ บ้าน

เนื่องจากเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของเขา และหากคุณค้างชำระค่าส่วนกลาง 6 เดือนขึ้นไป คราวนี้เรื่องใหญ่เลยครับเพราะคุณจะถูกระงับสิทธิในการจดทะเบียนเพื่อซื้อ บ้าน ขายอสังหาริมทรัพย์ จนกว่าคุณจะจ่ายค่าส่วนกลางหรือเงินค่าบำรุงรักษาและจัดการสาธารณูปโภคที่ ค้างไว้จนหมดเสียก่อนครับ

นอกจากนี้ถ้าหากคุณอยู่ในภาวะที่ถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาด เงินที่ได้จากการขายทรัพย์สินก้อนแรกต้องนำมาใช้หนี้ในส่วนของค่าส่วนกลาง หมู่บ้านจัดสรรก่อนนะครับ เนื่องจากหนี้ค้างชำระค่าส่วนกลางเป็นหนี้บุริมสิทธิ์เหนือทรัพย์สินครับผม           ไม่ว่าคุณจะมีนิสัยแบบไหน และอาศัยอยู่ในหมู่บ้านขนาดเล็ก ๆ บ้าน หรือหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยคฤหาสน์ของบรรดาเศรษฐีก็ตาม คุณควรเคารพกฎเกณฑ์ของการอยู่ร่วมกันโดยไม่ไปละเมิดสิทธิของผู้อื่นเขา ที่สำคัญกรุณาเข้าร่วมประชุมใหญ่ของสมาชิกหมู่บ้านทุกครั้งนะครับเพื่อรักษา ผลประโยชน์ของคุณเอง ก่อนจะนึกเสียดายภายหลังว่า “รู้อย่างนี้ไปประชุมตั้งแต่แรกก็ดี” บ้าน

นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร คืออะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง

นิติบุคคลเป็นการรวมตัวกันของอาสาสมัครที่ได้รับการคัดเลือกจากคนในหมู่บ้าน เพื่อรับหน้าที่ในการรับผลประโยชน์ส่วนรวม ดูแลเรื่องสาธารณูปโภค เรื่องพื้นที่สาธารณะในหมู่บ้าน การจัดระเบียบสังคม การขจัดปัญหาการทะเลาะวิวาท เก็บค่าส่วนกลางมาจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ถนนในหมู่บ้าน ค่าซ่อมบำรุง ค่าทำความสะอาด พื้นที่สาธารณะ ดูแลสวน กวาดถนน ค่าเก็บขยะ เป็นต้น บ้าน

หน้าที่ของนิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรร มีอะไรบ้าง
  • รับโอนทรัพย์สินและสาธารณูปโภคในโครงการจากเจ้าของโครงการมาให้ผู้ซื้อ หรือเจ้าของบ้านทุกคน นิติบุคคลหมู่บ้านจัดสรรก็คือเจ้าของทรัพย์สินส่วนกลางแทนทุกคนในหมู่บ้าน
  • ได้รับการยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนทรัพย์สินและภาษีอากรจากรัฐ บ้าน
  • มีหน้าที่ออกกฎระเบียบที่ใช้ในชุมชน ตั้งเป็น “ข้อบังคับของหมู่บ้าน” ใช้ในหมู่บ้าน
  • ดูแลความเรียบร้อยในหมู่บ้าน เช่น ปัญหาตั้งแผงเกะกะบนถนนทางเท้า ติดป้ายประกาศในหมู่บ้าน ที่ทำให้หมู่บ้านสกปรกการปลูกต้นไม้เลยในพื้นที่ส่วนกลาง เป็นต้น
  • มีหน้าที่ดูแล ถนนในหมู่บ้าน ไฟตามถนน สวน ประปา ปรับปรุงซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ปกติ
  • ดูแลความสะอาด รักษาความปลอดภัยให้กับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  • ถ้ามีนิติบุคคลที่บริหารงานดีจะช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่หมู่บ้านให้ราคาปรับสูงขึ้นทุกปี และส่งผลต่องคุณภาพชีวิต ความสุขของคนในหมู่บ้านด้วย แต่ทุกคนในหมู่บ้านควรให้ความร่วมมือจ่ายค่าส่วนกลาง ทำตามกฎกติกาที่ตั้งไว้ร่วมกัน เข้าประชุมนิติบุคคลเพื่อประสิทธิ์ภาพในการดูแลโครงการบ้านจัดสรรนั้นด้วย บ้าน
หมู่บ้านจัดสรร

ข้อดีของการอยู่บ้านจัดสรร

สภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ – นี่ถือเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุดสำหรับผู้ที่เลือกซื้อบ้านจัดสรรเลยก็ว่าได้ เนื่องจากภายในโครงการบ้านจัดสรรทุกๆ โครงการจะมีการสร้างสภาพแวดล้อมให้น่าอยู่ไม่ว่าจะเป็นถนนหนทางภายในหมู่บ้านที่สะอาด มีไฟส่องสว่างตามถนนหนทางทุกที่ มีสวนสาธารณะให้ได้พักผ่อนหย่อนใจรวมถึงมีสถานที่ออกกำลังกาย สระว่ายน้ำ หรือห้องสมุดสำหรับการพักผ่อนในบางโครงการด้วย รวมทั้งการเป็นชุมชนเมืองที่ทำให้หมู่บ้านไม่เงียบเหงา home

และ ทำให้ผู้อยู่อาศัยรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นอีกด้วย บ้าน
มีความปลอดภัย – การเข้าอยู่ในบ้านจัดสรรส่วนใหญ่จะค่อนข้างมีความปลอดภัยในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการโดนขโมยขึ้นบ้าน มีกล้องวงจรปิดบริเวณต่าง ๆ ในการสอดส่องดูแลความเรียบร้อย มีรั้วรอบขอบชิด ในบางหมู่บ้านยังมีการแลกบัตรรถนอกเพื่อเข้า-ออกหมู่บ้านยิ่งทำให้คุณหายห่วงเรื่องความปลอดภัยไปได้เลย บ้าน2ชั้น

ข้อเสียของการอยู่บ้านจัดสรร

เปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ยาก – บางครั้งเมื่ออยู่ไปนาน ๆ แล้วต้องการต่อเติมหรือซ่อมแซมบ้านให้เป็นในแบบที่ต้องการจะทำได้ยาก เนื่องจากวัสดุรูปแบบบ้านเราไม่ได้เป็นผู้ลงมือทำตั้งแต่แรกการเปลี่ยนแปลงอะไรก็สุ่มเสี่ยงต่อการสร้างความเสียหายให้กับตัวบ้าน และ รูปแบบบ้านอาจจะไม่ถูกใจคุณแบบ 100% เมื่อเทียบกับบ้านที่สร้างเองอีกด้วย บ้าน