ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) (อังกฤษ: Government Housing Bank) เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงการคลัง โดยปัจจุบันกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2496 ทำหน้าที่ช่วยเหลือตลาดทางการเงินให้กับประชาชน ได้มีที่อยู่อาศัยตามสมควรแก่อัตภาพ โดยการให้กู้ยืมเงิน และ จัดสรรที่ดินเพื่อก่อสร้างที่เป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่ประกอบธุรกิจในการส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชนนำเงินไป ลงทุนเกี่ยวกับการสร้างอาคารและที่ดินโดยตรงทำหน้าที่เสมือนสื่อกลางในการนำเงินไปใช้ประโยชน์ ใน กิจการเคหะและเป็นสถาบันการเงินที่ดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยัง ร่วมมือกับหน่วยงานของรัฐต่าง ๆ สนับสนุนให้ประชาชนมีที่อยู่เป็นของตนเอง อาทิ ให้สินเชื่อกับผู้ที่ซื้อ บ้าน กับการเคหะแห่งชาติ สินเชื่อกับผู้ประกันตนกับสำนักงานประกันสังคม ร่วมกับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการให้สมาชิกกู้เงินเพื่ออสังหาริมทรัพย์ ความช่วยเหลือด้านการมีบ้าน

ความเป็นมาธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

จุดเริ่มต้นของ ธอส.
วันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2496 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรา “พระราชบัญญัติ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496” และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2496 ให้จัดตั้งธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงการคลัง เจตนารมณ์สำคัญในการจัดตั้ง “เพื่อช่วยเหลือทาง การเงินให้ประชาชนได้มีที่อยู่อาศัยตามควรแก่อัตภาพ” และได้มีพิธีเปิดธนาคารขึ้นในวันที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2496 ซึ่งถือเป็นวันเริ่มดำเนินการของธนาคารด้วย โดยใช้ตราสัญลักษณ์ “วิมานเมฆ” ที่แสดงถึง บ้านจัดสรร ที่ทำให้ครอบครัวมีความสุข อบอุ่น ร่มเย็น เปรียบประดุจทิพย์พิมาน

เริ่มให้บริการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและเงินฝาก
พ.ศ. 2516 ธอส. เริ่มปล่อยสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ทั้งสินเชื่อระยะสั้น เพื่อผู้ประกอบการนำไปพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย และสินเชื่อระยะยาว เพื่อประชาชนทั่วไป โดยในปีต่อมา (พ.ศ. 2517) ก็ได้เปิดธุรกิจรับฝากเงินเป็นครั้งแรก

ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร และกลยุทธ์ทางการเงินใหม่ ๆ
หลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2522 – 2524) ธนาคารได้มีการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรและกลยุทธ์ด้านการเงินการธนาคาร อาทิ แยกส่วนเงินกู้ที่มีการปล่อยสินเชื่อ ปรับปรุงกระบวนการให้สินเชื่อให้คล่องตัว และพัฒนาฝึกอบรมบุคลากร ริเริ่มบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ ซึ่งได้รับความนิยมและเป็นแหล่งทุนที่สำคัญขอธนาคารต่อเนื่องมาหลายปี และมีการจัดตั้งศูนย์สินเชื่อเพื่อแก้ปัญหาหนี้ค้างโครงการที่อยู่อาศัย โดยทำหน้าที่วิเคราะห์และพิจารณาปล่อยสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการโครงการ

เปิดสำนักงานใหญ่ และเปิดสาขาตามห้างสรรพสินค้า
18 สิงหาคม พ.ศ. 2529 ธนาคารได้ย้ายสำนักงานใหญ่จากถนนราชดำเนินในมาให้บริการที่ห้วยขวาง และใช้สำนักงานใหญ่เดิมเป็นที่ทำการสาขาราชดำเนิน อีกทั้งในเดือนนั้นยังได้เริ่มขยายการให้บริการ ด้วยการเปิดเคาน์เตอร์การเงินนอกสถานที่ตามห้างสรรพสินค้า ศูนย์บริการธนาคาร ณ ที่ว่าการอำเภอทั่วไทย และเปิดหน่วยบริการสินเชื่ออีกหลายแห่ง

สัญลักษณ์“รูปสองมือโอบอุ้มบ้าน”
โอกาสครบรอบ 40 ปี เมื่อปี พ.ศ. 2536 ธนาคารได้เปลี่ยนสัญลักษณ์จาก “รูปวิมานเมฆ” เป็น “รูปสองมือโอบอุ้ม บ้าน ” เพื่อให้สอดคล้องกับการได้รับอนุมัติให้เป็น “รัฐวิสาหกิจที่ดี” รวมถึงได้เริ่มทำเว็บไซต์ www.ghbank.co.th เพื่อให้ข้อมูลแก่บุคคลทั่วไป และในปี พ.ศ. 2539 ได้รับการยกย่องจากศูนย์กลางสหประชาชาติว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานมนุษย์ให้เป็น “สถาบันการเงินที่มีผลการปฏิบัติงานดีเยี่ยม”

