สร้างบ้านเอง

สร้างบ้านเอง
สร้างบ้านเอง

สร้างบ้านเอง

สร้างบ้านเอง ยุคนี้มีหลาย ๆ ท่านที่สนใจอยากจะจับจองเป็นเจ้าของ บ้าน สักหลังไม่ว่าจะ ปลูกบ้าน เองจากที่ดินเปล่า หรือบางท่านจะเลือกซื้อจากโครงการที่หลายๆท่านให้ความสนใจ แต่ว่ายังไม่มีประสบการณ์เลย จะต้องทำอะไรยังไงบ้าง วันนี้เรามีความตอบมาฝาก เอาตั้งแต่เริ่มต้น ยันมีเข้าอยู่ บ้าน กันได้เลย

9 ขั้นตอนการสร้างบ้านเอง จากที่ดินเปล่า

  1. สำหรับท่านใดที่มีที่ดินเปล่า สิ่งแรกที่ต้องทำคือให้ดูที่โฉนดที่ดินว่าเป็นชื่อที่ดินเป็นของเราหรือไม่ โดยสามารถเช็คได้ที่กรมฯ ที่ดิน ประจำจังหวัดที่เราอาศัยอยู่นั้น ๆ จากนั้น เราต้องเตรียมเงินไว้สำหรับในขั้นตอนการปลูก บ้าน โดยท่านที่มีที่ดินแต่เงินไม่พออาจจะต้องทำเรื่องกู้บ้าน

2. จากนั้นหาแบบบ้านที่จะปลูก โดยคำนวนเเบบเผื่อไว้ โดยสามารถปรึษาผู้รับเหมา บริษัทรับสร้างบ้าน หรือจะลองหาข้อมูลหรือไอเดียการปลูกบ้านจากเหล่า คนที่นำมาแชร์ตามในลิงค์นี้เลย  แบบบ้านต่าง ๆ  หรือจะจ้างคนเขียนแบบบ้านโดยจะอยู่ที่ราคาตั้งแต่ 2,000-6,000 บาท โดยแบบบ้านนั้นสำคัญมากๆในแบบต้องมีรายละเอียดทั้งหมดว่า ความยาวเท่าไหร่ ติดแอร์ตรงไหน หน้าต่าง มีกี่บาน  อยากมีปลั๊กไฟกี่จุด ในแปลนมีอธิบายการวางท่อน้ำทั้งบ้าน การวาง สายไฟทั้งบ้าน  เรื่องแปลนบ้านนั้นสำคัญมาก ๆ สำหรับคนที่ซื้อแบบบ้านต่างหาก

3. เมื่อได้แบบบ้านแล้ว ต่อมาต้องขออนุญาตสร้างที่ เขตหรืออบต.   ต้องขอติดต่อแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ คือนายทะเบียนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักงานเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ เพื่อที่จะเเจ้งว่าเราจะทำการสร้างบ้าน  โดยนำเอกสารหรือแปลนบ้านที่มีลายเซ็น วิศวกร (โยธา) ส่วนถ้าขนาดบ้านเกิน 150 ตรม. ต้องให้สถาปนิกเซ็นรับลองแบบปบ้านให้เพิ่มเพื่อนำไปแสดงโดยราคาเซ็นจะอยู่ที่ประมาณ 10,000 บาทบวกลบแล้วแต่ที่ โดยในส่วนนี้จะมี

สำหรับลายเซ็น วิศวกร (โยธา) และ สถาปนิก

  • รายการคำนวนแบบบ้าน พร้อมลายเซ็นทุกหน้า
  • ค่าเซ็น แปลนบ้าน
  • หนังสือรับรอง วิศวกรรมควบคุม 1 ชุด (พร้อมสำเนาใบ กว.)
  • หนังสือผู้ควบคุมงาน (แบบ น.4 ) 1 ชุด  (พร้อมสำเนาใบ กว.)

ด้านเจ้าของบ้าน

  • สำเนาโฉนดที่ดินพร้อมเซ็นรับรองทุกหน้า (เจ้าของ)
  • สำเนาบัตรประชาชน (ผู้ขออนุญาต)
  • สำเนาบัตรประชาชน (ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ขออนุญาต)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน)
  • ใบรับรองที่ดิน (ให้ผู้ใหญ่บ้านเซ็น)
  • ใบมอบอำนาจการขออนุญาตสร้าง (ถ้าเจ้าของที่ดิน ไม่ได้ขอเอง)

