บ้านผนังไม้แบบนอร์ดิก

บ้านผนังไม้แบบนอร์ดิก
บ้านผนังไม้แบบนอร์ดิก

บ้านผนังไม้แบบนอร์ดิก


บ้านผนังไม้แบบนอร์ดิก
ด้วยภาระด้านการงาน ด้านการเงิน การออกแบบบ้านให้มีความผ่อนคลาย ไม่สร้างภาระทางด้านจิตใจเพิ่ม นับเป็นสิ่งที่จะละเลยไม่ได้ เพราะจุดมุ่งหมายของการอยู่อาศัยในบ้านหนึ่งหลัง คงไม่ได้หมายถึงเพียงแค่มีที่ไว้ให้ซุกกายนอนเท่านั้น ย่อมต้องการความสุนทรียภาพในการพักผ่อน ช่วยลดทอนความวุ่นวาย คลายความเครียด ทำให้หัวใจได้รู้สึกอบอุ่น เหมือนว่าเป็นสถานที่ของเราอย่างแท้จริง

บ้านชั้นครึ่งหลังคาทรงจั่วไร้ชายคา ออกแบบตามสไตล์นอร์ดิก ที่มีความเรียบง่ายผสมผสานกับความเป็นโรงนาเก่า ด้วยจั่วหลังคาสูงโปร่งที่ตั้งใจให้เป็นจุดสะดุดสายตาได้ในทันที กรุด้วยเมทัลชีทสีเทาเข้ม แผ่นโลหะที่เส้นสายไม่ซับซ้อน ตัดกับผนังบ้านที่ส่วนใหญ่ฉาบเรียบทาสีขาว เว้นเพียงด้านหน้าเท่านั้นที่กรุด้วยหินก้อนใหญ่ที่เป็นธรรมชาติ ทำให้บ้านไม่รู้สึกนิ่งจนเกินไป เพราะมีความแตกต่างของวัสดุซ่อนอยู่ด้วย

การแต่งบ้านสไตล์นอร์ดิกหรือสแกนดิเนเวีย เป็นวิธีการออกแบบที่นิยมขึ้นเรื่อยๆ เพราะทั้งโปร่ง โล่ง แต่ก็อบอุ่นและเหมาะแก่การอยู่อาศัยจริง

แต่ถึงจะเรียบหรูดูแพง การแต่งบ้านสไตล์นี้ก็ไม่ได้แต่งยากอย่างที่คิด เพียงเลือกสีและเฟอร์นิเจอร์ให้ถูก ก็สำเร็จไปครึ่งนึงแล้ว! มาดูกันดีกว่าว่ามีวิธีแต่งบ้านสไตล์นอร์ดิก-สแกนดิเนเวียยังไงบ้าง

  1. ใช้สีขาว เทา ดำ เป็นหลัก
    ความเรียบง่าย คือ หนึ่งในหัวใจสำคัญของบ้านสไตล์นอร์ดิก-สแกนดิเนเวีย จึงควรเน้นใช้สีกลางๆ ที่เข้าได้กับทุกสี เช่น ขาว เทา และดำเป็นหลัก เพื่อสร้างบรรยากาศที่สะอาดสะอ้าน เคร่งขรึมและสงบ
  1. จัดแสง-สีให้บ้านสว่าง
    สไตล์นอร์ดิก-สแกนดิเนเวีย มีถิ่นกำเนิดในแถบสแกนดิเนเวียอันหนาวเย็น และมืดสลัวในฤดูหนาว แสงแดดจำเป็นอย่างมากในการสร้างความอบอุ่น และเพิ่มความสว่างให้ตัวบ้าน
  1. ผสมผสาน ไม้ โลหะ และผ้า
    หัวใจสำคัญอีกอย่างของสไตล์นี้ คือ ความอบอุ่น จึงนิยมใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก ทั้งพื้น โต๊ะ เก้าอี้ รวมถึงบิ๊วอินตกแต่งผนังด้วย
  1. เลือกเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์เรียบง่าย
    อย่างที่บอกไปแล้วว่า ความเรียบง่าย เป็นสิ่งสำคัญสำหรับสไตล์นอร์ดิก-สแกนดิเนเวีย แต่ไม่ได้หมายความต้องเลือกเฟอร์นิเจอร์ดีไซน์น่าเบื่อๆ นะ
  1. จัดของให้เป็นระเบียบและเป็นสัดส่วน
    สำหรับข้อนี้ สายมินิมอลคงเข้าใจกันดีอยู่แล้ว สไตล์นอร์ดิก-สแกนดิเนเวียเองก็ไม่ต่าง สไตล์มินิมอลแบบอื่นๆ
  1. เหลือพื้นที่ว่างไว้บ้าง
    ต่อเนื่องจากข้อที่แล้ว การจัดบ้านให้เป็นระเบียบจะช่วยให้เราเหลือที่ว่างเยอะขึ้น ไม่ใช่แค่บนพื้นเท่านั้น ที่ว่างที่ว่ายังรวมถึงพื้นที่บนโต๊ะ ตู้และชั้นวางต่างๆ ด้วย และที่ว่างนี่เองที่มีส่วนช่วยทำให้บ้านของเราดูมินิมอลและโปร่งขึ้น
  1. เพิ่มความสดชื่นด้วยต้นไม้
    สีโทนอ่อนของสไตล์นอร์ดิก-สแกนดิเวีย อาจทำให้ห้องดูเรียบจนน่าเบื่อ การตัดด้วยสีเขียวของต้นไม้จะช่วยเพิ่มความสดชื่น สบายตา รวมถึงสีอ่อนๆ ของห้องจะช่วยขับให้ต้นไม้สุดโปรดของคุณดูสวยและสดขึ้นอีกด้วย Phuket Villas
บ้านผนังไม้แบบนอร์ดิก

