บ้านฟาซาดไม้ระแนง

บ้านฟาซาดไม้ระแนง
บ้านฟาซาดไม้ระแนง

บ้านฟาซาดไม้ระแนง บ้านสไตล์ชนบทที่แสนเรียบง่าย

บ้านฟาซาดไม้ระแนง ไม้ระแนง ไฟเบอร์ซีเมนต์ เป็นวัสดุทดแทนหรือเป็นไม้สังเคราะห์ โดยจะมีส่วนผสมขอวัสดุอื่นๆ ผสมกับไม้จริง เช่นผงไม้ผสมกับพลาสติก เส้นใยเซลลูโลส ผสม กับปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เรียกว่า ไฟเบอร์ซีเมนต์ โดยเป็นการนำมาผ่าน กระบวนการอัดขึ้นรูป ตามลักษณะต่างๆ

ไม้ระแนง หรือ ระแนงไม้ เป็นวัสดุที่นิยม นำมาตกแต่งบ้าน หรือ ใช้ในการตกแต่งสวน โดยไม้ระแนงสามารถติดตั้งได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ซึ่งการใช้งาน ไม้ระแนงสามารถใช้ได้ทั้ง งานแผงบังแดด รั้ว ซุ้มนั่งเล่น และ การตกแต่งส่วนต่างๆของตัวบ้านให้สวยงาม และ เพิ่มความอบอุ่นรวม ไปถึงความทันสมัย ทั้งการกรุผนัง ฝ้า ชายคา

โดยปัจจุบันผู้คนนิยมหันมาใช้ วัสดุทดแทนไม้มากขึ้น เนื่องจาก สวยงาม ราคาไม่แพง และหมดปัญหาเรื่องปลวกหรือแมลงที่อาจมากินเนื้อไม้ได้ โดยวัสดุทดแทนไม้ ก็จะบางย่อยออกไปอีกเป็น ระแนงไวนิล หรือ UPCV ระแนงพลาสวูด WPC และ ระแนงไฟเบอร์ซีเมนต์ ซึ่งเป็นวัสดุทดแทนไม้ที่มี ส่วนผสมของเส้นใยธรรมชาติ ปูน และ ทราย โดยจุดเด่นของ ไฟเบอร์ซีเมนต์ คือ ความแข็งแรง ความทนทานต่อสภาพอากาศ ติดตั้งง่าย และรวมไปถึงลวดลาย ที่ใกล้เคียงกับไม้ด้วย บ้านจัดสรร

บ้านฟาซาดไม้ระแนง

บ้านระแนงไม้ 2 ชั้น

เสน่ห์ของความเป็น บ้านสไตล์ญี่ปุ่น ไม่ได้อยู่ที่รูปลักษณ์ วัสดุ หรือฟังก์ชันเท่านั้น แต่อยู่ที่การรู้คุณของธรรมชาติ และพยายามจัดสรรพื้นที่ใช้ชีวิต ให้เห็นความเปลี่ยนแปลง ของธรรมชาติในทุกฤดูกาล อาจจะเป็นการจัดสวนหน้าบ้านหรือสวนในบ้าน ตามแต่เจ้าของบ้าน จะต้องการหรือพื้นที่จะอำนวย สำหรับบ้านหลังนี้ย่าน ที่พักอาศัยในเขตชานเมือง ซึ่งพัฒนาโดยการสกัด ภูเขาออกบางส่วนในช่วงทศวรรษ 1950 แล้วถูกแทนที่ด้วยเมือง สถาปนิกจึงต้องการฟื้นคืนความมีชีวิตชีวาในอดีต ด้วยการสร้างบ้าน ที่เชื่อมต่อกับ สิ่งแวดล้อมโดยรอบ ที่มีสวนด้านหน้า 2 แห่ง และสวนภายใน 3 แห่ง