4. เมื่อเขตหรือ อบต.รับเรื่องแล้วจากนั้น ก็รอทาง  เขต/อบต ออกใบขออนุญาต จากนั้นก็ขอเลขที่บ้าน สำหรับที่เราจะนำไปยื่นขอไฟฟ้า ขอน้ำต่อ ที่การไฟฟ้าและการประปานั้นเอง อันดับต่อมาคือ การถมที่ดิน ควรถมเพื่อแปลนบ้านพอประมาณเพื่ออนาคตเราอาจจะต่อเติม โดยแนะนำว่าถ้าอยากได้ดินที่มีคุณภาพ ควรที่จะถมทิ้งไว้เฉย ๆ สัก 2 ปี หรืออย่างน้อยสัก 1 ปีเพื่อทำให้ มวลดินที่ถมไปมันจะหน่าแน่น จากนั้นถ้าใครหาแบบบ้านเองโดยไม่ได้จ้างบริษัทรับสร้างบ้าน หรือผู้รับเหมา เวลานี้จะเป็นเวลาที่เราจะต้องหาบริษัทรับสร้างบ้าน หรือผู้รับเหมา มาทำการสร้างบ้านให้เรา ถ้าอยากประหยัดราคาก่อสร้างบ้านให้ไม่แพงเราอาจจะต้องมาคุมงานก่อสร้างเองโดยหาผู้รับเหมาที่ น่าเชื่อถือได้และควรทำสัญญาตกลงกันให้เรียบร้อย  

5. เมื่อได้ผู้รับเหมามาแล้วให้เรานำใบที่ทาง เขตหรือ อบตเซ็นรับรองแล้ว ไปคุยกับผู้รับเหมาครับ และจัดการตกลงกันว่าจะ ให้สิทธิ์ผู้รับเหล่าจัดการทั้งหมดเลยหรือ ทางเราจะซื้ออุปกรณ์มาให้ทั้งหมดเลยโดยเราแค่จ่ายถ้าแรงในการก่อสร้างเท่านั้น แน่นำให้พยายามเลือกซื้อของเองเพราะนอกจากจะได้ของที่เราถูกใจแล้ว ราคายังประหยัดขึ้นอีกด้วยจากนั้นมาถึงในส่วนที่สำคัญมากๆที่หลายๆท่านไม่ค่อยสนใจ นั้นคือ สัญญา กับผู้รับเหมา ไม่ว่าจะเป็นกำหนดวันที่บ้านจะเสร็จภายในกี่เดือนถ้าช้าเสร็จไม่ทันกำหนดจะทำอย่างไร  

6. จากนั้นเมื่อเราทำทุกขั้นตอนที่เราว่ามาแล้วจากนั้นให้เรา ทำการจ้างบริษัทฉีดยาฆ่าปลวกในพื้นดินที่เราจะทำการสร้างบ้าน ไว้ก่อนที่จะทำการสร้างบ้านโดยเฉพาะคนที่จะปลูกบ้านไม้ โดยราคาจะอยู่ที่ประมาณ 10,000-15,000 บาท จากนั้นก่อนสร้างบ้านถ้าใครเชื่อถือฤกษ์ปลูกบ้าน ก็ลองหาฤกษ์วันลงเสาเอก หัวหินซาฟารี

7. ในเวลาที่ผู้รับเหมาหรือบริษัทรับสร้างบ้านกำลังก่อสร้างควรที่เจ้าของบ้านควรจะไปดูงานก่อสร้างบ้านตลอด ไปดูบ้านได้ทุกวันยิ่งดี หรือให้ดียิ่งขึ้นไปอาจจะนำวิศวกรออกแบบไปตรวจบ้าง เพราะวิศวกรจะทราบดีว่า ช่างหรือบริษัทรับสร้างบ้านนี้คุณภาพดีหรือไม่ เช่นผสมปูนน้อยไป ฉาบปูนได้มาตราฐานหรือไม่ เป็นต้น โดยเราแนะนำให้จ้างวิศวกรแบบเหมาจ่ายไปเลย 5 เดือนหรือเหมาจนบ้านเสร็จเลยก่อได้ราคาประมาณ 32,000-50,000 บาทถ้าเกินกว่านี้จะแพงไปหรือถ้าเก่งจริงก็แล้วแต่เจ้าของบ้าน อย่างน้อยบ้านเราก็ได้คุณภาพอย่างแน่นอน จ่ายแล้วจบดีกว่าเสียดายและไปเสียในระยะยาว

8. เมื่อบ้านใกล้เสร็จแล้วใครที่ไม่ได้ ขอทำเรื่องเลขที่บ้านครับก็ควรไปจัดการตรงนี้เพื่อที่เราจะได้ มิเตอร์น้ำ และมิเตอร์ไฟ มาใช้ในตอนสร้างบ้านเสร็จสนใครที่ขอแล้วก็ข้ามขั้นตอนนี้ไปได้เลย

9. สุดท้ายเมื่อบ้านเสร็จแล้วก็อย่างลืมให้วิศวกรตรวจสอบบ้านครั้งสุดท้ายและถ้าใครงบเหลือจะ ฉีกยาฆ่าปลวกปิดท้ายก็ได้จากนั้นท้ายสุดแล้วสำหรับชาวไทยก่อนเข้าไปอยู่บ้านก็อาจจะหาฤกษ์สำหรับทำบุญขึ้นบ้านใหม่ไว้ด้วยก็ดี

ข้อดีของ การสร้างบ้านเอง ที่มากกว่าการซื้อบ้านจัดสรร

สร้างบ้านเอง


ถือว่าเป็นคำถามยอดฮิตอย่างมาก สำหรับคนที่เตรียมจะสร้างบ้าน ว่า ปลูกบ้านเองกับซื้อบ้านจัดสรรอย่างไหนดีกว่ากัน ? คำตอบก็ขึ้นอยู่กับปัจจัยเบื้องต้นหลายประการ หรือเรียกว่านานาจิตตัง อย่างไรก็ตาม การได้ข้อมูลหรือมุมมองจากปากผู้บริโภคอาจช่วยให้ท่านผู้อ่านได้ประโยชน์มากขึ้น Home