ที่อยู่อาศัยสไตล์นอร์ดิก

สำหรับที่อยู่อาศัยสไตล์นอร์ดิกนั้น สิ่งที่น่าสนใจก็คือ รูปทรงของบ้านที่เป็นสามเหลี่ยมทรงสูง นอกจากนี้การเติมเต็มพื้นที่บ้านด้วยธรรมชาติก็ถือเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นนอร์ดิกได้เช่นกันครับโดยจะเห็นได้จากโครงการบ้านของ SC Asset สำหรับแบรนด์ “บางกอก บูเลอวาร์ด” ที่ได้แรงบันดาลใจจากนอร์ดิกมาประยุกต์ใช้กับการดีไซน์บ้านและส่วนกลางนั่นเองครับ

ข้อดีของที่อยู่อาศัยสไตล์นอร์ดิก

ท่ามกลางชีวิตคนเมืองที่วุ่นวาย เราเชื่อว่าการใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ บนความเรียบง่ายย่อมเป็นสิ่งที่หลายคนใฝ่ฝัน และที่อยู่อาศัยสไตล์นอร์ดิกเองก็เป็นตัวเลือกที่สามารถเข้ามาตอบโจทย์นี้ให้กับทุกคนได้ เพราะข้อดีของที่อยู่อาศัยสไตล์นอร์ดิกนั้นคือการที่ผู้อยู่จะได้ความใกล้ชิดธรรมชาติ ความสบายใจที่จะนำพาความสุขมาให้กับเรานั่นเอง

นอกจากนี้การจัดวางพื้นที่ใช้สอยอย่างรู้คุณค่านับเป็นข้อดีที่เห็นได้อย่างชัดเจนของที่อยู่อาศัยสไตล์นี้ เพราะเมื่ออดีตนั้น การสร้างบ้านของกลุ่มประเทศนอร์ดิกจะนิยมการสร้างบ้านในขนาดกะทัดรัด ไม่โอ่อ่า อย่างปัจจุบันที่ได้ประยุกต์ขึ้นมา ดังนั้นทุกพื้นที่ใช้สอยของที่อยู่อาศัยสไตล์นอร์ดิกจึงกลายเป็นการใช้งานที่เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้อยู่อาศัย

ตกแต่งบ้านสไตล์นอร์ดิกบ้านสไตล์นอร์ดิกเป็นรูปแบบการตกแต่งบ้านของชาวยุโรปเหนือที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เต็มไปด้วยเสน่ห์ของความเรียบง่าย และในการตกแต่งล้วนก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้อยู่อาศัย ซึ่งการตกแต่งสไตล์นอร์ดิกได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติรอบตัวทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสี แสง หรือแม้แต่วัสดุต่างๆ และหนึ่งในรูปแบบบ้านที่มีสไตล์นอร์ดิกชัดเจนและสวยงาม ก็คือโครงการของ SC Asset ภายใต้แบรนด์ “บางกอก บูเลอวาร์ด” เราเลยเอาไอเดียการตกแต่งบ้านสไตล์นอร์ดิกในแต่ละมุมมาฝากกันครับว่าจะมีบรรยากาศหรือรูปแบบไหนบ้าง โครงการภูวิลล่า ภูเก็ต

บ้านผนังไม้แบบนอร์ดิก

ตกแต่งมุมนั่งเล่นให้ดูทันสมัย

มุมนั่งเล่นถือเป็นส่วนที่สำคัญของบ้าน เพราะไม่ใช่แค่เราที่จะใช้มุมนี้ แต่นั่นรวมไปถึงแขกที่มาเยือนเช่นกัน ดังนั้นการตกแต่งในปัจจุบันนี้จะเน้นผนังโทนสีอ่อน เฟอร์นิเจอร์จากไม้ มีช่องเปิดรับแสงธรรมชาติ สบายใจทั้งผู้อยู่และผู้มาเยือนเลย

มุมรับประทานอาหารกับโทนแสงอบอุ่น

โต๊ะอาหารเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบ้านเช่นกัน เพราะพื้นที่นี้จะเป็นจุดที่สมาชิกในครอบครัวมารวมตัวและใช้เวลาด้วยกันในแต่ละวัน ดังนั้นการตกแต่งจะเน้นแสงของไฟที่ให้ความอบอุ่น หรืออาจจะจัดมุมนี้ติดกับหน้าต่างที่มีแสงสาดเข้ามาก็ได้เช่นกัน

ห้องน้ำแบบเรียบง่าย สะดวกทุกการใช้งาน

ห้องน้ำสไตล์นอร์ดิกส่วนใหญ่จะตกแต่งให้ด้วยสีเอิร์ธโทนสไตล์ธรรมชาติ เน้นความเรียบง่ายเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานมากกว่า เพราะการตกแต่งสไตล์นอร์ดิกนั้น สิ่งที่ขาดไม่ได้คือประโยชน์ที่ผู้อยู่อาศัยจะได้รับนั่นเอง

ห้องนอนใต้หลังคา เอกลักษณ์ของนอร์ดิก

สิ่งที่โดดเด่นที่สุดสำหรับห้องนอนสไตล์นอร์ดิกเลยก็คือห้องใต้หลังคาแบบ High Ceiling ส่วนการตกแต่งยังคงเป็นการเน้นที่โทนสีเอิร์ธโทนเป็นหลักครับ เพราะสีขาว เทา และน้ำตาล คือสีที่เป็นพื้นฐานของความเป็นธรรมชาติ ดังนั้นห้องนอนสไตล์นอร์ดิกจะมอบความสุขสบายให้แก่ผู้อาศัยในยามหลับไหลได้เป็นอย่างดี home

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าที่อยู่อาศัยสไตล์นอร์ดิกก็คือความเรียบง่ายในแบบที่ไม่หวือหวา เหมาะกับเทรนด์ยุคใหม่ที่เน้นความสบายและผ่อนคลายด้วยการดึงเอาประโยชน์จากธรรมชาติในเรื่องของสี แสง และอากาศมาปรับใช้อย่างลงตัว “เพราะธรรมชาติเปรียบเสมือนส่วนหนึ่งของชีวิต” นี่คือหลักการที่ชาวนอร์ดิกยึดถือและ ปฏิบัติมานาน จึงไม่แปลกใจที่แบรนด์บางกอก บูเลอวาร์ด ได้แรงบันดาลใจมากจากนอร์ดิกกับที่อยู่อาศัยที่เต็มไปด้วยความสุขและคุณภาพที่ดี ใส่ใจผู้อยู่อาศัยด้วยพื้นที่สีเขียวใกล้ชิดธรรมชาตินั่นเอง

3 จุดควรระวัง เมื่อคิดสร้างบ้านสไตล์นอร์ดิก Modern Barn
ในช่วงหลายปีมานี้ สถาปนิกได้ทำการออกแบบบ้านโดยผสมผสานระหว่างสไตล์ Nordic และ Modern ทำให้มีชื่อเรียกใหม่ขึ้นมาว่า Modern Barn หรือบ้านสไตล์โรงนาประยุกต์ที่มีรูปลักษณ์ทันสมัย ยิ่งสร้างความน่าสนใจมากขึ้น แต่การสร้างบ้านสไตล์นี้ก็ยังมีข้อจำกัดบางอย่างที่ยังไม่ค่อยมีใครพูดถึง จึงขอพาไปมองในอีกมุมให้เห็นกันรอบด้าน เพื่อให้ผู้ที่ชื่นชอบในบ้านสไตล์นอร์ดิก หรือ Modern Barn สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้

3 สิ่งที่ต้องระวังก่อนสร้างบ้าน Modern Barn
ก่อนจะนำบ้านสไตล์ใด ๆ มาประยุกต์ใช้ร่วมกับบ้านของเรา อยากให้ทราบที่มาที่ไป ต้นกำเนิด เพื่อเข้าใจบริบทในงานออกแบบ อย่างบ้านสไตล์ Nordic หรือ Modern Barn มีต้นกำเนิดมาจากสถาปัตยกรรมในยุโรป ซึ่งเป็นโซนเมืองหนาวผู้อยู่อาศัยจึงต้องการความอบอุ่นจากแสงอาทิตย์ การออกแบบบ้านจึงเน้นเปิดช่องแสง เพื่อให้สามารถนำแสงสว่างจากธรรมชาติเข้ามาสู่อาคารได้ และด้วลักษณะสถาปัตยกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากโรงนาที่ไม่มีกันสาด ดังนั้นการยกรูปแบบของนอร์ดิกมาใช้เลย โดยไม่ปรับประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของเมืองไทยแน่นอนว่าจะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาในภายหลังได้ ซึ่งสิ่งที่ควรระวังสำหรับบ้านสไตล์ Modern Barn มีอยู่ 3 ประการหลักด้วยกัน ดังนี้

บ้านนอร์ดิก กับปัญหาความร้อน
“ร้อนแน่…บ้านแบบนี้” นี่คือความคิดเห็นที่เรามักพบได้เสมอเมื่อพูดถึงบ้านสไตล์นอร์ดิก ซึ่งต้องยอมรับว่าจริงบางส่วน เพราะด้วยหลังคาทรงจั่วแบบไร้ชายคา และการใช้กระจกเป็นองค์ประกอบของบ้านค่อนข้างมาก ย่อมส่งผลให้บ้านได้รับความร้อนเข้าสู่ภายในได้มากขึ้น แต่หากวางแผนงานให้ดีตั้งแต่ต้น ปัญหานี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการออกแบบ อาทิ การเลือกทิศทางห้องแต่ละห้องให้เหมาะกับทิศทางแสงแดด ห้องที่ไม่เน้นช่องเปิดมากให้ไว้ฝั่งทิศใต้และทิศตะวันตก ส่วนห้องที่มีช่องกระจกบานใหญ่เลือกไว้ในทางทิศเหนือ กรณีบ้านที่เลี่ยงทิศเปิดไม่ได้เพราะบังคับด้วยวิวหรือมุมหน้าบ้าน ให้ออกแบบอาคารลักษณะเว้าเข้าไปเพื่อให้จุดเว้าเป็นชายคาโดยอัตโนมัติ

นอกจากการออกแบบแล้ว วัสดุก็มีส่วนสำคัญมาก อย่างการเลือกทำผนังอิฐ 2 ชั้น, เลือกวัสดุมุงหลังคาที่มีคุณสมบัติสะท้อนความร้อน พร้อมติดตั้งแผ่นสะท้อนความร้อนและฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา โดยเฉพาะจุดที่ต้องการทำฝ้าสูงโปร่งตามแนวจั่วจะต้องเพิ่มคุณสมบัติกันความร้อนมากเป็นพิเศษ หรือหากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการหมุนเวียนอากาศด้วยกลไลธรรมชาติ สามารถใช้ระบบ Active Airflow ที่ติดตั้งบนหลังคาทรงจั่วได้ โดยก่อนติดตั้งจะมีวิศวกรมาตรวจสอบให้ก่อน และสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือต้นไม้ ช่วยให้บ้านสไตล์โรงนาดูมีชีวิตชีวา ลดอุณหภูมิร้อนทางสายตาได้เป็นอย่างดี บ้าน

บ้านนอร์ดิก ฝนสาด ผนังชื้น
เสน่ห์ของ Modern Barn คือเส้นสายของหลังคาแบบไร้ชายคา หากใส่กันสาดเข้าไปอาจทำให้เสน่ห์ของบ้านสไตล์นี้ลดลงไปได้ เจ้าของบ้านจึงต้องทำความเข้าใจเพื่อออกแบบรับมือกับความชื้นบนผนังและฝนสาดให้ได้ตั้งแต่ต้น เช่น จุดพักผ่อนสำคัญอย่างห้องนั่งเล่น ให้ออกแบบด้วยวิธีการร่นผนังเว้าเข้าไป เพื่อให้หลังคาทำหน้าที่เป็นกันสาดไปในตัว ส่วนปัญหาฝนสาดบริเวณหน้าต่างฝั่งที่ไม่มีชายคา จำเป็นต้องเลือกบานหน้าต่างขอบอลูมิเนียมหรือไวนิล จะช่วยป้องกันน้ำซึมได้ดีกว่าวงกบไม้ ส่วนปัญหาผนังชื้นสามารถป้องกันได้ด้วยการทาสีที่มีคุณสมบัติป้องกันความชื้น ป้องกันเชื้อรากรณีต้องการทำเฉลียงพักผ่อน ให้ออกแบบเฉลียงยื่นออกจากตัวบ้าน โดยเลือกใช้หลังคากล่องแบน จะช่วยให้ภาพรวมของบ้านดูเข้ากัน การมีเฉลียงจึงช่วยกันฝนสาดและกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้

หลังคารั่วซึม
แม้ว่าบ้าน Modern Barn จะมีจั่วสูงแต่ก็อาจเกิดปัญหารั่วซึมบนหลังคาได้หากขาดการมุงหลังคาที่ดี การรับมือกับปัญหานี้สามารถทำได้ด้วยการการออกแบบความลาดเอียงของหลังคาให้เหมาะสมกับรุ่นวัสดุหลังคานั้น ๆ เช่น หลังคากระเบื้องแผ่นเรียบ SCG รองรับองศาความชันที่ 25 องศา แต่หากต้องการให้การระบายน้ำทำได้ดีขึ้น ควรออกแบบให้หลังคาชันมากขึ้นที่ 30-35 องศา จะช่วยลดปัญหารั่วซึมและปัญหาน้ำไหลย้อน

อีกจุดที่มักมีปัญหากับหลังคาจั่วคือ ปั้นลม ทำหน้าที่กันลมไม่ให้ปะทะกับกระเบื้องหลังคาโดยตรง และช่วยกันน้ำฝนไม่ให้เข้าอาคาร วัสดุที่นิยมนำมาใช้เป็นปั้นลม มีทั้งไม้จริง ไม้สังเคราะห์ ปั้นลม คสล. หรือที่นิยมมากในยุคปัจจุบันและดูเข้ากับบ้านสไตล์นอร์ดิก คือ การนำไม้ C Channel มาประยุกต์ใช้ ทำให้ดูเสมือนบ้านโครงสร้างเหล็ก

ทคนิคติดตั้งปั้นลม คสล.
งานปั้นลม คสล. ใช้คานคสล. เอียงตามแนวปั้นลม ต้องมีความกว้างคลุมหลังกระเบื้องอย่างน้อย 20 ซม. และ สำหรับกระเบื้องแผ่นเรียบ เช่น Excella Modern ใต้ท้องปีก คสล. สูงกว่าหลังแป 6 ซม. และ เสริมด้วย SCG Roof Sarking 1 ช่วงจันทันตามแนวปีกคสล. ช่างจำเป็นต้องมีความละเอียดและระมัดระวังเป็นพิเศษในขั้นตอนการติดตั้ง บ้านจัดสรร

เทคนิคติดตั้งปั้นลมวัสดุตกแต่ง C-Channel
งานปั้นลมวัสดุตกแต่ง C-Channel ขนาดของวัสดุตกแต่ง C Channel ต้องมีระยะบังครอบสันหลังคาและมีระยะในการทำฝ้าบริเวณจั่ว ต้องระวังในจุดต่อชนระหว่างหลังคาและวัสดุตกแต่ง C- Channel ซึ่งถือว่าเป็นจุดวิกฤตที่มีความเสี่ยงให้เกิดการรั่วซึมได้ การป้องกันรั่วต้องเสริมระบบรางน้ำซ่อนในจุดต่อดังกล่าวและปิดจุดต่อด้วยแผ่นปิดรอยต่อ จากนั้นคลุมด้วย เหล็กพับตัวแอล โดยยึดเหล็กพับตัวแอล เข้ากับปั้นลมวัสดุตกแต่ง C Channel ด้วยการเชื่อม

แม้บ้านสไตล์นอร์ดิกจะมีปัญหาเรื่องความร้อนและฝนสาดอยู่บ้าง แต่หากนำมาเทียบกับบ้านกล่องแบบโมเดิร์นแล้ว อย่างน้อย ๆ นอร์ดิกก็ยังมีหลังคาจั่วมารองรับ ขอแค่ออกแบบให้เหมาะสมก็หมดกังวลเรื่องรั่วซึมได้เลย และนอกจากการใช้วัสดุมุงหลังคาและอุปกรณ์ป้องกันรั่วซึมที่ได้มาตรฐานแล้ว หลังคาบ้านสไตล์ Modern Barn ที่มีเอกลักษณ์เด่นชัด ยังจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในงานหลังคาโดยเฉพาะ เพื่อให้งานหลังคาจบ สวย ไร้ปัญหารั่วซึมให้ต้องตามแก้ไขในภายหลัง บ้านสองชั้น

อ่านเพิ่มเติ่ม : บ้านรูปตัว U