ดอกเบี้ยบ้าน ธอส.

ดอกเบี้ยบ้าน ธอส.
ดอกเบี้ยบ้าน ธอส.

ดอกเบี้ยบ้าน ธอส.

ดอกเบี้ยบ้าน ธอส. บ้าน นั้นเป็นทรัพย์สินที่มีขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าค่อนข้างสูง ทำให้ก่อนการตัดสินใจซื้อนั้นจำเป็นจะต้องพิจารณาเงื่อนไขต่างๆ ให้ละเอียดรอบคอบ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการกู้ของตัวเอง อัตราดอกเบี้ยจากธนาคาร รวมไปถึงเงื่อนไขต่างๆ ในการขอสินเชื่อ บทความนี้จะมาแนะนำเคล็ดวิธีการคำนวณดอกเบี้ยบ้าน บ้านจัดสรร โดยละเอียดของ ธอส. เพื่อให้คุณสามารถเห็นภาพรวมของสินเชื่อบ้านก่อนที่จะเริ่มทำการกู้ได้อย่างชัดเจน! มาดูกันเลยว่าจะสามารถคำนวณได้อย่างไรบ้าง!

ดอกเบี้ยบ้านของ ธอส.

ดอกเบี้ยบ้าน จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทนั้นจะมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

ดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ (Fixed Rate)

มีการระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ตายตัว โดยไม่มีการปรับขึ้นลงตามอัตราดอกเบี้ยของตลาด สำหรับการขอสินเชื่อบ้าน โดยมากแล้วในระยะแรกจะทำการปล่อยสินเชื่อเป็นอัตราดอกเบี้ยบ้าน บ้านเดี่ยว แบบคงที่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคาร จากนั้นจึงจะปรับเปลี่ยนไปเป็นแบบลอยตัวในภายหลัง

ตัวอย่างดอกเบี้ยบ้านแบบคงที่ (Fixed Rate)  ดอกเบี้ยของสินเชื่อต่อปีอยู่ที่ 5% เป็นระยะเวลา 5 ปี เท่ากับว่าในระยะเวลานั้นอัตราดอกเบี้ยบ้านจะอยู่ที่ 5% ถึงแม้ว่าจะมีการปรับอัตราดอกเบี้ยก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง จากนั้นเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจึงเปลี่ยนเป็นคำนวณอัตราดอกเบี้ยแบบลอยตัวตามประกาศของธนาคาร

ดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัว (Floating Rate) 

หลายท่านจักกันในชื่อของสินเชื่อแบบลดต้นลดดอก คืออัตราดอกเบี้ยที่จะมีการปรับเปลี่ยนไปตามที่ธนาคารกำหนด ซึ่งจะมีการประกาศออกมาเป็นระยะ ๆ โดยอัตราดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัวนั้นจะพบได้ 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • MLR เอ็มแอลอา (Minimum Loan Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยบ้านที่ธนาคารเรียกเก็บจาก ลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี เช่น บริษัท หรือองค์กรขนาดใหญ่
  • MRR เอ็มอาอา (Minimum Retail Rate) คือ อัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารเรียกเก็บจาก ลูกค้ารายย่อยชั้นดี หรือให้พูดง่ายๆ ก็คือ ลูกค้าทั่วไปที่มีประวัติทางการเงินที่ดีนั่นเอง

ตัวอย่างการคิดดอกเบี้ยบ้านแบบลอยตัว (Floating Rate)  ดอกเบี้ยต่อปีตามประกาศธนาคาร MRR = 6.80% อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปีแรก = MRR – 3% ดอกเบี้ยที่ใช้ในปีแรก = 3.80%
ต่อมาถ้าเกิดการมีประกาศปรับอัตราดอกเบี้ย ลดลง 0.25 % MRR จะอยู่ที่ 6.55% จะส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อปีแรกที่ใช้ MRR – 3% นั้น จะปรับลดลงตามไปด้วยคงเหลืออัตราดอกเบี้ย = 3.55% ทั้งนี้หากมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยก็จะขึ้นตามไปด้วย

เคล็ดวิธีคำนวณดอกเบี้ยบ้านอย่างละเอียด

ก่อนที่เราจะเริ่มคำนวณดอกเบี้ยบ้าน บ้านหรู นั้น เราต้องเตรียมข้อมูลเหล่านี้ก่อนจึงจะสามารถนำมาคำนวณได้ โดยข้อมูลที่ต้องนำมาใช้ในการคำนวณ มีดังนี้

  • ราคาบ้าน บ้านจัดสรร หรืออสังหาริมทรัพย์ที่คุณต้องการ
  • ระยะเวลาที่ต้องการกู้
  • ความสามารถในการผ่อนชำระ
  • รายละเอียดสินเชื่อ หรืออัตราดอกเบี้ย

ซึ่งคุณสามารถหารายละเอียดเหล่านี้ได้จากประกาศผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของธนาคาร สำหรับขั้นตอนการคำนวณหาอัตราดอกเบี้ย บ้าน โดยละเอียดนั้น หากทำการคำนวณเองจะต้องใช้สูตรคณิตศาสตร์ซึ่งมีความซับซ้อนค่อนข้างมาก และการคิดคำนวณเงินงวดของแต่ละผลิตภัณฑ์นั้นธนาคารจะกำหนดรูปแบบการคำนวณแต่ละผลิตภัณฑ์ไม่เหมือนกันเพื่อให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย

ธนาคารมีวิธีการคำนวณดอกเบี้ยอย่างไร

ธนาคารส่วนใหญ่นั้นเขาใช้ารคำนวณจากยอดเงินต้นที่เราเหลือ คูณด้วยอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ (%) คูณจำนวนวันในเดือน (30 หรือ 31 วัน) หารด้วยจำนวนวันในหนึ่งปี (365 หรือ 366 วัน)

สินเชื่อบ้าน New Home

ดอกเบี้ยบ้าน ธอส.