ดังนั้นเราจึงรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ข้อดี ของการสร้างบ้านเองมาฝากกันในครั้งนี้

  1. ได้แบบบ้านที่ถูกใจ : จุดเด่นที่ตรงกันจากทุกแหล่งข้อมูลคือ คุณจะได้แบบบ้านที่ถูกใจที่สุดโดยคุณเป็นผู้เลือกทั้ง รูปแบบบ้านที่ไม่อยากจะให้ซ้ำกับใคร กำหนดสัดส่วนพื้นที่แต่ละห้องเท่าไหร่ เพิ่มจำนวนห้องน้ำ ห้องนอน หรือ ห้องอื่นๆ รวมทั้งการเปลี่ยนพื้นทีโล่งเป็นพื้นที่ใช้สอยได้ แต่ถ้าจะให้ได้ดีแล้ว ควรมีผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
  2. ได้ทำเลที่ตั้งถูกใจ : โลกโซเชียลทุกวันนี้เชื่อมต่อทุกสิ่งอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากคุณต้องการมีที่อยู่อาศัยบริเวณใด หรือ ชื่นชอบทำเลที่ตั้งย่านไหน ก็อาจลองเสิร์ชหาผู้ประกาศขายที่ดิน หรือ ลงสำรวจพื้นที่แล้วหาป้ายประกาศที่ดิน นับเป็นวิธีการที่ดีอีกทางที่จะได้สำรวจสภาพแวดล้อม และ ความเป็นอยู่ในพื้นที่นั้นๆ
  3. ตรวจสอบการทำงานได้อย่างใกล้ชิด : ระหว่างขั้นตอนการสร้างบ้าน เราสามารถตรวจดูได้หลายคนอาจคิดว่าต้องมีเวลาหรือมีความรู้ แต่ยุคนี้บริษัทรับสร้างบ้านส่วนมากจะมีบริการ ให้คำปรึกษาจากทีมงาน มีทีมคอยรายงานความคืบหน้า และ ช่องทางออนไลน์ที่สามารถ สอบถามความคืบหน้า หรือ ขอดูรูปอัพเดทล่าสุด แตกต่างจากบ้านจัดสรรที่เราเห็นปลายทางแล้ว
  4. แก้ไขปัญหาระหว่างงาน ไม่ต้องถึงขั้นรื้อถอน : จากข้อ 3 เมื่อเรามีส่วนร่วมในการทุกกระบวนการ ดังนั้นเมื่อเจอปัญหาติดขัด หรือ ไม่พอใจบางจุด ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ แม้จะเสียเวลาบ้าง โดยเชื่อว่าคงไม่เท่ากับการเสียต้นในการรื้อถอนบ้าน เมื่อโครงสร้างได้ถูกสร้างเสร็จสิ้นแล้ว แต่เทคโนโลยีสมัยนี้ เช่นโปรแกรมดูภาพบ้าน 3 มิติเสมือนจริง บวกกับการวางแผนขั้นออกแบบให้ดี จะช่วยลดปัญหาตรงจุดนี้ไปได้มากทีเดียว
  5. เลือกวัสดุต่างๆ ได้เอง : ทุกจุดของบ้านเราจะเป็นผู้กำหนด หรือ เลือกวัสดุ ที่จะนำมาใช้ดังนั้นเราจะได้สิ่งที่ถูกใจมากที่สุด ทั้งในด้านคุณภาพ สี สไตล์ และราคา บางคนบอกมักบานปลาย แต่จริงๆแล้วอาจเกิดจากความโลเล ซึ่งถ้าพร้อมจ่ายเพื่อเปลี่ยน ก็คิดว่าอย่าเสียได้ในส่วนเหล่านี้ เพราะจะได้ใช้สิ่งที่ดีกว่าถูกใจกว่าไปอีกหลายปี
  6. ความภูมิใจ : คุณจะรู้สึกแค่ไหนกับบ้านในฝันที่คุณวาดออกมาเองด้วยมือ หรือ อย่างน้อยก็มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอน งานฝีมือที่เปี่ยมด้วยไอเดียของเราเอง ยิ่งพบความเหนื่อย ความยุ่งยาก ยิ่งใช้เวลามาก คุณค่าทางใจเมื่อทำสำเร็จก็มักจะมากยิ่งกว่า

จากการรวบรวมข้อมูลมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่าการสร้างบ้านเองก็มีข้อดีหลายประการ อาจมีติดปัญหาบ้างเล็กน้อย แต่รางวัลแห่งความสำเร็จมักคุ้มค่าเสมอ ลองนึกภาพดูสิว่าสิ่งที่คุณวาดฝันไว้ กลับกลายออกมาเป็นบ้านจริง ๆ หนึ่งหลังได้…แค่คิดก็คุ้มค่าแล้ว …