ราคาสีทาบ้าน

ราคาสีทาบ้าน
ราคาสีทาบ้าน

ราคาสีทาบ้าน

ราคาสีทาบ้าน ควรทำการศึกษาขั้นตอนการทำงานสีที่มีมาตรฐาน ก่อนที่จะคัดเลือกพิจารณายี่ห้อสี & รุ่นสีที่จะเลือกใช้ เพื่อที่เวลาหารือตีราคากับช่าง สีจะได้มีมาตรฐานงานเป็นตัวตั้ง และเพื่อให้การเปรียบเทียบราคาของช่าง จะได้มีมาตรฐานเดียวกันในการคิดราคา มิฉะนั้นอาจจะได้ประเภทราคาถูก แต่มีวิธีและขั้นตอนการทำงานที่ไม่เหมาะสม ทำให้เงินที่จะลงไปไม่คุ้มค่ากับคุณภาพงานที่จะได้รับ

สีทา บ้าน ในแต่ละยี่ห้อของผู้ผลิตชั้นนำ ก็จะมีหลายรุ่น หลายคุณภาพ และราคาให้เลือกใช้ การเลือกขั้นต้นก็เลือกระดับคุณภาพ (เกรด) ตามงบประมาณ & ตามความต้องการระยะเวลาความคงทนของเจ้าของอาคาร
(สีในเกรดเดียวกัน ราคาจะต่างกันไม่มาก ~5-10% เท่านั้น ไม่มีของดีราคาถูก)
:- โดยในระดับ Premium Grade จะมีอายุ ~15ปี
:- ระดับ High Quality Grade ~10-12 ปี และ
:- ระดับ Standard Grade ~8-10 ปี

ซึ่งทั้ง 3 เกรดนี้ควรมีมาตรฐานขั้นต้น คือ มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.2321-2549 (สีอิมัลชั่นทนสภาวะ) และได้การรับรองมาตรฐานฉลากเขียว (Green Label) จะได้มั่นใจในความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ (สีเกรดลอง/ต่ำกว่านี้จะเป็น มอก.272-2549 : สีอิมัลชั่นทั่วไป) และกรณีเป็นสีภายนอกควรมีประสิทธิภาพในการสะท้อนรังสีความร้อน ที่ทำให้ลดอุณหภูมิภายในบ้านได้ด้วย โดยต้องได้รับการรับรองมาตรฐาน มอก.2514-2553 (สีอิมัลชันลดความร้อนจากแสงอาทิตย์) และปราศจากสารโลหะหนัก ปรอทและตะกั่วร่วมด้วย รวมทั้งมีระบุค่าสารอินทรีย์ระเหยต่ำ (Low VOCs)

ซื้อสีทาบ้านคำนวณยังไง

หลายคนที่เคยทาสีบ้านด้วยตัวเองต้องเคยผ่านการตั้งคำถามเหล่านี้มาก่อนอย่างแน่นอน เพราะสิ่งหนึ่งที่คุณต้องรู้ นั่นก็คือการ ‘คำนวณสีทาบ้าน’ ให้รู้ปริมาณสีที่ต้องซื้ออย่างแน่ชัด เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา และไม่ให้สิ้นเปลืองเงินซื้อสีมาเกินโดยไม่จำเป็นช่างอุ่นใจมีคำตอบมาบอกกัน ด้วย 3 ขั้นตอนง่ายๆ ดังต่อไปนี้ ไปดูกันเลย! home

ขั้นตอนที่ 1 : คำนวณพื้นที่ที่คุณต้องการทาสีโดยประมาณ

วัดความยาวของผนังแต่ละด้าน และไม่จำเป็นต้องหักพื้นที่ของช่องหน้าต่างยิบย่อย เพื่อเป็นการเผื่อสีที่ทาไว้ประมาณ 5-10% และคำนวณโดยใช้สูตรกว้าง x สูง เสร็จแล้วให้นำพื้นที่แต่ละด้านมาบวกรวมกันก็จะได้ ‘พื้นที่ทาสีทั้งหมด’ ที่เราต้องการ

ขั้นตอนที่ 2 : พื้นที่ที่วัดได้ หารด้วยความสามารถในการทาสีต่อถัง

ถังสีโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 ขนาด

  • ถังสีขนาด 1/4 แกลลอน บรรจุ 0.946 ลิตร
    สามารถทาได้พื้นที่ประมาณ 6 ตร.ม./ถัง/เที่ยว*
  • ถังสีขนาด 1 แกลลอน บรรจุ 3.785 ลิตร
    สามารถทาได้พื้นที่ประมาณ 24 ตร.ม./ถัง/เที่ยว*
  • ถังสีขนาด 2.5 แกลลอน บรรจุ 9.46 ลิตร
    สามารถทาได้พื้นที่ประมาณ 60 ตร.ม./ถัง/เที่ยว*
  • ถังสีขนาด 5 แกลลอน บรรจุ 18.925 ลิตร
    สามารถทาได้พื้นที่ประมาณ 120 ตร.ม./ถัง/เที่ยว*

ยกตัวอย่าง

พื้นที่ที่ต้องการทาสี 240 ตร.ม. คุณลูกค้าเลือกซื้อถังสีขนาด 5 แกลลอน ซึ่งสามารถทาได้พื้นที่ประมาณ 120 ตร.ม./ถัง/เที่ยว จะคำนวณได้ดังนี้ 240 หารด้วย 120 จะได้ค่าเท่ากับ 2 นั่นเอง home

ขั้นตอนที่ 3 : คูณจำนวนรอบในการทาสี

สำหรับสีรองพื้น ทาเพียง 1 รอบเท่านั้น (คูณ 1) และสีทับหน้า ทาทับ 2 รอบ (คูณ 2)  เพื่อให้สีมีอายุการใช้งานได้อย่างยาวนาน สวยงาม ยึดแน่น ทนนาน ดังนั้น ในกรณีพื้นที่ 240 ตร.ม. 240 หารด้วย 120 จะได้ค่าเท่ากับ 2 แล้วต้องคำนวณจำนวนรอบการทาสีด้วย ได้แก่ สีทาภายใน

  • สีรองพื้น ขนาด 5 แกลลอน = 2×1 = ซื้อ 2 ถัง
  • สีทับหน้า ขนาด 5 แกลลอน = 2×2 = ซื้อ 4 ถัง

เพียงเท่านี้คุณก็จะสามารถซื้อสีได้อย่างพอดี ไม่ต้องเสียเวลา และสิ้นเปลืองเงินซื้อสีมาเกินโดยไม่จำเป็นอีกด้วย

*หมายเหตุ ความสามารถในการทาสีที่ระบุข้างต้นเป็นตัวเลขมาตรฐานที่ทางบริษัทฯ แนะนำสำหรับเจ้าของบ้านมือใหม่ที่ทาสีด้วยตนเอง ทั้งนี้ความสามารถในการทาสีต่อสี 1 ถัง จะทาได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้ทาสีด้วย

การคิดคำนวณค่าแม่สีของแต่ละบริษัท ของแต่ละแบรนด์มันไม่เหมือนกันนะคะ คุณอาจจะทราบของบริษัทนี้ แต่คุณอาจจะไม่ทราบของอีกบริษัทนึง ส่วนเฉดสีจากแคตตาลอคกับสีจริงมีความต่างอยู่แล้วค่ะ แต่ก็น้อยมาก3-5%เท่านั้น แต่ถ้าต่างมากไป แสดงว่าเป็นการพิมพ์ ไม่ได้เป็นการปั้มสีแต่อย่างใด บ้าน
กรณีสีทับหน้า ทา 2 รอบ
สี 1 ลิตร หรือ 1/4GL ทาได้ 4-5 ตารางเมตร
สี 3.6/3.785 หรือ 1GL ทาได้ 15 ตารางเมตร
สี 9 ลิตร หรือ 2.5GL ทาได้ 30-35 ตารางเมตร
สี 18 ลิตร หรือ 5GL ทาได้ 70-75 ตารางเมตร
ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับว่า คนทา ผสมน้ำมากน้อยแค่ไหนในการทา
กรณีสีรองพื้น ทา 1 รอบ
สีรองพื้น 3.6/3.785 ลิตร หรือ 1GL ทาได้ 30 ตารางเมตร
สีรองพื้น 5 ลิตร ทาได้ 50-55 ตารางเมตร
สีรองพื้น 9 ลิตร ทาได้ 70-75 ตารางเมตร
สีรองพื้น 15 ลิตร ทาได้ 150 ตารางเมตร
สีรองพื้น 18 ลิตร ทาได้ 170-175 ตารางเมตร
ส่วนสีรองพื้น ถ้าเป็นสูตรน้ำมัน อาจจะผสมทินเนอร์ ถ้าเป็นสูตรน้ำก็อาจจะผสมน้ำ หรือบางรุ่นห้ามผสมน้ำเด็ดขาด