บ้านพื้นที่ 130 ตารางเมตรนี้ ตั้งอยู่ในที่เนินย่านที่อยู่ อาศัยชานเมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น โปรเจ็กต์พยายามที่จะนำความผุดขึ้นของ ธรรมชาติภายในร่างกาย สร้างสมดุลกับภูมิทัศน์โดยรอบ กับรูปแบบที่อ่อนโยนของภูเขาที่อยู่เบื้องหลัง หลังคารูปสามเหลี่ยมสามหลัง คาลาดต่างระดับ ต่างองศา และทิศทางต่าง ๆ ปรากฏขึ้นอย่างโดดเด่น เหนอหลังคาชั้นล่างที่เป็นเมทัลชีทสีดำรูปตัว L บ้านที่ติดถนนต้องการความ เป็นส่วนตัวสูงจึงติดระแนงไม้ ไม้แนวตั้งพรางสายตา ในณะที่ยังให้ แสงธรรมชาติส่องเข้ามา ในพื้นที่บ้านได้ มองดูไกล ๆ เหมือนบ้านมีศาลาโปร่ง ๆ อยู่ข้างบน

หน้าบ้านจัดสวนและทางเดินหินพร้อมม้านั่งเล็ก ๆ

ใต้ชายคา ให้เด็ก ๆ ในละแวกบ้านสามารถแวะมา นั่งพักหรือเล่นสนุกได้ ใกล้กันเป็นพื้นที่เก็บฟืนของบ้าน การตกแต่งบ้านลักษณะนี้ ทำให้รู้สึกว่าแม้ตัวบ้านจะตั้งใจใส่ความเป็นส่วนตัวลงไป แต่บรรยากาศในภาพรวมก็ยังเต็มไปด้วยความเป็นมิตรและเอื้ออาทร  บ้านแฝด

นอกจากสวนนอกบ้านแล้ว เจ้าของบ้านต้องการให้ มีพื้นที่สวนแบบส่วนตัวภายใน สถาปนิกจึงแยกส่วนของอาคารออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ โดยรักษาระยะห่างและเปิดออกสู่สิ่งแวดล้อมอย่างช้า ๆ อาคารทั้งหมดประกอบด้วย บ้านไม้ชั้นเดียวรูปตัว L และอาคาร 2 ชั้นมีหลังคาทรงจั่วชายคาสั้นๆ ที่ลดหลั่นกันแต่ก็เชื่อมโยงกัน เพื่อสร้างพื้นที่ open Space เปิดออกสู่ท้องฟ้าตรงกลาง เป็นจุดที่ดึงแสงรับอากาศบริสุทธิ์ ขณะที่ลมพัด แสงส่องลงมา และเงาสีเขียวส่องประกายระยิบระยับทำให้บ้านเต็มไปด้วยชีวิตชีวา

เมื่อเดินผ่านประตูและสวนหน้าบ้านเข้ามาภายใน จะเห็นรายละเอียดของบันได บ้านที่ใส่ความโค้งเข้า ไปในระหว่างลูกตั้ง เป็นตัวเอกของบ้านที่ดึงแนวสายตาก่อนใคร จากนั้นจะเริ่มมองไปที่ผนังกระจกรอบด้านที่ให้รู้สึกให้ความลึกและความกว้าง สร้างการเชื่อม ต่อเชิงพื้นที่แบบหลวม ๆ ล้อมคอร์ทยาร์ดที่แสวนสดชื่นเอาไว้

สวนเล็กๆ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า Tsubo Niwa ซึ่งสวนชั้นในของบ้านไม่ได้มีอยู่แค่จุดเดียว แต่มีทั้งหมด 3 จุด กระจายกันอยู่ ซึ่งสวนตรงกลางจะทำหน้าที่ เป็นกันชนที่เชื่อมระหว่างสวน ด้านหน้าและภายใน ในขณะที่สวนที่มุมทิศใต้เป็นจุดรับลม ปลูกดอกไม้ พืชผล ผสมผสานสภาพ แวดล้อมภายใน และภายนอกอย่างอ่อนโยน ในยามเช้าอาจจะมีนกน้อย ๆ สัตว์ต่างๆ แวะเวียนมาเยี่ยมสวนนี้ด้วย ทำให้บ้านไม่ได้เป็นมิตร เฉพาะกับคนเท่านั้น แต่เอื้ออารีกับสัตว์ด้วยเช่นกัน