ระยะเวลาที่เราสามารถขอกู้และอนุมัติตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ระยะเวลาทำนิติกรรมภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2564 (ทั้งนี้ธนาคารสงวนสิทธิ์ในการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดโครงการก่อนกำหนด หากธนาคารให้สินเชื่อเต็มวงเงินของโครงการแล้ว)

วัตถุประสงค์การยื่นกู้
เพื่อซื้อที่ดินพร้อมอาคารหรือห้องชุด โดยหลักประกันที่นำมาขอกู้ต้องไม่เคยโอนกรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือมาก่อน

วงเงิน / ระยะเวลาผ่อน
วงเงิน

  • วงเงินกู้รวมทุกบัญชีภายใต้หลักประกันเดียวกัน ตั้งแต่ 1.5 ล้านบาทขึ้นไป แต่ไม่ถึง 2.5 ล้านบาท
  • วงเงินให้กู้ตามเกณฑ์หลักประกัน และตามเกณฑ์รายได้ เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของธนาคาร

ระยะเวลาผ่อน

  • ระยะเวลาผ่อนไม่น้อยกว่า 3 ปี 6 เดือน และไม่เกิน 40 ปี โดยอายุผู้กู้รวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 70 ปี ยกเว้น กรณีข้าราชการตุลาการ อัยการ หรืออื่นๆ ที่มีอายุเกษียณมากกว่า 60 ปี ให้ใช้อายุผู้กู้เมื่อรวมกับระยะเวลาที่ขอกู้ต้องไม่เกิน 75 ปี

อัตราดอกเบี้ย

ปีอัตราดอกเบี้ย
ปีที่ 1
– เดือนที่ 1 – 6= 1.99% ต่อปี
– เดือนที่ 7 – 12= 2.80% ต่อปี
ปีที่ 2= MRR – 3.15% ต่อปี
ปีที่ 3= MRR – 2.65% ต่อปี
ปีที่ 4 จนถึงตลอดอายุสัญญา
– กรณีลูกค้าสวัสดิการ= MRR – 1.00% ต่อปี
– กรณีลูกค้ารายย่อยทั่วไป= MRR – 0.50% ต่อปี

ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมให้เรียกเก็บตามระเบียบปฏิบัติงานสินเชื่อของธนาคาร    
ยกเว้น ค่าธรรมเนียมยื่นกู้ร้อยละ 0.1 ของวงเงินนิติกรรม

คุณสมบัติ / เอกสารที่ใช้สมัคร

คุณสมบัติ

  • เป็นลูกค้ารายย่อยทั่วไป
  • เป็นลูกค้าสวัสดิการไม่มีเงินฝาก

เอกสารส่วนบุคคล

  • บัตรประจำตัวประชาชน / บัตรข้าราชการ
  • สำเนาทะเบียน บ้าน / สำเนาทะเบียนสมรส / ใบหย่า / ใบมรณะบัตร
  • สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ – สกุล
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนคู่สมรส (ถ้ามี)

เอกสารทางการเงิน

พนักงานประจำ

  • ใบรับรองเงินเดือน / หนังสือผ่านสิทธิสวัสดิการ
  • สลิปเงินเดือนหรือหลักฐานการรับเงินเดือนย้อนหลัง 3 เดือน
  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน (กรณีอาชีพประจำ)

ผู้ประกอบอาชีพอิสระ

  • สำเนาบัญชีเงินฝากย้อนหลัง 12 เดือน/ หลักฐานแสดงฐานะการเงินอื่นๆ (พร้อมเอกสารฉบับจริง)
  • สำเนาทะเบียนการค้า/ทะเบียนบริษัท/ ห้างหุ้นส่วน
  • หลักฐานการเสียภาษีเงินได้
  • รูปถ่ายกิจการ
  • สำเนาใบประกอบวิชาชีพ

เอกสารหลักประกัน

  • สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย / สัญญาวางมัดจำ
  • สำเนาโฉนดที่ดิน/ นส.3ก / หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด/ อช.2  ทุกหน้า

หมายเหตุ **  ธนาคารขอสงวนสิทธิ์ในการขอเอกสารต่างๆของผู้กู้เพิ่มเติม เพื่อใช้ประกอบพิจารณาการให้สินเชื่อของธนาคาร **

รายละเอียดสินเชื่อบ้านธอส. ประจำปี 2564

ดอกเบี้ยบ้าน ธอส.