ช่วยฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จากวิกฤตเศรษฐกิจ
ในช่วงปี พ.ศ. 2540 – 2542 ประเทศไทยเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรุนแรง ธนาคารได้มีบทบาทในการช่วยฟื้นฟูธุรกิจที่อยู่อาศัยและอสังหาริมทรัพย์ตามนโยบายของรัฐบาล แม้ในช่วงที่สถานการณ์หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ขยายตัวที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แต่ก็ยังแสดงบทบาทนำในเรื่องการประนอมหนี้และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับลูกค้าผู้กู้เงินซื้อ บ้านหรู ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกค้าได้อย่างมาก

รัฐวิสาหกิจแห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น 3 ปีติดต่อกัน
ในปี พ.ศ.2548 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้รับรางวัล “รัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2548 “จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ กระทรวงการคลัง นับเป็นรัฐวิสาหกิจ แห่งแรกและแห่งเดียวที่ได้รับรางวัลรัฐวิสากิจดีเด่นครบทั้ง 3 ประเภทในปีเดียวกัน ได้แก่ รางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น,รางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น และรางวัลการบริหารจัดการองค์กรดีเด่นในปี 2549 ธนาคารได้รับการประกาศยกย่องจากกระทรวงการคลังให้เป็น “ รัฐวิสาหกิจดีเด่น ประจำปี 2549” โดยได้รับรางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่น และรางวัลผลการดำเนินงานดีเด่น 2 ปีติดต่อกันปี 2550 ธนาคารได้รับรางวัลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจดีเด่นนับเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน สินเชื่อบ้านกับสิ่งที่ต้องรู้ก่อนขอสินเชื่อ

ปรับภาพลักษณ์ใหม่
พ.ศ. 2550 ธนาคารได้ประกาศภาพลักษณ์ใหม่ ภายใต้วิสัยทัศน์ และได้นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการดำเนินงาน มีการรวมศูนย์การวิเคราะห์และอนุมัติสินเชื่อไว้ที่เดียว เพื่อให้การพิจารณาสินเชื่อเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งธนาคาร จึงสามารถให้บริการประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วยิ่งขึ้น อีกทั้งยังเป็นปีที่ได้รับรางวัล “รัฐวิสาหกิจดีเด่น” ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 รวมถึงได้รับรางวัล Best Practice Certificate, รางวัล The Best Marketing Campaign และรางวัล Boss of The Year 2007 อีกด้วย

เคียงข้างคนไทยในทุกสถานการณ์
พ.ศ.2559 ประเทศไทยประสบมหาอุทกภัยครั้งใหญ่ สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบในวงกว้าง ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วประเทศ ธนาคารฯ จึงได้ออกมาตรการลดภาระหนี้ที่อยู่อาศัย ช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบอุทกภัย “พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ปลดหนี้” และได้จัดทำโครงการ บ้านเดี่ยว ธอส. – ธปท. เพื่อผู้ประสบอุทกภัย” โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้จัดสรรเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ หรือ ซอฟต์โลนให้ ธอส.สำหรับปล่อยสินเชื่อ บ้านจัดสรร ดอกเบี้ยต่ำให้กับลูกค้าที่ประสบอุทกภัย ได้กว่าแสนครอบครัว

60 ปีแห่งการสถาปนา
24 กันยายน พ.ศ. 2556 ครบรอบ 60 ปีของการสถาปนา โดยธนาคารกำหนดให้ปีนี้เป็น “ปีแห่งการบริการ” เพื่อให้ ธอส. เป็นที่หนึ่งในใจของลูกค้า และดำรงความเป็นผู้นำในด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย รวมถึงการริเริ่มนโยบายการบริหารงาน “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาอย่างสร้างสรรค์และใส่ใจในวัฒนธรรมองค์กร” เพื่อนำพาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน นอกจากนั้นธนาคารได้จัดกิจกรรมพิเศษเพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าวหลายด้าน เช่น กิจกรรม CSR “ศูนย์การเรียนรู้สู่ประตูอาเซียน” โครงการบ้าน ธอส. เพื่อมนุษยชาติ สร้าง – ซ่อมบ้าน 600 หลัง, โครงการ 60 ปี บ้านเดี่ยว หนังสือ ธอส. ทั่วไทย เป็นต้น

ตราสัญลักษณ์ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.)