บ้านฟาซาดไม้ระแนง

บ้านวางตำแหน่งฟังก์ชันต่าง ๆ ล้อมที่ว่างซึ่งจัดเป็นสวนเอาไว้

แล้วใส่ผนังกระจกในบริเวณกว้าง ทำให้แต่ละด้านของบ้าน ได้รับวิวและความสดชื่นจากธรรมชาติ ที่แทรกอยู่ได้แม้จะอยู่ในห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว หรือห้องอ่านหนังสือ อย่างชิดใกล้ เวลาเดินขึ้นลงบันไดก็สามารถเก็บวิวได้เพราะผนังกระจกตรงจุดนั้นติดสูง จากพื้นจรดเพดานสองชั้น ให้วิสัยทัศน์ในการ มองเห็นสูงขึ้นถึงปลายยอดไม้ และท้องฟ้า และยังมองเลยออกไปเห็น สนามบินโอซาก้า และใจกลางเมืองโอซาก้าในระยะไกล ๆ ได้

พื้นผิวไม้มีชีวิตชีวาขึ้นเมื่อ แสงส่องเข้ามาในบ้าน มิติของแสงเงาที่ส่อง ลอดซี่ไม้ระแนง ตกกระทบผนังและพื้น สร้างบรรยากาศที่น่ามองอย่างอบอุ่น เสน่ห์ของความเป็นญี่ปุ่น อยู่ที่การใช้ชีวิตร่วมกับฤดูกาล แม้แต่ห้องน้ำ ห้องนอน จึงตั้งใจใส่ผนังกระจกเช่นกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คน บ้าน และธรรมชาติได้อยู่ ร่วมกันอย่างชิดใกล้ สามารถเข้าถึงกันได้ง่ายราวกับเป็นส่วน หนึ่งของกันและกัน โดยที่ไม่ต้องกังวลเรื่อง สายตาของผู้คนภายนอก

บ้านยุคใหม่นิยมใช้ระแนงไม้ ในการรักษาความเป็นส่วนตัว โดยที่บ้านยังคงรับ แสงธรรมชาติ และลมเข้าสู่ภายในได้ แต่ประตูหรือผนังระแนงเล็ก ๆ นี้ในงานสถาปัตยกรรม ญี่ปุ่นก็มีเช่นกัน และมีมาตั้งแต่โบราณด้วย โดยมีชื่อเรียกว่า senbon-koshi หมายถึง “ระแนงนับพัน” โรงแรมภูเก็ต เพราะประกอบด้วยไม้ซี่เล็ก ๆ จำนวนมาก ความถี่ของซี่ระแนง ช่วยกรองแสงที่จะเข้าสู่ภายใน และพรางสายตาจากบุคคล ภายนอกไปพร้อมกัน ซึ่งไม่ได้ให้ แค่ความสวยงาม ยังเป็นประโยชน์กับบ้านด้วยในหลายๆ ประการ

ตกแต่งไม้ระแนงสวยๆ

ประโยชน์ของระแนงไม้ ที่จะช่วยเพิ่มความน่าอยู่ให้กับบ้านของคุณ

1.ใช้เป็นผนังบังแดดและช่วยพรางตา
ประโยชน์แรกสุดที่ถูกนำไปใช้สำหรับ ไม้ระแนง คือ การลดอุณหภูมิให้กับตัวบ้าน อย่างที่รู้กันอยู่แล้วในเรื่องแดดและความร้อนของบ้านเรา ดังนั้นการมีระแนงเพื่อเป็นตัวกรองแสงออกไปบางส่วนจึงมีส่วนช่วยอย่างมากในการป้องกันความร้อนให้กับตัวบ้าน เพิ่มอายุการใช้งานของผนังภายนอก ด้วยเหตุนี้เราจึงมักเห็นบ้านเรือนหลายหลังมีการติดส่วนของระแนงไว้ที่หน้าต่างห้องที่ชั้น 2 เพื่อลดความร้อนของแสง ซึ่งปกติชั้น 2 จะโดนแดดมากกว่าชั้นล่างอยู่แล้ว

นอกจากเรื่องความร้อนของตัวบ้านแล้ว การติดตั้งระแนงนี้ยังช่วยพรางตาคนภายนอก เพิ่มความส่วนตัวให้กับคนที่อยู่ในห้องชั้นบนได้อย่างดีเลยค่ะ โดยการติดตั้งจะมีทั้งแบบฟิกซ์ (Fixed) หรือแบบติดตายที่ไม่สามารถเคลื่อนได้ และติดตั้งแบบบานเลื่อนก็สะดวกต่อการใช้งานเช่นกัน

2.ใช้เป็นหลังคาโรงจอดรถหรือระเบียง
อีก 1 ประโยชน์ของไม้ระแนงคือ การทำเป็นหลังคาให้กับส่วนต่อเติมต่าง ๆ ของตัวบ้าน ซึ่งนิยมทำเป็นหลังคาของโรงจอดรถหรือระเบียงเพื่อให้มีแส่งสว่างเข้าถึง โดยในการติดตั้งจะเป็นการติดตั้งระแนงไม้ไว้เป็นโครงเพื่อให้มีแสงสว่างลอดเข้ามาได้ จากนั้นก็ใช้แผ่นวัสดุโปร่งใส่ติดทับด้านบน อาจเป็นแผ่นโปร่งแสงอะคริลิก แผ่นกรองแสงไฟเบอร์กลาส กระจกลามิเนต แผ่นโพลีคาร์บอเนต หรือแผ่นพลาสติกโปร่งแสงสำหรับหลังคาก็ได้เช่นกัน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของเจ้าของบ้านเช่นกัน การทำแบบนี้นอกจากเป็นเรื่องของการป้องกันฝนและแดดแล้ว ยังเป็นการเพิ่มความโมเดิร์นให้กับตัวบ้านอย่างดีเลย

3.ใช้ทำประตูบานพับหรือเฟี้ยมนอกระเบียง
อีก 1 วิธีที่ช่วยเพิ่มความดูดีให้กับตัวบ้าน พรางสายตาจากคนนอกบ้าน และยังเป็นฟังก์ชันเสริมความปลอดภัยใหกับบ้านนั่นคือ การใช้ระแนงไม้มาเป็นประตูบานพับหรือเฟี้ยม โดยใช้แทนการติดตั้งเหล็กดัด การทำแบบนี้เมื่อมองจากกนอกตัวบ้านจะแทบไม่เห็นความเคลื่อนไหวภายในบ้านเลย ช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวให้กับเจ้าของบ้านอย่างมากแลยค่ะ นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มความโมเดิร์นให้กับตัวบ้านเมื่อมองออกมาจากภายนอก หรืออาจดีไซน์ออกมาให้เป็นบ้านสไตล์ญี่ปุ่นประยุกต์ก็ได้เหมือนกัน

บ้านสวยๆ

4.ใช้แบ่งโซนต่าง ๆ ของตัวบ้าน
สำหรับบ้านหลังไหนที่มีพื้นที่ใช่สอยแบบเปิดโล่ง ทั้งโซนนั่งเล่น ห้องครัว หรือโซนทำงานอยู่รวมกันหมดเลย การนำระแนงไม้มาใช้เป็นส่วนต่อเติมเพื่อแบ่งกันส่วนใช้งานก็เป็นหนึ่งในความคิดที่ดีมากเลยค่ะ การทำแบบนี้จะช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัวจากการใช้งานส่วนต่าง ๆ แต่ก็ไม่ได้ลดระยะในการมองเห็นกันของคนในบ้าน เพิ่มความสวยงามและมีสไตล์ให้กับคนในบ้านเวลาต้องรับแขก ที่สำคัญคือ ปรับเปลี่ยนง่าย เหมาะกับครอบครัวที่ชอบตกแต่งบ้านเป็นประจำเลย

5.ปูพื้นรอบสระว่ายน้ำ
อีก 1 จุดที่สามารถใช้ระแนงไม้ในการใช้งานคือ การปูเป็นพื้นสระว่ายน้ำ อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าพื้นบริเวณรอบสระว่ายน้ำเป็นพื้นที่ลื่นจากการใช้งานได้ง่าย การใช้ระแนงในการปู้เป็นพื้นรอบสระว่ายน้ำ เป็นการลดการเกิดอุบัติเหตุได้เป็นอย่างดีเพราะพื้นที่ร่องของระแนงจะช่วยระบายน้ำออก ทำให้พื้นแห่งอยู่เสมอ อย่างไรก็ตามการใช้ระแนงไม้มาทำพื้นรอบสระน้ำก็ต้องดูแลเรื่องการเคลือบกันน้ำไม้ให้ดีนะคะ เพราะหากดูแลการเคลือบไม่ดีจะทำให้ไม่บวมได้