โลโก้ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ ประกอบด้วยส่วนสัญลักษณ์ และตัวอักษร โดยทั้ง 2 ส่วนนี้จะต้องใช้ควบคู่กันเสมอเพื่อสะท้อนถึงภาพพจน์อันโดดเด่นในการเป็นสถาบันการเงินดำเนินธุรกิจสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่มีความมั่นคงทันสมัยและมีมิตรไมตรี

สัญลักษณ์ของโลโก้ธนาคารจะมีรูปทรงที่สื่อถึงพลังของการเคลื่อนไหว และความสมดุลประสานกลมกลืนที่หนักแน่น มั่นคง โดยรูปมือในโลโก้จะเป็นสัญลักษณ์แทนธนาคารที่คอยโอบอุ้มประคองบ้าน บ้านจัดสรร ไว้ด้วยสองมือของธนาคาร อันสื่อถึงความมุ่งมั่นของธนาคารในการมีส่วนร่วมช่วยเหลือประชาชนคนไทยให้มีที่อยู่อาศัยด้วยความเอาใจใส่ในปัญหาอย่างใกล้ชิด ประกอบเข้ากับรูปทรงสามเหลี่ยมเลียนแบบทรงจั่ว หลังคา บ้าน ด้านนอกของกรอบมือด้านบนและด้านล่าง ซึ่งสามารถสะท้อนถึงลักษณะของธุรกิจธนาคารในการให้บริการด้านที่อยู่อาศัยไว้อย่างเด่นชัด ในขณะที่สีส้มจะให้ความรู้สึกอบอุ่นจริงใจ และหนักแน่นคลาสสิกอย่างเป็นทางการ กลมกลืนไปกับการใช้เส้นที่มีน้ำหนักมั่นคง

อำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์

ธนาคารอาคารสงเคราะห์มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๓๑๗ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฉบับที่ ๓ ลงวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙มาตรา ๒๗ และแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๖๒มาตรา ๑๒ กำหนดให้ธนาคารฯ มีอำนาจกระทำการ ดังต่อไปนี้

(๑) ให้กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ดังต่อไปนี้

  • (ก) เพื่อให้ผู้กู้ซื้อที่ดินหรืออาคารเป็นของตนเอง
  • (ข) เพื่อให้ผู้กู้ใช้สำหรับสร้าง ขยาย หรือซ่อมแซมอาคารของตนเอง
  • (ค) เพื่อให้ผู้กู้ไถ่ถอนจำนองอันผูกพันที่ดินหรืออาคารของตนเอง
  • (ง) เพื่อให้ผู้กู้ไถ่ถอนการขายฝากที่ดินหรืออาคารของตนเอง
  • (จ) เพื่อให้ผู้กู้ซื้อ เช่า สร้าง ขยายหรือซ่อมแซมอาคารบนที่ดินที่มีสิทธิการเช่า ทั้งนี้ ตามที่คณะกรรมการธนาคารกำหนด
  • (ฉ) เพื่อให้ผู้กู้ใช้ในการลงทุนจัดกิจการเคหะ
  • (ช) เพื่อให้ผู้กู้ซึ่งเป็นผู้สูงอายุใช้ประโยชน์จากที่ดินหรืออาคารของตนเพื่อการดำรงชีพ
  • (ซ) เพื่อกิจการอื่นตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร

(๒) รับจำนำหรือรับจำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืม

(๓) รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือเมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้

(๔) จัดตั้งหรือร่วมกิจการกับนิติบุคคลอื่น เพื่อจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์

(๕) ถือกรรมสิทธิ์หรือมีสิทธิครอบครองหรือมีทรัพย์สิทธิต่าง ๆ สร้าง ซื้อ จัดหาขาย จำหน่าย เช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม รับจำนำ รับจำนอง แลกเปลี่ยน โอนรับโอนหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สิน ตลอดจนรับทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้

(๖) ตั้ง หรือรับเป็นตัวแทน ตัวแทนค้าต่าง และนายหน้า ในกิจการตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร

(๗) ประกอบกิจการอันพึงเป็นงานธนาคารตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา ทั้งนี้ให้ประกอบได้ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

(๘) กระทำ กิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของธนาคาร

มาตรา ๑๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๓/๑) (๓/๒) และ (๓/๓) ของมาตรา ๒๗ แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙

“(๓/๑) ออกและขายพันธบัตร ตราสารทางการเงิน หรือกู้ยืมเงินโดยวิธีอื่นใด

(๓/๒) ออกและขายสลากออกทรัพย์ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง

(๓/๓) จัดตั้งบริษัทหรือร่วมกิจการกับบุคคลอื่นเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับหรือเนื่องในการให้สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคาร ทั้งนี้ ให้ดำเนินการได้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง”